พระมเหศวร 1 ใน 5 ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน


พระมเหศวร 1 ใน 5 ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน
พระมเหศวร 1 ใน 5 ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน
"พระมเหศวร" นับเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระยอดขุนพลของเมืองไทย เป็นพระพิมพ์ที่น่าสนใจทีเดียวครับผม พิมพ์ทรงของ พระมเหศวร ดูแล้วออกจะแปลกๆ แต่ก็ต้องยอมรับในภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนกับการรังสรรค์งานปฏิมากรรมด้วยความชาญฉลาด ด้วยเหตุและผลดังนี้ปัญหาประการหนึ่งของพระเนื้อชิน คือส่วน พระศอ ขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้ไขปัญหาโดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางซึ่งก็คือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างสิ้นเชิง…เก่งจริงๆ นะครับคนไทยเนี่ยะ
"พระมเหศวร" เป็นพระพิมพ์ประเภทเนื้อชินเงิน หรือเนื้อชินแข็ง ซึ่งมวลสารที่สร้างจะเป็นส่วนผสมของเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง มีข้อเสียคือ เมื่อมีอายุกาลที่เนิ่นนานเข้าจะเกิดการทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อมและกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เรียกว่า "สนิมขุม" และจะเกิดรอยระเบิดแตกปริตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก อันเป็นหลักการพิจารณาที่สำคัญประการหนึ่ง แต่บางองค์ที่มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก จะเรียกว่าเนื้อชินอ่อน เมื่อกระทบของแข็งก็จะเกิดเป็นรอยบุ๋ม สามารถโค้งงอได้เล็กน้อย จะมีข้อดีคือไม่เกิดสนิมขุมหรือรอยกัดกร่อนหรือระเบิดแตกปริเหมือน "เนื้อชินเงิน" แต่จะเกิด "สนิมไข" มีลักษณะเป็นสีนวลขาวเป็นแผ่น ผิวของพระมเหศวร ถ้ายังไม่ได้ถูกใช้หรือถูกสัมผัสจะเนียนและมีสีออกไปทางดำเอามากๆ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกจะเห็นเนื้อในขาวนวลสดใสอย่างกับสีเงินยวง สันนิษฐานว่าน่าจะมีส่วนผสมของปรอทอยู่มาก พูดง่ายๆ ก็คือ ตรงรสึกแลเห็นเนื้อในและที่ยังไม่สึกเป็นคราบผิวหนาคลุมอยู่ หรือผิวพระจะเป็นสองชั้น หรือตามภาษาชาวบ้านก็ว่าตลอดองค์พระมีเสื้อใส่ทับอยู่อีกชั้นหนึ่ง ย่อมยืนยันได้ว่าเป็นของแท้แน่นอนครับผม
พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี มีมากมายหลายพิมพ์ทรง สามารถแบ่งแยกเป็นพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พระสวนเดี่ยว และพระสวนตรง ซึ่ง ณ ปัจจุบันเป็นที่นิยมเล่นหากันอย่างกว้างขวางทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพระมเหศวรที่มีคราบไคลความเก่าปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์เล็กพิมพ์น้อยก็ล้วนแต่มีราคาค่างวดทั้งสิ้น ดังนั้น ต้องใช้การพิจารณาอย่างละเอียดและพิถีพิถัน ทั้งเรื่องเนื้อขององค์พระ ผิวขององค์พระ ปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดตามอายุและสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสนิมขุม รอยระเบิดจากภายในสู่ภายนอก สนิมไข กระทั่งพื้นผิวภายนอกก่อนใช้หลังใช้ และข้อสำคัญข้อหนึ่งที่พึงจดจำไว้คือ "พระมเหศวร" จะพบเฉพาะกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุเดียวเท่านั้น จะไม่ปรากฏในกรุอื่นหรือจังหวัดอื่นใดทั้งสิ้น ถ้ามีคนมาบอกว่ามาจากกรุอื่นแล้วเกิดหลงเชื่อ ก็ใสเจีย…เสียใจด้วยครับผม ข่าวพระเครื่อง
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง โดย...ราม วัชรประดิษฐ์ ที่มา...ข่าวสด
-----------------------------------------------
พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง จ.สุพรรณบุรี มาแต่ครั้งโบราณ ในสมัยอู่ทองจำต้องร้าง เพราะภัยสงครามระหว่างไทย-พม่า เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ.๒๓๑๐ ทหารพม่าได้ปล้นสะดมประชาชนคนไทย พร้อมทั้งกวาดต้อนครอบครัวไทยไปเป็นเชลยยังเมืองพม่า ชาวสุพรรณที่รักอิสระจึงต้องหนีซอกซอนไปอาศัยอยู่ตามป่าดงพงไพร ทิ้งบ้าน ทิ้งวัด ปล่อยให้รกร้าง ปราศจากผู้คนดูแล เมืองสุพรรณจึงรกร้างไปร่วมร้อยปี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ ๒๐๐ เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบที่มีสภาพปรักหักพังหมด
ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังเป็นข้อถกเถียง และโต้แย้งกันอยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แม้จะปรากฏหลักฐานเป็นแผ่นลานทองจารึกประวัติการสร้าง ที่พบเมื่อครั้งเปิดกรุในปี ๒๔๕๖ แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากแผ่นลานทองสูญหายและชำรุดไปเป็นจำนวนมาก จากหลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑)
 กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ และอีกพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล คือ พระมเหศวร นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์สำคัญๆ อีกหลากหลาย อาทิ พระสุพรรณหลังผาน (หลังพระ) พระสุพรรณยอดโถ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระท่ามะปรางค์ พระถ้ำเสือ พระอรัญญิก พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระลีลาพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
ประวัติพระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แตกกรุ
 ประวัติที่มาของกรุแตก และพบแผ่นลานทอง ที่เล่าขานกันมาคือ มีชาวจีนคนหนึ่งปลูกผักอยู่ใกล้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดร้าง) วันหนึ่ง ได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ แล้วงไปในกรุ ได้พบแก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมาก จึงขโมยออกมา แล้วหนีไปเมืองจีน ต่อมามีคุณลุงอาชีพพายเรือจ้าง ลงไปในกรุเป็นคนที่ ๒ ได้แผ่นลานทอง และพระกำแพงศอกขึ้นมาหลายองค์ แผ่นลานทองเอาไปหลอมได้ทองราว ๒๐-๓๐ บาท นับเป็นการทำลายหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างน่าเสียดายยิ่ง 
จากนั้นเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างก็แห่กันไปลงกรุ ขนเอาพระเครื่อง พระบูชา ตลอดจนพระกำแพงศอก ไปเป็นจำนวนมาก กว่าทางราชการจะรู้เรื่อง การขุดกรุล่วงเลยไปถึงประมาณ ๑๐ วัน ผู้ว่าราชการเมือง พระทวีประชาชน (อี้ กรรณสูต) ต่อมาเป็น พระยาสุนทรสงคราม จึงตั้งกรรมการขุดกรุขึ้นมาชุดหนึ่ง ได้พระเครื่องพระบูชาเป็นเล่มเกวียน กับลานทอง ๓-๔ แผ่น ส่งไปให้กรมศิลปากร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงแปลอักษรในลานทอง แล้วส่งสำเนาคำแปลกลับมายังผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณ พระมเหศวร จัดได้ว่า เป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุวัดพระศรีฯ แห่งนี้ เป็นพระเนื้อ ชินเงิน ศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ พระผงสุพรรณ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง
พระมเหศวร 1 ใน 5 ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน
พระมเหศวร 1 ใน 5 ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน
 ความแปลกของพระพิมพ์นี้ซึ่งเรียกได้ว่า มีเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย คือ พระเศียรพระมเหศวรหน้าหนึ่ง กับพระเศียรอีกหน้าหนึ่งจะวางกลับกัน หรือสวนทางกัน ด้วยเหตุที่พระเศียร ๒ ด้านวางสวนกลับกันไปมา นักพระเครื่องจึงเรียกพระพิมพ์นี้ “พระมเหศวร”  มีบางท่านเข้าใจว่าตั้งชื่อตามชื่อของขุนโจรชื่อดังของเมืองสุพรรณ คือ เสือมเหศวร แต่ข้อเท็จจริงชื่อ พระมเหศวร มีมาก่อนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี ก่อนหน้าที่จะมี เสือมเหศวร เกิดขึ้นในเมืองสุพรรณ ไม่น้อยกว่า ๓๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว
 พระมเหศวร มีหลายพิมพ์ทรง แบ่งตามขนาดได้เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่พิเศษ หากแยกลงรายละเอียดก็จะได้อีกหลายสิบพิมพ์ ขณะเดียวกัน หากแบ่งตามพระพักตร์ (ใบหน้า) ก็จะได้อีกหลากหลาย อาทิ หน้าอู่ทอง หน้าพระเศียรขนนก หน้าพระเนตรโปน ฯลฯ
 พระมเหศวร นอกจากจะมีพิมพ์พระเศียรสวนกลับกันคนละหน้าแล้วยังมี พิมพ์สวนเดี่ยว คือเป็นพระหน้าเดียว ด้านหลังเรียบ บางองค์ด้านหลังมีลายผ้า นอกจากนี้ ยังมีพระพิมพ์ ๒ หน้า โดยมีพระเศียรไปทางด้านเดียวกัน เรียกว่า พิมพ์สวนตรง เหมือนกับพระพิมพ์ ๒ หน้าทั่วๆ ไป บางองค์ด้านหน้าเป็นองค์พระ ด้านหลังเป็นซุ้มระฆัง หรือเป็นพระนาคปรกก็มี จัดเป็นพระพิมพ์พิเศษที่หาได้ยากกว่าปกติ
 พุทธลักษณะพระมเหศวร หากพิจารณาและวิเคราะห์จากรูปลักษณ์แล้ว  พระมเหศวรมีสัณฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยม ตรงกลางของด้านข้าง ทำเป็นรอยเว้าโค้งเข้าหาองค์พระ เป็นลักษณะการออกแบบแม่พิมพ์ที่มีมาแต่เดิม นับเป็นความอัจฉริยภาพของช่างโบราณ ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้แตกต่างกันออกไปเดิมๆ ได้อย่างงดงามลงตัว
 เมื่อดูจากด้านหน้าขององค์พระ บริเวณข้างพระเศียร อันปรากฏเส้นรัศมี หรือที่บางท่านเรียกว่า "เส้นม่าน" มีลักษณะคล้ายปีก หากเมื่อพลิกด้านหลังตรงบริเวณนี้จะเป็นบริเวณส่วนของพระเพลา และฐานของพระอีกด้าน เป็นการวางรูปลักษณ์ได้สัดส่วนลงตัวพอดีของพระทั้งสองด้าน นับเป็นจินตนาการงานศิลป์ชั้นบรมครูอย่างแท้จริง ในการออกแบบพิมพ์ทรงองค์พระได้อย่างงดงามยิ่ง โดยไม่เหมือนกันพระพิมพ์อื่นๆ ที่พบเห็นกันมาก่อน เส้นรัศมี นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ พระมเหศวร ที่มักจะปรากฏให้เห็นเป็นเส้นขีดๆ บริเวณข้างพระเศียรทั้งซ้ายและขวา สองขีดบ้าง สามขีดบ้าง และบางครั้งถึงขั้นระบุว่า ต้องมีจำนวนเท่านั้นเท่านี้เส้น ยึดถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวของแต่ละแบบพิมพ์ การกำหนดกฎเกณฑ์เช่นนั้น อาจจะมีการเข้าใจผิด และคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เนื่องจากจำนวนเส้นรัศมีใน พระมเหศวร ของแต่ละพิมพ์นั้น มีทั้งสองขีด และสามขีด ไม่แน่นอนตายตัว ในจำนวนพระที่มีขีดรัศมีนั้น ลักษณะของขีดและตำแหน่งที่ปรากฏ แม้จะพอประมาณได้ว่า อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างออกไปเช่นกัน  รวมไปถึงพระบางองค์ที่ไม่มีเส้นรัศมีเลยก็มี แต่ก็เป็นพระแท้เช่นกัน พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อชินซึ่งเป็นโลหะผสมจากเนื้อตะกั่ว ดีบุก เงิน และปรอท บางองค์ที่แก่ดีบุกองค์พระจะออกผิวพรรณสีขาวคล้ายสีเงิน บางองค์ที่แก่ตะกั่ว องค์พระจะออกสีเทาดำ และบางองค์ที่มีส่วนผสมของตะกั่วค่อนข้างสูง จะปรากฏสนิมแดง (แดงส้ม) ของตะกั่วอยู่ประปรายทั่วองค์พระทั้ง ๒ ด้าน
 พระมเหศวร เป็นพระยอดนิยมอีกพิมพ์หนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี แม้ว่าช่วงที่พระพิมพ์นี้ขึ้นจากกรุใหม่ๆ สู่สนามพระเครื่อง ได้รับความนิยมน้อยกว่า พระสุพรรณหลังผาน ก็ตาม แต่เนื่องจาก พระสุพรรณหลังผาน มีจำนวนพระขึ้นจากกรุน้อยกว่า ทำให้พบเห็นได้ยากกว่า ขณะเดียวกัน พระมเหศวร มีจำนวนพระมากกว่า และแพร่หลายในวงกว้างกว่า จึงทำให้ พระมเหศวร ได้รับความนิยมมากกว่า จนได้รับการยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๕ ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน อันประกอบด้วย พระร่วงหลังรางปืน (หลังลายผ้า) พระหูยานพระท่ากระดาน พระชินราชใบเสมา และ พระมเหศวร
 พระพุทธคุณพระมเหศวร เยี่ยมยอดด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดมหาอุด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าสุดยอดที่สุด ความนิยมของพระมเหศวรจัดอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการพระเครื่องประเภทเนื้อ ชินยอดขุนพล ขนาดองค์พระ พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ใหญ่พิเศษ (หน้าใหญ่) กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๗๕ ซม. พิมพ์กลางและพิมพ์เล็กมีขนาดและรูปทรงย่อมลงมาเล็กน้อย แทบจะดูไม่แตกต่างกันมากนัก
ราคาพระมเหศวร ในปัจจุบันนี้พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ (พิเศษ) องค์สวยๆ ระดับแชมป์ ราคาพระเครื่องซื้อขายกันอยู่ที่หลักล้านมานานแล้ว พิมพ์อื่นๆ ราคาลดหลั่นลงมาตามสภาพองค์พระและพระทุกพิมพ์นับวันจะทวีค่าราคาเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เพราะพระแท้พระสวยหายาก ในขณะที่ พระเครื่องปลอม มีมากกว่าและระบาดมานานแล้ว ผู้สนใจเช่าหาจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ให้ดีที่สุด 

  ที่มา : http://www.tumsrivichai.com/


แยกพิมพ์พระมเหศวร... โดยผู้ชำนาญการซื้อขายจริงไม่ใช่แค่พิมพ์ใหญ่เท่านั้นจบ... แต่ยังแยกได้อีกหลายพิมพ์ - ใหญ่ฐานสูง ใหญ่เศียรโต ใหญ่ฐานบัว ใหญ่ผมหวี...   รู้มาก ชำนาญมาก ติดอาวุธให้ตัวเองครับ ^_^
(คลิกเข้าอ่านได้เลยครับ-->)
ขยายรูปภาพ  ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ
 ขยายรูปภาพ  ในการแตกกรุครั้งใหญ่ของพระเครื่อง กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปีพ..2456 นั้นได้พบพระเครื่องมากมายหลายชนิด หลายพิมพ์ทรง ซึ่งต่างก็ได้รับความนิยมสูงทั้งสิ้น และที่นักสะสมรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ “พระผงสุพรรณ” อันเป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคีที่มีชื่อเสียงลือลั่น             นอกจากพระผงสุพรรณอันเลื่องชื่อของวงการแล้ว ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ยังมีพระอยู่ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพุทธศิลป์แปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ กล่าวคือ เป็นพระพิมพ์ 2 หน้า โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน สมัยก่อนจึงเรียกว่า “พระสวน” ตามลักษณะเด่นของพิมพ์พระ ต่อมาจึงเรียกขานกันว่า “พระมเหศวร
พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุตม์แคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ
           พิมพ์ใหญ่                          พิมพ์กลาง                             พิมพ์เล็ก                         พิมพ์สวนตรง                  พิมพ์สวนเดี่ยว

           
           ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พระมเหศวร เป็นพระพิมพ์ที่แปลกกว่าพระพิมพ์ใดๆ ที่ปรากฏมา จุดเด่นคือ เป็นพระพิมพ์
 2 หน้า มีพระสององค์อยู่ด้านหน้า และด้านหลัง โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในสมัยก่อนว่า “พระสวน” แต่ชื่อนี้จะเรียกกันมานานแค่ไหน และเปลี่ยนมาเรียกชื่อ “พระมเหศวร” เมื่อใดก็ไม่ทราบชัด สาเหตุที่ชื่อ “พระสวน” กลายมาเป็น “พระมเหศวร” นั้นอาจเป็นไปได้ว่าชื่อ มเหศวร หมายถึง พระอิศวร ซึ่งเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่มีฤทธิ์อำนาจกว่าใครทั้งปวงจึงเป็นชื่อที่มีมงคลยิ่งต่อการนำมาเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ เพราะเป็นพระที่ยิ่งใหญ่ในพลังอิทธิปาฏิหาริย์เหมือนดังอำนาจของพระอิศวรนั่นเอง
แต่ก็มีนักวิชาการพระเครื่องบางท่านให้ความเห็นว่า ชื่อ “พระมเหศวร” นี้น่าจะเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ หรือคงตั้งชื่อเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ผู้สร้างก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามชื่อนี้ก็เป็นชื่อที่เรียกขานกันมาแต่เดิม ซึ่งน่าจะเรียกกันมาตั้งแต่ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสดอนเจดีย์ในปี พ..2456 แล้ว โดยครั้งนั้นได้เสด็จมาทรงเปิดกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ด้วย
มีบางท่านเชื่อว่าชื่อ “พระมเหศวร” นั้นมาจากชื่อของ “เสือมเหศวร” ขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่ของสุพรรณบุรี ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ประเด็นนี้ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เนื่องจากชื่อเสือมเหศวรเพิ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อราวสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง แต่ชื่อพระมเหศวรนั้นมีเรียกกันมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้ที่ชื่อพระมเหศวรจะมาจากชื่อของเสือมเหศวร แต่เสือมเหศวรเสียอีกที่น่าจะเอาชื่อพระมาตั้งชื่อตัวเอง เพื่อให้ดูน่าเกรงขามขึ้น

พุทธลักษณะ พระมเหศวร
พระมเหศวร มีลักษณะพิมพ์ทรงเป็นเหมือนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เว้าตรงกลางทั้งสองด้าน มีองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยอยู่ทั้งสองด้าน แต่ประทับนั่งหันพระเศียรสวนกลับทางกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระเครื่องได้ระบุไว้ว่า พระมเหศวร เป็นพระในศิลปะอู่ทองตอนปลาย กล่าวคือ พระเกศยาวเป็นเปลว มีไรพระศก ชายจีวร หรือเส้นสังฆาฏิยาว ปลายตัดเป็นเส้นตรง ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ฐานหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน พระพักตร์เคร่งขรึมแสดงออกถึงตบะอันแก่กล้าน่าเกรงขาม พระเนตรโปนออกมาทั้งสองข้างกลมมน ด้านซ้ายลาดต่ำกว่าด้านขวา พระหัตถ์ซ้ายค่อนข้างใหญ่ สัณฐานคล้ายกล้ามปู ปรากฏเส้นพระอังสา และสังฆาฏิเป็นเส้นกลมแข็งทื่อชัดเจน
บริเวณสองข้างพระเศียรมีลักษณะเป็นปีกยื่นออกมา ปรากฏเส้นขีดนูนสั้นๆ ด้านข้างองค์พระใกล้กับพระเศียร ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเป็นเส้นอะไร มีอยู่หลายแบบด้วยกัน เช่น ด้านซ้ายมี 2 ขีด ด้านขวามี 3 ขีดก็มี ด้านละ 2-3 ขีดก็มี ข้างละเท่าๆ กันก็มี ขีดดังกล่าวเข้าใจว่าเกิดจากลักษณะแม่พิมพ์ หรืออาจเกิดจากการใช้เทคนิคอะไรบางอย่างก็ได้
นอกจากพิมพ์ทรงของพระมเหศวรจะโดดเด่นกว่าใครแล้ว ลักษณะดังกล่าวยังถือเป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง ซึ่งมีผลในแง่ของความแข็งแรงในองค์พระ เพราะปกติแล้วพระเครื่องทั่วไปมักมีส่วนที่บอบบางที่สุดคือ ส่วนพระศอ ซึ่งหากถูกกดทับแรงๆ พระศอมักแตกหัก แต่พระมเหศวรกลับไม่มีปัญหาดังกล่าว เพราะส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่ง เมื่อนั่งสวนทางกันจึงไปอยู่ในตำแหน่งที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง ทำให้ลบล้างส่วนที่เปราะบางออกไปอย่างสิ้นเชิง
การที่ทำเป็นองค์พระทั้งสองด้าน สันนิษฐานว่าแม่พิมพ์ของพระมเหศวร จะมีลักษณะแบบเบ้าประกบ มีเดือยอยู่กลางองค์ระหว่างองค์พระ เพราะในพระบางองค์ยังมีรอยก้านชนวนให้เห็นอยู่

 
เนื้อพระมเหศวร
เป็นพระประเภทเนื้อชิน มีทั้งชินเงิน และชินตะกั่ว ถ้าเป็นเนื้อชินเงินซึ่งแก่ดีบุก และปรอท เนื้อจะแข็ง และออกเป็นสีเงินยวง ในองค์ที่สมบูรณ์ผิวพระจะมีคราบปรอท และคราบไขสีน้ำตาลแทรกแซมกันอยู่ ทำให้ดูเหมือนผิวปรอทสีทองงามจับตายิ่งนัก แต่ถ้าผ่านการใช้สัมผัสก็จะเกิดสนิมสีดำ บางองค์เกิดสนิมขุม และรอยปริแตก ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อชินเงินที่ผ่านกาลเวลามานาน
ส่วนเนื้อชินตะกั่ว เป็นเนื้อประเภทที่เรียกว่า “ชินสังฆวานร” ลักษณะเนื้อพระจะอ่อนบิดงอได้ ผิวจะออกสีเทา แต่เนื้อในยังคงเป็นสีเงินยวง มีคราบไข และสนิมต่างๆ เหมือนกัน

พิมพ์พระมเหศวร
พระมเหศวร มีอยู่หลายแบบพิมพ์ด้วยกัน แต่หมวดหมู่ใหญ่ๆ ในวงการแบ่งแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ได้ 5 พิมพ์ คือ
-                   พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่
-                   พระมเหศวร พิมพ์กลาง
-                   พระมเหศวร พิมพ์เล็ก
-                   พระสวนตรง
-                   พระสวนเดี่ยว
(นอกจากนี้ยังมีพิมพ์หลังนาคปรก พิมพ์หลังซุ้มระฆัง ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก)
ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ ขยายรูปภาพ       
         พิมพ์ใหญ่                              พิมพ์กลาง                          พิมพ์เล็ก                           พิมพ์สวนตรง                  พิมพ์สวนเดี่ยว
การศึกษาพิมพ์ทรงของพระมเหศวรนั้น โดยทั่วไปหลักๆ แล้วมักจำแนกออกเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เท่านั้น หากแต่ถ้าใครได้พิจารณาจากพระพิมพ์เดียวกันหลายๆ องค์แล้ว ก็จะพบว่าในแต่ละหมวดพิมพ์ก็ยังแยกย่อยได้อีกหลายพิมพ์(แต่ละพิมพ์มีหลายบล็อก)  และเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาที่ถูกต้องตามมาตรฐานนิยม
 คุณเลิศ สุพรรณ ผู้เชี่ยวชาญพระมเหศวร และพระเครื่องเมืองสุพรรณบุรี ได้ช่วยจำแนกแยกแยะพิมพ์ทรงของพระมเหศวร ไว้ดังนี้
หมายเหตุ (พระมเหศวรที่เป็นพิมพ์ 2 หน้า ซึ่งเป็นยอดพระเนื้อชิน ของวงการพระเครื่องที่ใครๆ ต่างก็ใฝ่ฝันอยากได้ครอบครอง เพราะนอกจากพุทธคุณนี้เป็นที่เล่าขานกันทั่วไปแล้ว พุทธศิลป์ขององค์พระที่ทำเป็นพระ 2 หน้าสวนทางกันก็โดดเด่นแปลกตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเลยทีเดียว สำหรับในวงการนักสะสมแล้วพระมเหศวรถือว่าเป็นพระที่ค่อนข้างหายากพิมพ์หนึ่ง ซึ่งพิมพ์หลักๆ ที่วงการนักสะสมให้การยอมรับนั้นจะพบน้อย แต่ถามว่าทำไมทุกวันนี้ถึงได้พบเห็นพระพิมพ์มเหศวรนี้มากมาย คำตอบก็คือ ส่วนใหญ่จะเป็นของทำเทียมเลียนแบบซึ่งมีอยู่จำนวนมาก)
ในบรรดาพระมเหศวร พิมพ์ 2 หน้า ซึ่งมีทั้งพระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กนั้น เมื่อเทียบปริมาณกันกับพระชนิดอื่นๆ แล้วถือว่ามีจำนวนค่อนข้างน้อย และเท่าที่มีหมุนเวียนกันในวงการนักสะสมนั้น พิมพ์กลางจะพบเจอมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ส่วนพิมพ์ที่พบรองลงมานั้นเป็นพิมพ์ใหญ่ แล้วก็พิมพ์เล็กตามลำดับ ส่วนราคาเล่นหานั้นส่วนใหญ่ก็จะเน้นที่ความสวยโดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นพิมพ์อะไร แต่ถ้าเป็นพระสวยต่อสวย นักสะสมก็จะให้ความสำคัญกับพิมพ์ใหญ่ก่อนเสมอ)

           การแยกพระเครื่องประเภทต่างๆ ออกเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็กนั้น สำหรับพระทั่วๆ ไปอาจแยกแยะโดยพิจารณาที่ความแตกต่างของขนาดขององค์พระ หรือกรอบพิมพ์พระโดยรวม ถ้าองค์ไหนมีขนาดใหญ่ก็จัดเป็นพิมพ์ใหญ่ องค์ไหนที่มีขนาดย่อมลงมาก็จัดเป็นพิมพ์กลาง พิมพ์เล็กตามลำดับ แต่สำหรับพระมเหศวรนั้นคงต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ เพราะว่าการแยกแยะพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กนั้น เราต้องดูที่องค์พระเป็นสำคัญ นั่นก็คือ ดูที่รูปทรงขององค์พระที่มีความแตกต่างกัน องค์พระที่ประทับนั่งนั้นพระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ จะมีพุทธลักษณะล่ำสันกว่า ใหญ่กว่าของพิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ขนาดองค์พระจะลดหลั่นกันลงมา แต่ถ้าดูจากกรอบพิมพ์เราจะแยกไม่ออกเลย ทั้งนี้เพราะกรอบพิมพ์อาจมีขนาดใกล้เคียงกันก็ได้ หรือในบางครั้งเราพบว่าแม้จะเป็นพระพิมพ์กลาง แต่ก็มีขนาดของกรอบพิมพ์ที่ใหญ่กว่าพระพิมพ์ใหญ่ด้วยซ้ำไปก็มี

การแยกแยะพิมพ์ทรงพระมเหศวร ในแต่ละพิมพ์ต้องดูจากอะไรเป็นสำคัญ
สำหรับความแตกต่างของแต่ละพิมพ์นั้น อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าต้องพิจารณาจากองค์พระ ดังนั้นอันดับแรกต้องดูที่รูปร่าง ขนาด หน้าตา ซึ่งลักษณะของเขาจะบ่งบอกอยู่ในตัวเองว่าเป็นอย่างไร นั่นคือ ถ้าเป็นพระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ แน่นอนว่าขนาดองค์พระจะดูใหญ่ไปหมด ทั้งพระพักตร์ หรือใบหน้า ท่านก็จะมีลักษณะอวบ พระเศียรใหญ่ มีเกศยาว
ส่วนพระมเหศวร พิมพ์กลาง องค์พระจะเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่ ใบหน้าเล็กอูม รูปทรงกรอบพระอาจดูสูงกว่า แต่องค์พระยังไงก็ต้องเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่ บางทีกรอบพิมพ์ของพระมเหศวร พิมพ์กลาง อาจใหญ่กว่าของพิมพ์ใหญ่ก็ได้ แต่รูปทรงองค์พระจะล่ำสันน้อยกว่าพิมพ์ใหญ่ ส่วนที่เป็นพระมเหศวร พิมพ์เล็ก ขนาดขององค์พระก็จะยิ่งเล็กไปใหญ่เลย ไม่ว่าหน้าตา เศียร วงแขน ฯลฯ ซึ่งไม่เกี่ยวกับขนาดของกรอบพิมพ์เลย
นอกจากนี้ยังดูที่ลักษณะของการตัดบล็อกอย่างพระมเหศวร พิมพ์กลาง นิยม เขาจะตัดได้ค่อนข้างเป็นมุมฉาก และหน้าตาจะเล็กกว่าอย่างนี้เป็นต้น พิมพ์กลาง ที่เป็นพิมพ์ผมหวี หรือเทริดขนนก ส่วนใหญ่ขีดข้างพระเศียรมักจะมี 4 ขีด ซึ่งพิมพ์นี้จะมีลักษณะคล้ายกับพิมพ์เล็กแต่บังเอิญว่าพิมพ์เล็กมีขีดข้างละขีดเป็น 2 ขีด ดังนั้นถึงเป็นข้อแตกต่างที่เด่นชัด
การที่จะสามารถแยกแยะพระมเหศวรทั้ง 3 พิมพ์นี้ได้ต้องหมั่นพิจารณา ต้องรู้จักเปรียบเทียบ ช่างสังเกตและที่สำคัญต้องเห็นของจริงเปรียบเทียบด้วย
ข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ พระมเหศวร พิมพ์ 2 หน้า ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กนั้น ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์อะไรก็ตาม พระทั้ง 2 หน้า แม้จะเป็นพิมพ์เดียวกันก็ตามแต่จะต้องไม่เหมือนกันเด็ดขาด ถ้าเหมือนกันละก็ขอให้เชื่อไว้ก่อนเลยว่าเป็นพระเก๊ เพราะเท่าที่เห็นมายังไม่เคยเจอพระมเหศวร ที่ทั้ง 2 หน้าเหมือนกันเลยแม้แต่องค์เดียว
นอกจาก 3 พิมพ์หลักแล้วในแต่ละพิมพ์ยังแยกย่อยเป็นพิมพ์ต่างๆ ได้อีก แม้ว่าพระมเหศวร พิมพ์ 2 หน้า โดยทั่วไปเราจะแยกแยะพิมพ์ทรงออกเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก ก็ตามแต่ว่าในความเป็นจริงนั้น ในแต่ละพิมพ์ดังกล่าวยังมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ซึ่งทำให้เราสามารถแยกย่อยออกเป็นพิมพ์ต่างๆ ได้อีกมากมายตามความแตกต่างของพุทธลักษณะ ซึ่งการเรียกชื่อแต่ละพิมพ์นั้น เราจะดูว่าพระองค์นั้นๆ มีอะไรเป็นลักษณะเด่น เราก็จะนำมาตั้งเป็นชื่อพิมพ์ ซึ่งโดยปกติแล้วนักเล่นส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีใครแบ่งแยกให้เสียเวลา คงเรียกรวมๆ กันไปว่านี้คือ พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก แต่สำหรับนักเล่นมืออาชีพ หรือนักเล่นที่มีความชำนาญนั้นเมื่อเห็นพระมเหศวรแต่ละองค์ก็สามารถแยกย่อยลงไปได้อีกว่าเป็นพิมพ์อะไร
สำหรับจำนวนพระมเหศวรที่หมุนเวียนอยู่ในวงการขณะนี้ เท่าที่สังเกตเห็นแม้ว่าปริมาณของพิมพ์กลางจะพบได้มากกว่าพิมพ์ใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ความหลากหลายหรือความแตกต่างในพิมพ์ หรือการแยกพิมพ์ของพระมเหศวร พิมพ์กลาง กลับมีน้อยพิมพ์กว่าพระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ ซึ่งเท่าที่พบเห็นนั้น พระมเหศวร พิมพ์กลาง จะมีเพียงแค่ 4-5 พิมพ์เท่านั้น แต่สำหรับพระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ แม้จะพบน้อยกว่าพิมพ์กลางแต่ก็สามารถแยกแยะออกเป็นพิมพ์ต่างๆ ได้ถึง 20-30 พิมพ์เลยทีเดียว ส่วนพระมเหศวร พิมพ์เล็ก เนื่องจากพบเห็นน้อยอยู่แล้ว การแยกแยะพิมพ์ทรงจึงแยกได้เพียงไม่กี่พิมพ์เช่นเดียวกับพิมพ์กลาง

พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ แยกแยะได้เป็นพิมพ์อะไรบ้าง
พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ เท่าที่ครูบาอาจารย์ หรือนักสะสมรุ่นก่อนเคยศึกษามาสามารถแยกย่อยได้ถึงกว่า 20 พิมพ์ แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะพิมพ์เด่นๆ เท่าที่พบเห็นได้บ่อยๆ ในวงการพระ ดังนี้
ขยายรูปภาพ  1.พิมพ์ใหญ่ หน้าใหญ่ ฐานสูง พระมเหศวรพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่ค่อนข้างหาได้ยาก ในวงการราคาเช่าบูชาจะแพงสุด พุทธลักษณะโดยรวมก็เหมือนพระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ทั่วไป แต่ลักษณะที่เด่นและมีความแตกต่างจากพิมพ์อื่นๆ ก็คือ พระพักตร์ หรือหน้าพระ จะอวบใหญ่ และจุดเด่นที่สำคัญอีกที่หนึ่งก็คือ ฐานจะสูงแต่ที่ฐานไม่มีบัว ซึ่งความจริงอาจจะมี แต่บังเอิญติดไม่ชัด

 ขยายรูปภาพ  2.พิมพ์ใหญ่ หน้าใหญ่ ฐานสูง
 (ฐานมีบัว) เอกลักษณ์ของพระมเหศวรพิมพ์นี้จะไม่เหมือนกับพิมพ์ใหญ่ทั่วไปคือ ส่วนแขนจะติดไม่เต็ม (แขนทั้ง 2 ข้างและที่ฐานจะมีลายกลีบบัวปรากฏให้เห็นชัดเจนขยายรูปภาพ  3.พิมพ์ใหญ่ หน้าใหญ่  เศียรโต ฐานเตี้ย ลักษณะเด่นของพระมเหศวรพิมพ์นี้ก็คือ มีขนาดของพระเศียรโตกว่าพิมพ์อื่นๆ และมีฐานเตี้ย หรือฐานตัดชิด พิมพ์นี้เป็นพิมพ์นิยมแพร่หลาย เจอะเจอบ่อย คนจะรู้จักเยอะ ส่วนที่ต่างก็คือ หน้าจะโต ขีดไม่ค่อยติด แต่ถ้าเจอองค์สวยขีดจะครบขยายรูปภาพ  4.พิมพ์ใหญ่ ต้อ หรือ พิมพ์ใหญ่ ฐานเตี้ย เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่พบเจอน้อย ลักษณะเด่นของพิมพ์นี้ให้สังเกตที่พระพักตร์ซึ่งจะเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ โดยเฉพาะพิมพ์หน้าใหญ่ ฐานจะเตี้ย องค์พระ หน้าตา ฐาน จะดูต้อๆ ทั้งองค์ ขนาดองค์พระ ฐาน และกรอบพิมพ์จะเล็กกว่าพิมพ์กลาง แต่หน้าตาใหญ่กว่าพิมพ์กลาง แต่โดยรวมองค์พระจะเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพิมพ์ใหญ่ ขยายรูปภาพ  5.พิมพ์ใหญ่ ตาโต ตาโปน หรือตาตั๊กแตน จุดเด่นคือ มีเม็ดตานูนเด่นโปนออกมา สมัยก่อนจะเรียกพระที่มีลักษณะเม็ดตาแบบนี้ว่า “ตาตั๊กแตนขยายรูปภาพ  6.พิมพ์ใหญ่ ฐานบัวชั้นเดียว (ฐานเตี้ย ฐานมีบัว) พระมเหศวรพิมพ์นี้คล้ายๆ กับพระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ หน้าใหญ่ แต่ฐานจะเป็นฐานบัว ซึ่งปรกติเราจะเจอฐานเป็นชั้นๆ อันนี้จะเป็นฐานบัวตุ่ม เจอน้อย องค์พระล่ำสันกว่า ต้อกว่าขยายรูปภาพ  7.พิมพ์ใหญ่ มีหู พระมเหศวรพิมพ์นี้พบน้อย ลักษณะเด่นคือ ปรากฏมีพระกรรณ หรือหู ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พระมเหศวรแทบทุกพิมพ์จะไม่ปรากฏพระกรรณให้เห็นเลย แต่พิมพ์นี้จะเห็นได้ชัดเจนเป็นพิเศษขยายรูปภาพ  8.พิมพ์ใหญ่ ผมหวี หรือ พิมพ์ใหญ่ สังฆาฏิ พบน้อย ของเก๊เยอะมาก ลักษณะเด่นของพระพิมพ์นี้ก็คือ ผมจะเป็นลักษณะผมหวี หรือเทริดขนนก หน้าใหญ่ สังฆาฏิหนาชัด บางท่านจึงเรียกว่า “พิมพ์สังฆาฏิ” 

 ที่มา : http://www.thaipra.com/

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม