พระขุนแผนเนื้อชินสองหน้า กรุวัดใหญ่ชัยมงคล

พระขุนแผน เนื้อชิน กรุว้ดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา
พระขุนแผน เนื้อชิน  กรุวัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา

พิมพ์พระหน้า-หลังเหมือนกัน
พระกรุวัดใหญ่ชัยมงคล พบจากพระเจดีย์ไชยมงคล มีพระเครื่องด้วยกันหลายพิมพ์ คือ พระขุนแผนเคลือบพิมพ์อกใหญ่ พิมพ์แขนอ่อน พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดิน เนื้อชิน และพระพิมพ์นางพญา สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายหลังการทำศึกจนมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราช มีสมเด็จพระพนรัตน์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์พระขุนแผนเคลือบ พระขุนแผนเคลือบซึ่งเป็นพระเครื่องอันดับ ๑ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาจจะเป็นอันดับ ๑ ของประเทศในระยะเวลาอันใกล้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เชื่อกันว่าเป็นพระที่มหาราชผู้กู้ชาติเป็นผู้สร้าง คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชโดยมีสมเด็จพระพนรัตน์อาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้าพิธี โดยได้รับอิทธิพลจากจีนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทางศิลปะและวิทยาการชั้นสูงที่สุดในเวลานั้น
เมื่อต้นปี๒๕๐๒ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (เสด็จในกรมฯ) ซึ่งเป็นพระนัดดา (หลาน) ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขมาลมารศรีพระอัครราชเทวีทรงทราบว่า ที่วัดเล็กๆซึ่งเกือบจะร้างอยู่แล้วแห่งนี้  มีเรือนโบราณเก่าแก่อยู่หลังหนึ่ง ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก  ไม่มีผู้ใดบูรณะรักษาเลย  แต่มีสิ่งสวยงามมาก พระองค์จึงทรงทำผาติกรรม ไถ่ถอนย้ายมาไว้ที่ วังสวนผักกาดและทรงให้มีการบูรณะพระประธานที่วัด ซึ่งชาวบ้านเรียกขานกันว่า หลวงพ่อขาว ระบุปีไว้ที่ฐานขององค์หลวงพ่อขาวว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๔๓ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทั้งทรงให้สร้างศาลาสวดมนต์และศาลาท่าน้ำ ถวายวัดบ้านกลิ้งเป็นการทดแทนพร้อมกับบริจาคเงินสำหรับการซ่อมแซมตัวอาคารและภาพลายรดน้ำเป็นจำนวนมาก เสด็จในกรมฯ ประทานหอเขียนเป็นของขวัญแก่ "คุณท่านฦ" เมื่ออายุครบ๕๐ ปี ในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๐๒ และเชิญชาวบ้านกลิ้งมาทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ประมาณ ๑๐๐ คน เพื่อให้มาชมหอเขียนที่ย้ายมาจากวัดบ้านกลิ้ง และได้ปลูกสร้างใหม่นี้ (ปัจจุบันสามารถชมได้ที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด) นอกจากการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ในปี ๒๕๐๒ แล้ว เสด็จในกรมฯ ได้ทรงสร้างขุมทรัพย์ไว้ในฐานชุกชี ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่คือ หลวงพ่อขาว ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง  มีพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อีก ๗ องค์ เรียงรายอยู่โดยรอบ 
โดยไม่มีใครในสมัยนั้นคาดคิดถึงมาก่อนว่า การบูรณะซ่อมแซมในสมัยนั้น พระสงฆ์และชาวบ้านได้นำ พระเครื่องที่มีอยู่ส่วนนำมาเก็บรักษาไว้ในวัดซึ่งมีพระพุทธรูปสมัยอยุธยาพระเครื่องจำนวนมาก พระโคนสมอ พระขุนไกร แม้แต่พระแผงใบขนุนก็มี นอกจากนี้ยังมี พระขุนแผนเคลือบที่สมัยนั้นค่านิยมในการแลกเปลี่ยนเป็นเงินทองยังไม่มีค่ามากมายอะไรนัก  ชาวบ้านได้นำ พระขุนแผนเคลือบมาบรรจุไว้ในฐานชุกชี รวมไปถึงใต้ฐานพระองค์เล็กๆ  ที่ประดิษฐานอยู่รายรอบพระประธานองค์ใหญ่ กลายเป็น ขุมทรัพย์ที่มีค่ามหาศาล ทิ้งไว้ให้ลูกหลานในทุกวันนี้ การบูรณะในเวลานั้นรวมถึงครั้งต่อๆ มา เป็นการบูรณะโดยชาวบ้านวัดบ้านกลิ้งเอง มีการโบกปูนทับ ทาสีใหม่ จากการสังเกตพระพุทธรูป ปูนปั้นคราวแตกกรุ พบว่ามีการเคลือบปูนปิดอยู่หลายชั้น
เมื่อวันที่๒ กันยายน ๒๕๕๐ มีการขุดพบ พระขุนแผนเคลือบ ได้ที่บริเวณฐานชุกชีของพระองค์เล็ก ที่เป็นองค์บริวารองค์หนึ่ง (จากรูปองค์ขวามือสุดของเรา) พร้อมกับ พระขุนไกรอีก๒ องค์ เวลานั้นยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นพระอะไร  จึงมีการนำพระที่ขุดได้มาแจกจ่ายกันในหมู่พระสงฆ์และกรรมการวัด ต่อมามีพระสงฆ์วัดโปรดสัตว์รูปหนึ่ง (อยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดบ้านกลิ้ง) ได้นำพระที่ขุดได้ไปให้เซียนพระพิจารณาดู โดยบอกว่าเป็นพระมรดกตกทอด มีอยู่ด้วยกันหลายองค์ แต่ยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างพี่น้อง 
เซียนพระบอกว่าเป็น พระขุนแผนเนื้อชินกรุวัดใหญ่ชัยมงคล เช่าหากันแพงมากเป็นเงินแสนเงินนล้านขึ้นไป เมื่อได้รับทราบความจริงว่าเป็นพระขุนแผนเคลือบที่มีค่ามหาศาล เช่าหากันหลักล้าน ทำให้เกิดการเจรจาซื้อขายกันในหมู่พระสงฆ์ และกรรมการวัดด้วยกัน  รวมถึงมีเซียนพระท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการขุดพระออกมาจำหน่าย หลายต่อหลายองค์ ทำให้มีพระหลุดไปจากวัดในช่วงแรกนั้นจำนวนหนึ่ง จนข่าวแพร่กันไปปากต่อปากถึงมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปิดข่าวกันไม่อยู่ จึงมีการขุดค้นพระขุนแผนเนื้อชินอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ ๔ กันยายน โดยความยินยอมของเจ้าอาวาส และกรรมการวัด ต่อเมื่อวันที่๖ กันยายน คณะกรรมการวัด ได้ลงมติให้มีการนำพระที่เหลือทั้งหมด ออกจำหน่ายรวม ๑๐ องค์ โดยมีการตั้งมูลค่าไว้สูงถึง ๑๐ ล้านบาท ถึงกระนั้นก็มีเซียนพระทั้งในท้องถิ่น และจากกรุงเทพฯ ไปซื้อพระทั้งหมดทันที หากจะนับรวมพระขุนแผนเนื้อชินที่มีการจำหน่ายอย่างลับๆจนถึงการซื้อขายอย่างเปิดเผย คาดว่ามีพระขุนแผนเนื้อชินทั้งหมดจำนวน ๒๘ องค์ ในจำนวนนี้เป็นพระแตกหักเกินกว่า ๑๐ องค์ เป็นความเสียหายเนื่องจากการขุดค้นโดยเร่งรีบและผิดวิธีการขุดพระทั้งสิ้น จากหลักฐานทั้งหมด ที่ได้จากทางวัด พอจะประมาณที่มาของ พระขุนแผนเคลือบกรุใหม่นี้ได้ว่าเป็นพระที่ชาวบ้านวัดบ้านกลิ้ง ซึ่งมีประมาณ ๑๐๐ คน ซึ่งเป็นหมู่บ้านของช่างฝีมือ (พิจารณาจากคำบอกเล่า และเรื่องของการบูรณะเรือนไม้ประวัติศาสตร์) ได้เดินทางไปช่วยบูรณะ วัดใหญ่ชัยมงคล ในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา และเป็นต้นกำเนิดของ พระขุนแผนเคลือบ เมื่อเสร็จงานก็ได้นำ พระขุนแผนเคลือบติดไม้ติดมือมากลับมาบ้าน บางคนก็ได้นำองค์พระมาลงรักปิดทอง ต่อมาเมื่อปี๒๕๐๒ มีการบูรณะพระประธานที่วัดบ้านกลิ้ง ชาวบ้านก็ได้นำพระขุนแผนเคลือบที่ได้มานั้น บรรจุไว้ที่ฐานพระหลวงพ่อขาวเอาไว้ด้วย
พระขุนแผนเนื้อชิน ที่ขุดพบในฐานชุกชีพระหลวงพ่อขาว เมื่อค้นคว้าโดยละเอียดแล้ว  ปรากฏว่าได้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระนัดดา (หลาน) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช อีกทั้งเรือนไทย ที่มีความสวยงามติดอันดับต้นๆ ของโลก ก็ยังสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อีกด้วย  
การขุดพบพระขุนแผนเนื้อชินวัดใหญ่ชัยมงคล กรุใหม่จากวัดบ้านกลิ้ง ในครั้งนี้ ได้สร้างสีสัน ให้กับวงการพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง จนมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง

ที่มาhttps://www.taradplaza.com/

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม