10 ช้างเผือก คู่พระบารมี ประจำรัชกาลที่ 9

ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทยถือว่าช้างเผือกเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น "พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น" และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน พระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาก จะเชื่อกันว่ามีพระบุญญาบารมีมาก

ตำราพระคชศาสตร์กำหนดลักษณะสำคัญ ๗ ประการ ของช้างมงคลไว้ว่า จะต้องประกอบด้วย ๑. ตาขาว ๒. เพดานปากขาว ๓. เล็บขาว ๔. ขนขาว ๕. พื้นหนังขาวหรือสีอ่อนๆ ออกแดงคล้ายหม้อใหม่ ๖. ขนหางขาว ๗. อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
ในรัชกาลที่ 9 มีช้างเผือกทั้งหมด 10 เชือกและยังมีช้างสำคัญคู่พระบารมีอีก 11 เชือก ที่มิได้โปรดเกล้าฯให้มีพิธีขึ้นระวาง เพียงแต่ทรงรับช้างเหล่านั้นไว้เป็นช้างสำคัญ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นพระยาช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามว่า...
“ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ มงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ์ประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ”
เป็นช้างพลายเผือกโท เดิมชื่อ พลายแก้ว นายแปลกคล้องได้ที่ จังหวัดกระบี่ เมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นช้างสำคัญในตระกูล พรหมพงศ์ จำพวกอัฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือ บัวสายแดง สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังสวนดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2502

เป็นช้างพลายเผือก ลูกบ้านของนายแก้ว ปัญญาคง อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์จำพวกอัฎฐคช ชื่อ ดามพหัสดินทร์ สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2509

เป็นช้างที่ นายเจ๊ะเฮง หะระดี กำนันตำบลการอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เจอ ซึ่งเป็นลูกช้างที่พลัดหลงเข้ามาและมีลักษณะที่เป็นมงคลจึงแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวก ช้าง 10 หมู่ ชื่อดามพหัตถี สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2511


เป็นช้างพังเผือก ลูกเถื่อน เดิมชื่อเจ้าแต๋น ได้มาจาก จังหวัด ฉะเชิงเทรา เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อ ดามพหัสดินทร์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2519
เป็นช้างพลายเผือกลูกเถื่อน ชื่อ บุญรอดเป็นลูกช้างที่คนของกรมป่าไม้พบที่ป่าบริเวณแม่น้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวก อัฏฐคช ชื่อ ดามพหัสดินทร์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้นสวนจิตรลดา พระราชวังสวนดุสิต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ. ศ. 2520
เป็นช้างพังเผือก ลูกเถื่อน ชื่อ ขจร นายปรีชาและนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวก อัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2520

เป็นช้างพังเผือก ลูกเถื่อน ชื่อ ขจร นายปรีชาและนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวก อัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2520
เป็นช้างพลายลูกเถื่อน ชื่อเดิม ภาศรี เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์จำพวกอัฏฐคช ชื่อ ดามพหัสดินทร์ น้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวางที่โรงพระราชพิธี จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2521
เป็นช้างพังเผือก ลูกเถื่อน ชื่อเดิม ขวัญตา เป็นช้างที่เจ้าอาวาสเลี้ยงที่วัดจังหวัด เพชรบุรี เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ ดามพหัสดิน น้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวาง
ช้างพลายเผือก เล็บครบ ลูกเถื่อน ชื่อเดิม ดาวรุ่ง เป็นของเจ้าอาวาส ในจังหวัดเพชรบุรี เป็นช้างสำคัญในตระกูล วิษณุพงศ์ จำพวก อัฎฐคช ชื่อ ครบกระจอก เป็นช้างที่มีเล็บครบ คือ เท้าละ 5 เล็บ ทั้ง 4 เท้า ครบ 20 เล็บ สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2521


ที่มา : http://ngeonboran.blogspot.com/

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม