เหรียญระฆัง หลวงพ่อเกษม ปี 16 เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นระฆัง 2516 ลำปาง

                     

                        

 ตำหนิพระ เหรียญระฆัง หลวงพ่อเกษม ปี 16
เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นระฆัง 2516 ลำปาง
ด้านหน้า
1 พื้นเหรียญทั่วไปจะมีเส้นรัศมีกระจายทั่วเหรียญ
2.หากเป็นบล็อกนิยมจะมีเส้นเสาอากาศอยู่บนพื้นเหรียญเหนือไหล่ซ้ายวิ่งขี้นไป
3.มีเม็ดละอองข้างหูซ้ายหลวงพ่อ
4.มีเม็ดเล็ก ๆ ใต้มือหลวงพ่อ
ด้านหลัง
ด้านหลังเหรียญมีหลายพิมพ์ตำหนิหรือรายละเอียดอาจแตกต่างกัน
ควรพิจารณาถึงความคมชัดของตัวหนังสือเป็นสำคัญ
1.ตัวหนังสือคมชัด
2.ตัวนะมีขีดเล็ก ๆ
3.มีขนแมวเล็ก ๆ อยู่ตรงมุมด้านขวา 2516 ของเหรียญครับ

ประวัติการสร้าง เหรียญระฆัง หลวงพ่อเกษม ปี 16
เหรียญสิริมงคลทรงระฆัง เหรียญนี้นับเป็นเหรียญสุดท้ายในชุด “เบญจบารมี” ซึ่งมีบารมีในด้านโชคลาภบันดาลความรุ่งเรือง คำว่าสิริมงคลนี้ หากจะแปลตามศัพท์สิริ ก็จะแปลว่าความดีความงาม และโชคลาภคำว่ามงคลแปลว่า ความเจริญรุ่งเรือง มูลเหตุของการสร้างเหรียญสิริมงคลนั้น มาจากเรื่องตำนานเจ้าแม่สุชาดา โดยเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งกระโน้น มีหญิงผู้หนึ่งชื่อนางสุชาดา ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำวัดพระแก้ว นางสุชาดาผู้นี้ทำไร่และสวน มีผลหมากรากไม้สมบูรณ์ นางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้พืชผลจากที่เพราะปลูกไว้ ก็พยายามเก็บเอาไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระแก้ว นางได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นนี้เสมอมา กระทั่งอยู่มาวันหนึ่งเกิดมีผู้มีจิตริษยากล่าวหาว่านางทำชู้กับพระสงฆ์ในวัดนั้น นางก็เลยถูกประชาชนนำไปประหาร แต่ก่อนนางจะตาย นางประกาศเป็นคำสาปไว้ว่าถ้านางเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ที่ลงโทษนางจะต้องได้รับกรรมไปตลอดจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน กาลสืบต่อมา ชาวบ้านก็รู้ความจริงว่านางสุชาดาบริสุทธิ์ คำสาปนี้จึงติดความทรงจำ ลูกหลานเหลนผู้ที่ลงโทษนาง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ลูกหลานเหลนไม่ได้ก่อกรรมไว้ด้วยไม่น่าจะต้องมารับผิดชอบ โดยไม่มีเวลาสิ้นสุด หลวงพ่อเกษมท่านทราบเรื่องราวและความเป็นมาดังนี้ จึงตั้งใจสร้างเหรียญสิริมงคล หารายได้เข้าวัดโดยการจัดสร้างเป็นศาลาเพื่อลบล้างคำสาปให้หมดสิ้นไป นอกจากนั้นเมื่อมีรายได้เหลือก็ได้สร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์แก่คนทั้งหลายอีกด้วย วันหนึ่งขณะที่กำลังดำเนินการสร้างเหรียญเพื่อสิริมงคล มีลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถามหลวงพ่อว่า จะสร้างเป็นรูปอะไรดี หลวงพ่อก็ตอบว่า “สร้างเป็นรูประฆังจะดังดี”

ที่มา : https://plus.google.com/

เหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ห้า ปี ๒๕๑๖ หลวงพ่อเกษม เขมโก



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม เขมโก

            เมื่อกล่างถึงเหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ห้าหรือเหรียญวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ของหลวงพ่อเกษม เขมโก ทุกท่านคงจะรู้จักว่าเป็นเหรียญคุณพระที่มีพุทธานุภาพสูง เป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อเกษม จนเป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติของเหรียญระฆังศิริมงคลรุ่นนี้ ผู้เขียนขอกล่าวประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก ให้ท่านผู้อ่านทราบพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้
            หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านเป็นชาวลำปาง กำเนิด วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๕ เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้องสองคน ของเจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง( ต่อมาภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น"มณีอรุณ") รับราชการเป็นปลัดอำเภอ มารดาชื่อเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสองเป็นหลานเจ้าหลวงบุญวาทย์ วงศ์มานิต
           เมื่อวัยเด็กเจ้าเกษม ณ ลำปางมีรูปร่างค่อนข้างเล็กบอบบาง ผิวขาว แต่ดูเข้มแข็งคล่องแคล่ว มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นเด็กซน คืออยากรู้อยากเห็น เมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบุญทวงค์อนุกูล จนเรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือ ประถมปีที่ ๕ ขณะนั้นอายุได้ ๑๑ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๖๖
           เมื่อออกจากโรงเรียน ก็ไม่ได้ศึกษาต่อ อยู่บ้าน ๒ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ อายุได้ ๑๓ ปี เจ้าเกษม ณ ลำปางก็ได้เข้าสู่กาสาวพัสตร์ โดยพรรพชาเป็นสามเณรหน้าศพ(บวชหน้าไฟ) เจ้าอาวาสวัดป่าตัวะ บวชได้ ๗ วัน ก็ลาสิกขา ต่อมาอีก ๒ ปีราว พ.ศ.๒๔๗๐ อายุได้ ๑๕ ปี เจ้าเกษม ณ ลำปางได้อุปสมบทเป็นสามเณร ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง เมื่ออุปสมบทเป็นสามเณรแล้ว สามเณรเกษม ได้จำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืน เรียนพระปริยัติจนสามารถสอบนักธรรมโทได้ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ และต่อมาเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบุนยืน โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดานายก(ฝ่าย) เจ้าอาวาส วัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะจังหวัดลำปางในสมัยนั้น ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูอุตตรวงศ์ธาดา ( ปัญญา ลิ้นทอง ) เจ้าอาวาสวัดหมื่นกาศ เจ้าคณะอำเภอเมืองจังหวัดลำปางเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระธรรมจินดานายก ( อุ่นเรือน ) เจ้าอาวาสวัดป่าตัวะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า " เขมโก " แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม
          ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงพ่อเกษม เขมโก สอบนักธรรมเอกได้
           พระภิกษุเกษม เขมโกเมื่ออุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดบุนยืน เมื่อเจ้าอธิการคำเหมย สุธรรม มรณภาพ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุนยืนก็ตกแก่ พระต่อมคำ (เจ้าต่อมคำ ณ ลำปาง บุตรเจ้าหนานอินตาน้องเจ้าน้อยจู) ต่อมาพระต่อมคำลาสิกขา ความศรัทธาของญาติโยมและคณะสงค์ได้อาราธนาพระภิกษุเกษม เขมโก เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนสืบแทนต่อมา
            เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ทำหน้าที่อย่างไม่มีข้อบกพร่อง ท่านบริหารจัดการดูแลวัดบุญยืนควบคู่กับการศึกษาพระธรรมวินัย ท่านฝึกฝนสมาธิจิต ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างอดทน ท่านเริ่มเล็งเห็นความไม่เที่ยงแท้แห่งลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืน ท่านจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ในปี พ.ศ.๒๔๙๒
            หลวงพ่อเกษม เขมโก ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะปฏิบัติธรรมโดยทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้พบครูบาแก่น สุมโน ท่านครูบาแก่น สุมโน ท่านเป็นพระวิปัสสนากรรมฐานสายพระป่า ถือธุดงค์เป็นวัตร ท่านธุดงค์แสวงหาความวิเวกโดยยึดถือป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียร นอกจากท่านจะมีความเชียวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังแตกฉานในพระธรรมวินัย หลวงพ่อเกษม เขมโก จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ และแสดงความจำนงขอศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระกับครูบาแก่น สุมโน(ท่านครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง) แต่นั้นมาหลวงพ่อเกษม เขมโก ก็ร่วมเดินธุดงค์กับครูบาแก่น สุมโน และท่านครูบาแก่น สุมโน ได้แนะนำอุบายธรรมแก่หลวงพ่อเกษม เขมโก จนหลวงพ่อเกษม เขมโก แตกฉานในวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ การฉันอาหารในบาตรคืออาหารคาวหวานรวมกันเรียกว่า "ฉันเอกา" ฉันมื้อเดียว ช่วงบ่ายก็เดินจงกรม แล้วกลับมานั่งสมาธิบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนกระทั่งถึงเวลาเย็น ก็สวดมนต์ทำวัตรเย็น และสิ่งที่ปฏิบัติเป็นกิจวัตรคือ การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศล แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั่วไป
             หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา ๑๙.๔๐ น.ตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ยังความเศร้าโศกเสียใจมายังคนไทยทั้งประเทศ





เหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖


            บทความนี้จะขอกล่าวถึงเหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ห้าหรือเหรียญวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ซึ่งเป็นเหรียญที่หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกนั่งปรกปลุกเสก เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (ตรงกับวันเสาร์ห้า) และได้นั่งปรกปลุกเสกซ้ำในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๑๖ ก่อนรุ่งอรุณ เหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสร้างศาลเจ้าแม่สุชาดา เหรียญรุ่นนี้มี ๒ เนื้อ คือเนื้อเงินกับเนื้อทองแดง
           
            เหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้ารุ่นนี้ เป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้แก่หลวงพ่อเกษม เขมโก จนเป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ซึ่งเป็นวันมหาวิปโยค เป็นการแสดงพลังการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อนิสิต นักศึกษา และประชาชนกว่า ๕๐๐,๐๐๐คน ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญและคัดค้านอำนาจรัฐบาลเผด็จการทหาร
            ในเหตุการณ์นั้น เหรียญระฆังศิริมงคลได้แสดงปาฏิหารย์ คุ้มครองนักศึกษาท่านหนึ่งที่ร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาลเผด็จการ โดยนักศึกษาผู้นั้นได้แขวนเหรียญระฆังศิริมงคลบูชาติดตัวร่วมชุมนุม เมื่อนักศึกษาผู้นั้นได้เห็นทหารทำร้ายประชาชนที่ร่วมชุมนุม จึงเกิดโทสะได้ถือไม้เบสบอลท้าทายจะต่อสู้กับทหารที่ถืออาวุธปืนเอ็ม-16 จนเป็นเหตุให้ทหารใช้ปืนเอ็ม-16ยิงเข้าใส่นักศึกษาผู้นั้น แต่กระสุนหาได้ถูกนักศึกษาผู้นั้นไม่ กระสุนกลับวิ่งเลยไปถูกประชาชนที่ยืนอยู่ด้านหลังนักศึกษาคนนั้น จนเป็นเหตุให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย เหตุการณ์นี้สื่อมวลชนได้แพร่ภาพออกอากาศไปทั่วประเทศและต่างประเทศ จากเหตุการณ์นี้ทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศรู้จักหลวงพ่อเกษม เขมโก และเหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้า
            สมัยที่หลวงพ่อเกษม เขมโกยังมีชีวิต ได้มีศิษย์ของท่านถามท่านว่า พระเครื่องของหลวงพ่อรุ่นไหนดีที่สุด หลวงพ่อเกษม เขมโกท่านตอบว่า...ถ้าอยากดังอยากเด่น ก็ต้องแขวนเหรียญระฆังศิริมงคลติดตัว จะได้ดังเหมือนเสียงระฆัง
            เหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้ารุ่นนี้ เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๑๙ ราคาเล่นหากันอยู่ที่ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ บาท แล้วแต่สภาพความสวยและความฟิตของผู้ซื้อในขณะนั้น ไม่มีการแยกบล็อกพิมพ์เหมือนเช่นทุกวันนี้ เช่นบล็อกสายฝน บล็อกสิบโท บล็อกเขี้ยว และบล็อกเสาอากาศ  บล็อกเสาอากาศเป็นบล็อกที่มีความคมชัดกว่าบล็อกอื่นจึงเป็นบล็อกนิยม ฟังดูก็มีเหตุผลดี สำหรับผู้เขียนเอาความสวยของเหรียญเป็นหลักยึดถือหลักเดิม ค่านิยมราคาปัจจุุบันเล่นหากันอยู่ที่หลักหมื่น

ที่มา : http://skeereewichien.blogspot.com/2011/12/blog-post.html?m=1

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม