ประวัติ หลวงปู่หลิว ปณฺณโก วัดไร่แตงทอง “เทพเจ้าพญาเต่าเรือน”
หลวงปู่หลิว ปณฺณโกเทพเจ้าพญาเต่าเรือน
หลวงปู่หลิว ปณฺณโก นับเป็นผู้ทรงอภิญญา และมีพุทธาคมสูงส่ง ท่านเป็น
ผู้ที่มีเมตตา พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ท่านพร้อมที่จะสร้าง พร้อมที่จะเสียสละ ให้กับบวรพุทธศาสนา ท่านไปอยู่ยังที่แห่งใดก็เปรียบเสมือนดวงประทีปของที่นั่น จนท่านได้ชื่อว่า พุทธบุตร ที่ทุกคนยกย่อง
ในช่วงที่หลวงปู่หลิวยังมีชีวิตอยู่นั้น
ท่านได้ใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่ท่านมี บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โดยมิได้หยุด
หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เคยตั้งปณิธานด้วยสัจจะ 2 ประการคือ
1. ลดเลิกอบายมุขทุกชนิด
2. เมื่อมีโอกาสจะสั่งสมบารมี ด้วยการสร้างเสนาสนะภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลาการ เปรียญ จนกว่าชีวิตจะหาไม่
ความปรารถนาอันแรงกล้าของหลวงปู่หลิวเป็นผลให้อำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตย์ทั่วจักรวาล ดลบันดาล ให้ท่านมี วาจาสิทธิ์ กับ ญาณทิพย์ มาขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่ายากดีมีจนไม่ว่าใกล้ไกลที่ไหนท่านก็จะถามถึงทุกข์สุขของทุกคนท่านได้ช่วยเหลือจนหมดสิ้น
ผู้ที่มีเมตตา พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ท่านพร้อมที่จะสร้าง พร้อมที่จะเสียสละ ให้กับบวรพุทธศาสนา ท่านไปอยู่ยังที่แห่งใดก็เปรียบเสมือนดวงประทีปของที่นั่น จนท่านได้ชื่อว่า พุทธบุตร ที่ทุกคนยกย่อง
ในช่วงที่หลวงปู่หลิวยังมีชีวิตอยู่นั้น
ท่านได้ใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่ท่านมี บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โดยมิได้หยุด
หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เคยตั้งปณิธานด้วยสัจจะ 2 ประการคือ
1. ลดเลิกอบายมุขทุกชนิด
2. เมื่อมีโอกาสจะสั่งสมบารมี ด้วยการสร้างเสนาสนะภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลาการ เปรียญ จนกว่าชีวิตจะหาไม่
ความปรารถนาอันแรงกล้าของหลวงปู่หลิวเป็นผลให้อำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตย์ทั่วจักรวาล ดลบันดาล ให้ท่านมี วาจาสิทธิ์ กับ ญาณทิพย์ มาขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่ายากดีมีจนไม่ว่าใกล้ไกลที่ไหนท่านก็จะถามถึงทุกข์สุขของทุกคนท่านได้ช่วยเหลือจนหมดสิ้น
ปฐมวัย
หลวงปู่หลิว ปณฺณโก มีนามเดิมว่า หลิว นามสกุล แซ่ตั้ง (นามถาวร)
บิดามีนามว่า คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง มารดามีนามว่า คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ.2448 ปีมะเส็ง ( วันเกิดตามหลักฐาน
ข้อมูลทะเบียนราษฎร์คือ วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2451 ) ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 9 คน คือ
1. นายเหรียญ แซ่ตั้ง
2. นางแอ๊ว ตู้นิ่ม
3. หลวงปู่หลิว ปณฺณโก
4. นายปลิว จุฬาเบา
5. นางลั้น เตี้ยเนตร
6. นางปั่น เหมือนจินดา
7. นายหนู นามถาวร
8. นายปู นามถาวร
9. นางปุ่น นามใจ
ครอบครัวของหลวงปู่หลิว อยู่ในชนบทที่ห่างไกลความเจริญ บิดามารดามีอาชีพทำนา ต่างคนต่างต้องช่วยกันทำมาหากินกันไปตามสภาวะ หลวงปู่หลิวในวัยเด็กมีความคิดที่แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกันอย่างสิ้นเชิง แทนที่จะไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กในวัยเดียวกัน แต่หลวงปู่หลิว กลับมองเห็นความยากลำบากของบิดามารดา และพี่ ๆ หลวงปู่หลิวจึงได้ช่วยงานของบิดามารดา และพี่ ๆ อย่างขยันขันแข็ง ทำให้เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดา ตลอดจนพี่น้องเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความขยันและตั้งใจอดทน ทำให้หลวงปู่หลิวได้เรียนรู้วิชาช่าง ควบคู่ไปกับการทำไร่นา เพราะบิดานั้นเป็นช่างไม้ฝีมือดีคนหนึ่ง
เมื่อเติบใหญ่หลวงปู่หลิว จึงมีฝีมือทางช่างเป็นเลิศจนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านโดยทั่วไป ในบางครั้งหลวงปู่หลิวท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกล เพื่อไปทำงาน บางครั้งการไปกลับใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆนานา บางครั้งทำให้ท่านถึงกับล้มป่วยไปเลยก็มี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่ท่านมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย ( เพราะหลวงปู่หลิว ท่านมีลักษณะเด่นอยู่ในตัวท่านเองคือ มีความจำเป็นเลิศ )
หลวงปู่หลิว ปณฺณโก มีนามเดิมว่า หลิว นามสกุล แซ่ตั้ง (นามถาวร)
บิดามีนามว่า คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง มารดามีนามว่า คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ.2448 ปีมะเส็ง ( วันเกิดตามหลักฐาน
ข้อมูลทะเบียนราษฎร์คือ วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2451 ) ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 9 คน คือ
1. นายเหรียญ แซ่ตั้ง
2. นางแอ๊ว ตู้นิ่ม
3. หลวงปู่หลิว ปณฺณโก
4. นายปลิว จุฬาเบา
5. นางลั้น เตี้ยเนตร
6. นางปั่น เหมือนจินดา
7. นายหนู นามถาวร
8. นายปู นามถาวร
9. นางปุ่น นามใจ
ครอบครัวของหลวงปู่หลิว อยู่ในชนบทที่ห่างไกลความเจริญ บิดามารดามีอาชีพทำนา ต่างคนต่างต้องช่วยกันทำมาหากินกันไปตามสภาวะ หลวงปู่หลิวในวัยเด็กมีความคิดที่แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกันอย่างสิ้นเชิง แทนที่จะไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กในวัยเดียวกัน แต่หลวงปู่หลิว กลับมองเห็นความยากลำบากของบิดามารดา และพี่ ๆ หลวงปู่หลิวจึงได้ช่วยงานของบิดามารดา และพี่ ๆ อย่างขยันขันแข็ง ทำให้เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดา ตลอดจนพี่น้องเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความขยันและตั้งใจอดทน ทำให้หลวงปู่หลิวได้เรียนรู้วิชาช่าง ควบคู่ไปกับการทำไร่นา เพราะบิดานั้นเป็นช่างไม้ฝีมือดีคนหนึ่ง
เมื่อเติบใหญ่หลวงปู่หลิว จึงมีฝีมือทางช่างเป็นเลิศจนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านโดยทั่วไป ในบางครั้งหลวงปู่หลิวท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกล เพื่อไปทำงาน บางครั้งการไปกลับใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆนานา บางครั้งทำให้ท่านถึงกับล้มป่วยไปเลยก็มี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่ท่านมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย ( เพราะหลวงปู่หลิว ท่านมีลักษณะเด่นอยู่ในตัวท่านเองคือ มีความจำเป็นเลิศ )
ครอบครัวโดนรังแก
ในสมัยก่อนจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม ถือว่าเป้นแหล่งแดนเสือ ดงนักเลง มีโจรผู้ร้ายมากมาย ครอบครัวของท่านก็โดนรังแกจากเหล่าโจรผู้ร้ายเช่นเดียวกัน ท่านพูดถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า” โยมพ่อโยมแม่เป็นคนซื่อ โจรมาโขมยวัว โขมยควายก็มิได้ต่อสู้ขัดขืน ทำให้ต้องสูญเสียข้าวของที่หาได้มา อาตมาจึงเจ็บใจแค้นใจ เป็นที่สุด ที่จะทำอะไรมันได้ “ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงคิดหาหนทางช่วยเหลือครอบครัว และชาวบ้านด้วยการเรียนวิชาคาถาอาคม
เข้าป่าเรียนอาคม
หลวงปู่จึงชักชวนญาติลูกพี่ลูกน้อง 2 คน หนีออกจากบ้าน มุ่งสู่แดนกระเหรี่ยง เข้าป่าลึกก้ต้องนอนตามโคนต้นไม้ ตกดึกน้ำค้างแรง หนาวเหน็บ ยุงป่ามากมาย เสียงเสือคำรามมาแต่ไกล อุปสรรคขวางหน้าเพื่อนร่มทางได้ตายไปหนึ่งด้วยพิษไข้ป่า จะเอาศพกลับบ้านก็ไกลเกิน จึงตกลงกันเผาสพกลางป่า แล้วนำกระดูกใส่ห่อผ้าติดตัวไปด้วย
ส่วนญาติผู้น้องเมื่อเห็นญาติผู้พี่ตายไปต่อหน้าต่อตา เกิดมีอาการท้อใจ จึงขอแยกทางจากหลวงปู่เพื่อกลับบ้าน หลวงปู่หลิวจึงได้เดินทางตามลำพัง จนกระทั้งถึงหมู่บ้านชาวกระเหรี่ยง หลวงปู่ได้เรียนวิชาอาคม จากหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงอยู่หลายปี วิชาที่เรียนนั้นใช้สำหรับฆ่าคน มีทั้งวิธีผูกและวิธีแก้ ตั้งแต่ปรุงยาสมุนไพร….ยาสั่ง…..ยาพิษ…..ยางไม้ยางน่อง……การเสกหนังควาย….เสกหุ่น…..การเรียนวิชาผีตายโหง….เรียกวิญญาณเสือสมิง……เรียกวิญญาณพญาเต่าเรือน….
กลับมาตุภูมิครั้งแรก
เมื่อกลับมาบ้านพ่อแม่ต่างดีใจ เมื่อทราบความเป็นมา…..หลวงปู่ได้ทดลองใช้วิชาที่ร่ำเรียนมากับพวกโจร พวกโจรเมื่อเข้ามาปล้นหมู่บ้านก็โดนผีบิดไส้บ้าง….โดนหนังควายบานในท้องบ้าง….ฯลฯ จึงรู้ว่ามีคนดีมีฝีมือ คอยปกป้องอยู่ จึงมากราบขอขมาลาโทษ ทำให้หมู่บ้านหนองอ้อมีความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่ได้กลับไปเรียนวิชาจากหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวบ้าน ในครั้งนี้หลวงปุ่ได้เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ….การดูฤกษ์ยาม….การทำตะกรุดคงกระพันจากหนังเสือและ
ปล้องไผ่
ปล้องไผ่
ชีวิตที่ยังไม่เปิดเผย
หลังจากนั้นหลวงปู่ได้กลับมาทำไร่ทำนาตามปก ในช่วงนี้ท่านได้แยกตัวออกมาทำงานของตัวเอง ท่านทำหลายอย่าง ทั้งเผาถ่าน เก็บเห็ดขาย แม้แต่รับจ้างทำไร่ก็เคย ช่วงที่ท่านทำไร่นี้ท่านก็ไดชอบพอและอยู่กินกับ นางหยด และมีลูกชายหนึ่งคน
สู่โลกแห่งธรรม
เมื่อท่านได้ใช้ชีวิตอยู่กับนางหยดระยะหนึ่งแล้ว ได้สัมผัสกับกระแสความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชาตัณหาราคะต่างๆ ท่านเริ่มจับตามองความเป็นไปต่างๆ ด้วยความเบื่อหน่าย
จนกระทั่งท่านอายุ 27 ปีท่านได้เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีดในการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งไม่ถูกกับนิสัยที่แท้จริงของท่าน หลวงปู่หลิวจึงได้ขออนุญาตบิดา มารดา เพื่อออกบวช แสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้น
หลวงปู่หลิวได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2478 (วันเสาร์ แรม 15 ค่ำ เดือน 6) เวลา13.00 น.
โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ วัดบ้านเลือก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ (เกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.ราชบุรี) วัดโบสถ์ เป็นหพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดบ้านเลือก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่หลิวได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ปณฺณโก” แปลว่าผู้บริบูรณ์แล้ว
โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ วัดบ้านเลือก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ (เกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.ราชบุรี) วัดโบสถ์ เป็นหพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดบ้านเลือก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่หลิวได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ปณฺณโก” แปลว่าผู้บริบูรณ์แล้ว
เมื่อุปสมบทแล้วท่านได้มาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนท่างพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานควบคู่กันไป ทั้งยังมีความสะดวกสบายเพราะมีญาติพี่น้องและชาวบ้านให้ความอุปฐากอย่างใกล้ชิด
ในพรรษาแรกนั้นท่านได้ช่วยวัดสร้างกี่กระตุก (ที่ทอผ้า) ขึ้นจำนวน 50 ชุด และได้ช่วยเจ้าอาวาสสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่
เรียนอาคมเพิ่มบารมี
หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจในการก่อสร้างแล้วท่านได้ไปโปรดอารย์ชาวกระเหรี่ยง สร้างความปลาบปลื้มแก่อาจารยืหัวหน้าเผ่าและชาวบ้าน ที่หลวงปู่เป็นศิษย์กตัญญู ในคราวนี้หลวงปู่หลิวยังได้รับการถ่ายทอดคาถามหามนต์ มหาเวทย์ของชาวมอญ อันเป็นเคล็ดวิชาที่อาจารย์ชาวกระเหรี่ยงเคยบวชเรียนอยู่หลายพรรษา
จากนั้นหลวงปู่หลิวได้วกลงใต้ ไปกราบหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อแดงได้ขึ้นกัมมัฏฐานให้ และสอนวิชาทำสมาธิ เข้าญาณสมาบัติ สอนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ตลอดจนการเขียนลบผงอิทธิเจ….ปัทถมัง….ตรีนิสิงเห….ฯลฯ
จากนั้นไปกราบพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช พ่อท่านคล้ายได้เมตตาสอนเคล็ดวิชาต่างๆ ให้ด้วยความปราณี
ในช่วงนี้เองหลวงปู่หลิวได้พบกับอาจารย์อุ่ม เสือสมิง “จอมขมังเวทย์ชาวใต้” หลวงปู่หลิวได้ธุดงค์มาถึงตลาดห้วยมุด นครศรีธรรมราช ได้พบชายคนหนึ่งรูปร่างสูงใหญ่กำยำ สักยันต์เต็มตัว….รู้ในภายหลังว่าชื่ออาจารย์อุ่ม เป็นอาจารย์สักยันต์ด้วยนำมันเสือ ได้เข้ามายกมือไหว้ ขอให้ช่วยเป่ากระหม่อมให้หน่อย หลวงปู่หลิวมองด้วยสายตาก็รู้ว่า ชายผู้นี้มีวิชาอาคมต้องการจะมาลองดี จึงบอกไปว่า”ของๆโยมดีอยู่แล้ว” แต่อาจารย์อุ่มกลับไม่ยอม ดักหน้าดักหลัง หลวงปู่ทนรำคาญไม่ไหวจึงเป่ามนต์ไปที่ศีรษะ ทันทีที่ต้องมนต์ใบหน้าของอาจารย์อุ่มเปลียนไปทันที ดวงตาเบิกกว้าง อ้าปากคำราม คล้ายเสียงเสือ ชู 2 แขนกางมือจะตะปบใส่ หลวงปู่หลิวใช้มือขว้าคว้าศีรษะกดหัวลงกับพื้น ปากก็ตะโกนว่า “เสือ..เสือ…ใครไม่เคยเห็นเสือมาดูทางนี้”
………….ชาวบ้านร้านตลาดแตกตื่น พากันวิ่งมาดูพระธุดงค์มือซ้ายแบกกลด และเครื่องอัฏฐบริขารพะรุงพะรัง มือขวากดศีรษะชายร่างใหญ่ หมอบดิ้นไปมาคล้ายเสือ หลวงปู่จึงถามว่า “ยอมไหม” เสืออาจารย์อุ่มจึงพูดขึ้นว่า” ยอม …ยอมแล้ว…ยอมแล้วขอรับ ปล่อยมือเถิดครับ หัวผมจะแตกอยู่แล้ว” พอหลวงปู่หลิวเอามือออก อาจารย์อุ่มก็คลานไปกราบแทบเท้าขอขมาลาโทษ ไม่นึกว่าพระธุดงค์หนุ่มรูปนี้จะมีวิชาเกินตัว ปากก็พร่ำว่า “ผมยอมแล้ว” และยังพูดต่อไปอีกว่า “ขนาดพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน ยังไม่กล้าจับหัวผมเลย” พร้อมทั้งยกมือไหว้นิมนต์ให้ไปเยี่ยมสำนัก หลวงปู่หลิวทำใจดีสู้เสือ
ที่สำนักของอาจารย์อุ่ม เลี้ยงผี เลี้ยงกุมารทอง เดินเพ่นพ่านไปหมด หลวงปู่หลิวจึงสะกดไว้ด้วยเวทย์มนต์ของอาจารย์ชาวกระหรี่ยง อาจารย์อุ่มได้นำคัมภีร์โบราณต่างๆ มาอวด พร้อมทั้งถวายเหล็กสักยันต์ เครื่องรางของขลังต่างๆ พร้อมทั้งแม่พิมพ์พระเครื่อง แต่หลวงปู่หลิวไม่ยอมรับ หลวงปู่หลิวคงรับไว้แต่แม่พิมพ์พระขนาดเขื่อง เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัยนั่งบัว มีประภามณฑล ข้างๆ มีฉัตร คิดว่าจะนำแม่พิมพ์นี้ไปกดพระแจกแก่ศิษย์และผู้มีจิตศรัทธา หลวงปู่ให้ชื่อพระพิมพ์นี้ว่า “พระประตูชัย” หลวงปุ่สร้างเป็นพระเนื้อดินเผา ใต้บานมีตะกรุด 1 ดอก
จากนั้นท่านได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่ออุ้ม จ.นครสวรรค์
การสร้างเสนาสนะและบูรณปฏิสังขรณ์
การสร้างเสนาสนะและบูรณปฏิสังขรณ์
พ.ศ.2482 ได้บูรณะ วัดท่าเสา จ.สุพรรณบุรี ท่านได้สร้างกุฏิขึ้น 3 หลัง และพระอุโบสถอีก 1 หลัง
พ.ศ.2484 ท่านไดไปจำพรรษา ณ วัดสนามแย้ จ.กาญจนบุรี ท่านได้บูรณะสิ่งต่างๆ มากมายไม่ว่า กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ และโบสถ์ จนมีความเจริยรุ่งเรือง จนเป้นที่รู้จักันดีของประชาชนทั่วไป อุดมการณ์แห่งการสร้างสรรคืพัฒนาของหลวงปู่หลิวสืฐสานการดำเนินการต่อเนื่องในวัดสนามแย้แห่งนี้ เป้นเวลายาวนานถึง 36 ปี ท่านเห็นว่าการทำงานของท่านสมควรแก่เวลาแล้ว ควรกระจายไปสู่ถิ่นอื่นบ้าง
พ.ศ.2520 สร้างวัดไทรทอง ที่ ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ให้เวลาก่อสร้าง 5 ปีจึงแล้วเสร็จ
พ.ศ.2525 สร้างวัดไร่แตงทอง ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง เมื่อวันที่ 7 มิถนายน พ.ศ.2535
กลับมาตุภูมิอีกครั้งหนึ่ง
กลับมาตุภูมิอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อหลวงปู่หลิวได้พัฒนาวัดไร่แตงทอง จนเป็นที่เจริยรุ่งเรืองแล้ว ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง แล้วได้ย้ายกลับมาจำพรรษยังวัดหนองอ้อ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี อันเป็นวัดบ้านเกิด อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2540 ท่านกลับมาจำพรรษาในฐานะพระลูกวัดองค์หนึ่งเท่านั้น ท่านใช้เวลาสร้างกุฏิหลังใหม่ด้วยเวลาเพียง 5 เดือนเศษ
สิ้นแล้วหลวงปู่หลิว
เริ่มเข้ากลางปี พ.ศ.2543 หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์5 เป็นต้นมา หลวงปู่หลิวเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา
ปรัชญฐาอันลึกซึ้งของหลวงปู่หลิว ขณะที่ท่านอาพาธ ก็คือไม่ยินดียินร้ายกับการจะอยู่หรือการจะไป ร่างกายของคนเราเป็นของผสม เมื่อถึงคราวแตกดับก็ต้องแตกดับ
หลวงปู่หลิวเคยปรารภกับลูกหลานว่าเกิดที่หนองอ้อก็อยากตายที่หนองอ้อ และหากว่าถึงเวลาที่ท่านต้องจากไปก็อย่าได้หน่วงเหนี่ยวท่านไว้ เพราะวัฏสงสารเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์
ในค่ำคืนวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2543 เวลา 20.35 น. หลวงปู่หลิวได้ละสังขารอย่างสงบท่ามกลางลูกหลานที่คอยมาดูใจเป็นครั้งสุดท้าย ที่กุฏิของท่าน วัดหนองอ้อ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมอายุ95 ปี 74 พรรษา
ที่มา : https://chalamnoi.wordpress.com/2015/04/27/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%93%E0%B8%BA%E0%B8%93/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น