ระบบการทำงานของแอร์รถยนต์และการดูแลบำรุงรักษาให้ใช้ได้นาน
แอร์รถยนต์เป็นอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่จำเป็นสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน ถ้ารถยนต์คันไหนแอร์เสียหรือพังก็คงไม่มีใครอยากใช้รถสักเท่าไหร่นักเพราะอากาศในปัจจุบันนั้นร้อนเกินใจจะอดทนเสียจริง วันนี้ www.thaismartcar.com จะพาไปทำความรู้จักระบบการทำงานของแอร์รถยนต์พร้อมทั้งแนะนำวิธีดูแลรักษาและการใช้งานให้ถูกเพื่อแอร์รถของเราเย็นและใช้งานได้อย่างยาวนาน
หลักการทำงานความเย็นของระบบแอร์ในรถยนต์
Dryer – ไดเออร์แอร์รถยนต์
ระบบการทำงานของแอร์รถยนต์
ระบบการทำความเย็นในแอร์รถยนต์หรือแอร์บ้านจะมีลักษณะคล้ายๆกันคือ การนำพาความร้อนออกจากภายในรถหรือภายในบ้านโดยใช้สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ที่เรารู้จักกันให้ไหลผ่านคอยล์เย็น หรือ Evaporator น้ำยาแอร์จะเดือดจนระเหยซึ่งระหว่างที่น้ำแอร์เดือดมันจะดูดความร้อนอากาศรอบๆอีวาโปเตอร์ (คอย์ลเย็น) ซึ่งมีลักษณะเป็นแผงเหมือนรังผึ้งซึ่งจะทำให้อากาศบริเวณนั้นเย็นลง และเมื่อพัดลมพัดอากาศบริเวณนั้นออกมาเราก็จะได้รับอากาศเย็นลมตัวนี้จะออกมาทางช่องแอร์นั่นเอง ส่วนน้ำยาแอร์จะกลายเป็นก๊าซเพราะดูดความร้อนไปออกทางท่อไปสู่คอมเพสเซอร์ (Compressor) อัดความดันและทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเข้าไปยังคอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือ คอยล์ร้อนมีหน้าที่ทำให้น้ำยาแอร์เปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลายเป็นของเหลวเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
อุปกรณ์ทำความเย็นในรถยนต์มีอะไรบ้าง
สำหรับอุปกรณ์ทำความเย็นในรถยนต์จะมีอุปกรณ์หลัก ดังนี้
- Compressor คอมเพรสเซอร์
- Condenser (คอนเดนเซอร์) คอยล์ร้อน
- Filter-Drier/Receiver ถังพักน้ำยาและดูดความชื้น
- Expansion Valve วาล์วลดความดัน
- Evaporator คอยล์เย็น
- Refrigerant น้ำยาแอร์ (สารทำความเย็น)
- Air Hoses ท่อแอร์
อุปกรณ์การทำงานของแอร์รถยนต์
Compressor – คอมเพรสเซอร์ แอร์ ในรถ
Compressor เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เพิ่มความให้กับก๊าซที่ระเหยมาจากน้ำยาแอร์ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำความเย็นในแผงคอยล์เย็นหรือ Evaporator โดยคอมเพรสเซอร์จะทำหน้าที่เพิ่มความดันให้กับก๊าซที่เพื่อให้ก๊าซง่ายต่อการควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวเพื่อนำมาใช้อีกครั้ง โดย Compressor ในรถยนต์จะมีหลายแบบตามค่ายรถยนต์ที่จะเลือกใช้กัน มีลักษณะกลมเหมือนถังอัดลมขนาดเล็ก
Condenser -คอนเดนเซอร์หรือคอย์ร้อนในรถยนต์
Condenser หรือ คอยล์ร้อน เป็นอุปกรณ์สำหรับทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากก๊าซความดันสูงที่ถูกพลักเข้ามาจาก Compressor เพื่อทำให้ก๊าซที่เคยเป็นน้ำยาแอร์มาก่อนเย็นตัวลงและเกิดการควบแน่นกลับมาเป็นน้ำยาแอร์และนำกลับมาใช้ใหม่และถูกส่งต่อไปยัง Drier หรือ Receiver มีลักษณะเป็นแผงรังผึ้งติดอยู่บริเวณหน้ารถคู่กับหม้อน้ำและมีพัดลมเบาะเพื่อระบายความร้อน
Dryer – ไดเออร์แอร์รถยนต์
Drier/Receiver ไดเออร์หรือรีซีฟเวอร์ เป็นถังเก็บน้ำยาแอร์ที่รับมาจาก Condenser หรือ แอร์ร้อน โดยจะทำการกรองน้ำยาแอร์และดูดความชื้นออกและเก็บไว้เพื่อที่จะนำมาใช้ในการทำความเย็นอีกครั้ง มีลักษณะเป็นทรงกระบอก
Expansion Valve – วาว์ลปรับความดัน. Expansion Valve วาว์ลลดความดันเนื่องจากน้ำยาแอร์ที่ออกจากไดเออร์นั้นจะมีความดันสูงอยู่ ต้องทำการปรับความดันเพื่อให้น้ำยาแอร์ไหลเข้าสู่คอยเย็นหรือ Evaporator อย่างช้าๆเพื่อนำความร้อนจากอากาศบริเวณนั้นออกมา มีลักษณะเหมือนข้อต่อเชื่อมระหว่างท่อ
Evaporator หรือ คอยล์เย็น อุปกรณ์สำหรับรับน้ำยาแอร์ที่มีแรงดันต่ำเข้ามาและน้ำยาแอร์จะทำการระเหยและกลายเป็นไอ โดยเมื่อกลายเป็นไอจะพาความร้อนบริเวณรอบคอยล็เย็นออกไปด้วยทำให้อากาศให้คอยล์เย็นรวมถึงตัวคอยเย็นลดลง คอยเย็นจะถูกซ่อนไว้อยู่ในคอนโซลหน้าและในบ้างรุ่นก็มีอยู่ในเบานั่งแถวหลัง มีลักษณะเหมือนเป็นแผงรังผึ้งเหมือนคอยร้อนและมีพัดลมอยู่ด้านหลังเพื่อเป่าอากาศที่เย็นออกมาก ลักษณะคล้ายไดร์เป่าผมของผู้หญิงที่เป่าอากาศร้อนออกมา
Air Hoses หรือท่อแอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับให้น้ำยาแอร์ไหลไปยังคอยล์เย็น หากมีการรั่วไหลของท่อแอร์น้ำยาแอร์ก็จะไหล
ออกหมดทำให้แอร์ไม่เย็นได้เช่นกัน
ปุ่มควบคุมระบบแอร์ในรถยนต์
ปกติจะมีทั้งหมด 3 ปุ่มหลักและมีปุ่มเปิดรับลมจากภายนอกและปิดรับลมจากภายนอกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีดังนี้
-ปุ่มควมคุมน้ำยาแอร์หรือที่หลายคนเรียกว่าปุ่มควบคุมอุณหภูมิ ทำหน้าที่เพิ่มปริมาณน้ำยาแอร์ที่ไหลเข้าคอยล์เย็นให้มีปริมาณมากหรือน้อยตามความต้องการ
-ปุ่มควบคุมระดับพัดลม ปุ่มนี้จะควบคุมความแรงของพัดลมที่จะพัดลมเย็นจากคอยล์เย็นออกมา
-ปุ่มควบคุมการไหลออกของลมเย็น ซึ่งตรงนี้เราสามารถเลือกได้ว่าให้ลมออกช่องบนหรือช่องล่างหรือออกทั้ง 2 ช่อง หลายคนจะรู้จักดีอยู่แล้วและมีปุ่มไล่ความชื้อกรณีมีหมอกหรือฝ้าขึ้นกระจก
-ปุ่ม A/C ในรถยนต์ทำหน้าที่เริ่มและหยุดการทำงานของ คอมเพรสเซอร์ ถ้าไม่กดปุ่มนี้อุณหภูมิจะไม่เย็นเพราะคอมเพรสเซอร์ไม่ปั้นน้ำยาแอร์เข้าระบบ ปุ่ม A/C ใช้ในกรณีที่เมื่อตอนจะถึงจุดหมายให้ปิดปุ่ม A/C เพื่อให้น้ำยาแอร์ไม่ตกข้างในท่อและอุปกรณ์ต่างๆป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นในระบบทำให้อายุการใช้งานของแอร์รถยนต์นานขึ้น
-ปุ่มเปิด-ปิดรับอากาศจากภายนอกใช้งานในกรณีที่อากาศภายในมีกลิ่นอับหรือเหม็น
สาเหตุหลักที่แอร์รถยนต์ไม่เย็น
แอร์รถยนต์ถ้าเสียมักจะมีหลายสาเหตุส่วนใหญ่มีสาเหตุดังต่อไปนี้
- น้ำยาแอร์หมดหรือเหลือน้อย หากน้ำยาแอร์มีปริมาณน้อยก็จะทำให้การดูดความร้อนจากห้องโดยสารรถยนต์ทำได้น้อยทำให้แอร์ไม่เย็นไม่ฉ่ำ ซึ่งน้ำยาแอร์หมดสามารถเติมได้ในราคาอย่างมากไม่เกิน 1,000 บาท แต่หากมีการรั่วไหลของอุปกรณ์ในระบบแอร์ก็ต้องเปลี่ยนด้วยเพราะถ้าเติมไปแล้วก็รั่วออกหมด
- แอร์รั่ว ตู้แอร์รั่ว ท่อรั่ว รวมมถึงอุปกรณ์อื่นหากรั่วเพียงแค่บริเวณข้อต่อก็สามารถไขให้แน่นได้แต่ถ้ารั่วบริเวณตู้แอร์หรือคอยลเย็นก็ต้องเปลี่ยนใหม่และควรซ่อมทันทีด้วยเพราะหากปล่อยไว้ผู้ขับอาจจะสูดดมน้ำยาแอร์เข้าไปในร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้
- คอยล์ร้อนไม่ทำงานทำให้ไม่สามารถระบายความเย็นออกจากน้ำยาแอร์ได้ อาการแบบนี้จะสังเกตะได้หากแอร์เย็นเฉพาะเวลาที่ขับรถแสดงว่าพัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน สาเหตุเนื่องจากแอร์เย็นเฉพาะเวลาขับรถก็เพราะว่าได้แรงลมปะทะมาระบายความร้อนให้กับน้ำยาแอร์ ซ่อมโดยการเปลี่ยนพัดลม
- วาล์วอุดตันหรือท่ออุดตันรวมถึงไดเออร์อุดตันจะทำให้น้ำยาแอร์ที่ไหลเข้าไม่สะดวก เกิดจากไดเออร์เสียทำให้ไม่สามารถกรองสิ่งสกปรกออก ทำให้เกิดการพาความร้อนจากห้องโดยสารออกมาได้น้อยแก้ไขโดยการเปลี่ยนทั้งไดเออร์และวาล์ว
-คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานหรือทำงานไม่เสถียรเกิดจากลูกสูบหลวมทำให้คอมเพรสเซอร์อัดแรงดันให้น้ำยาแอร์ได้น้อย ทำให้น้ำยาแอร์ไหลเข้าสู่วาล์วรวมถึงคอยเย็นในปริมาณน้อย ก็จะทำให้มีน้ำยาแอร์ปริมาณน้อยในการพาความร้อนออกจากห้องโดยสาร คอมเพรสเซอร์เสียได้หลายกรณี เช่น ลูกสูบหลวม คลัทช์หลวม สายพานหย่อน การเปลึ่่ยนคอมเพรสเซอร์จะมีราคาอยู่ที่ 5,000 บาทโดยประมาณ
-ใช้น้ำยาแอร์ผิดประเภทหรือน้ำยาแอร์ปลอมมีสารปลอมปนเยอะ การใช้น้ำยาแอร์ไม่ตรงกับอุปกรณ์ภายในระบบแอร์ที่ออกแบบมาให้รับความดันและความร้อนที่แตกต่างกันก็จะทำให้อุปกรณ์ภายในอายุการใช้งานสั้นลง ซึ่งส่งผลเสียหายต่อระบบทั้งหมด
-ฟิวส์ปุ่ม A/C ขาด เพราะการทำงานของคอมเพรสเซอร์จะมีกล่องไฟเพื่อตัดหรือต่อการทำงาน หากฟิวส์ลักษณะคล้ายสะพานไฟนี้เสียมันก็จะตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ทำให้แอร์ไม่เย็น สังเกตได้ว่าไฟ A/C จะไม่แสดง แต่ถ้าเป็นรถรุ่นเก่าจะไม่มีไฟตัวนี้แสดงเพราะไม่มีปุ่ม A/C ต้องเปิดกระโปรงรถเช็ค
การใช้งานแอร์รถยนต์ให้ถูกวิธีเพื่อให้ใช้งานได้นาน
เมื่อสตาร์ทรถเครื่องยนต์ยังเย็นอยู่รอบจะยังไม่เยอะการเปิดแอร์เมื่อสตาร์ทจะไปดึงเครื่องยนต์ให้ต่ำลงอีก เพราะคอมเพรสเซอร์หมุนโดยใช้สายพานดึงกำลังจากเครื่องยนต์ควรจะรอสักพักก่อนแล้วค่อยเปิดแอร์ และเมื่อเวลาใกล้ถึงที่หมายควรปิดแอร์เปิดแต่พัดลมเพื่อขับไล่ความชื้นออกจากท่อแอร์เพื่อยืดอายุการใช้าน
การเปิดแอร์นั้นควรเปิดพัดลมและน้ำยาแอร์ให้สอดคล้องกันหากเปิดน้ำยาแอร์หรือปุ่มอุณหภูมิเยอะแต่เปิดพัดลมน้อย จะทำให้แรงลมที่พัดอากาศเย็นออกมามีน้อยเกินไปจะทำให้น้ำแข็งเกาะที่ตัวคอยล์เย็นซึ่งอาจจะให้คอยล์เย็นเสียหรือรั่วได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น