ประวัติสุนัขสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่



 


ต้นกำเนิดฟิล่า
          ในอดีตฟิล่าไม่ใช่สุนัขสำหรับคนทั่วไป แต่ฟิล่าถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นสุนัขใช้งานขนาดใหญ่และแข็งแรง เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกฝรั่งนักล่าอาณานิคมในประเทศบราซิล ฟิล่ากลุ่มแรกที่ถูกบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ปีค.ศ.1671 ยังไม่มีใครรู้ต้นตอที่แท้จริงของฟิล่าเหล่านี้ อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่มีการตกลงกันว่า สุนัขสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ เป็นผลมาจากการผสม3สายพันธุ์พื้นฐานได้แก่ โอลด์อิงลิช บลูด๊อก(Ancient Bulldog) มาสทีฟ(Mastifsfs) แ ละ บลัดฮาวน์(Bloodhounds)
   
โอลด์อิงลิช บลูด๊อก(Ancient Bulldog) หรือ เอ็นเจลเซ่น ด๊อกเก้น(Engelsen Doggen) ถูกนำเข้ามาประเทศบราซิลในช่วงการรุกรานของชาวดัตช์ประมาณปีค.ศ.1630 พวกมันได้ถ่ายทอดลักษณะนิสัยที่ก้าวร้าว ดื้อดึง และหวงแหนอาณาเขตไปสู่ฟิล่า ในด้านลักษณะรูปร่างที่พวกมันได้ถ่ายทอดให้ฟิล่าคือ ลักษณะหูที่เรียกว่า "rose ear" สีขน และลักษณะตะโพกสูงกว่าหลัง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดของฟิล่า
ในอดีตมาสทีฟ(Mastiffs) ถูกใช้ในการสงครามและกีฬาล่าสัตว์ สำหรับอิทธิพลของมาสทีฟที่ถ่ายทอดไปยังฟิล่าอย่างเห็นได้ชัดคือ รูปร่างที่ใหญ่โตมั่นคง ศีรษะ. ใหญ่ คอสั้น และตะโพกโค้ง มาสทีฟและฟิล่ามีสีขนพื้นฐานเหมือนกัน และหน้าดำด้วย
บลัดฮาวน์(Bloodhounds)ถูกนำเข้ าประเทศบราซิลในปีค.ศ.1800 เนื่องจากมันมีชื่อเสียงในด้านการดมกลิ่น ติดตามร่องรอยได้ดีเยี่ยม มันได้ถ่ายทอดความสามารถในการดมกลิ่น หนังย่นมาก ริมฝีปากย้อย และเหนียงคอห้อยให้กับฟิล่า อีกทั้งเสียงร้องของบลัดฮาวน์ก็ถ่ายทอดไปยังฟิล่าด้วย
ยังมีทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวกับต้นกำเนิดฟิล่าได้บันทึกไว้ว่า นักล่าอาณานิคมชาวโปรตุเกสได้นำสุนัขเฝ้าฝูงสัตว์พันธุ์ฟิล่า เทอไซเร็น(Fila Terceirense, ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว) จากเกาะเอโซเรส( Azores Islands) เข้ามายังประเทศบราซิล มันได้ถ่ายทอดความสามารถในการเฝ้าฝูงสัตว์และลักษณะอื่นๆไปสู่ฟิล่า บราซิลเลียโร่ โดยเฉพาะเรื่องหางบิดทำให้ฟิล่าเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว ลักษณะนี้ทำให้บางครั้งฟิล่าถูกเรียกว่า " เจ้าหางงอ(crooked tail or broken tail) ในประเทศบราซิล
ประมาณปีค.ศ.1930 สุนัขพันธุ์เกรทเดนกำลังเป็นที่นิยมมากในประเทศบราซิล แม้ว่าฟิล่าเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีแล้วในเวลานั้น แต่ผู้เพาะพันธุ์บางคนพยายามผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเกรทเดนกับฟิล่า การพยายามผสมข้ามสายพันธุ์นี้เป็นการทำลายและทำให้ลักษณะนิสัยของฟิล่าผิดเพ ี้ยนไป
ในปีค.ศ.1968 ดร.เออร์วิน รัทแซม(Dr.Erwin Rathsam) ดร.เปาโล ซานโตส ครูซ(Dr.Paulo Santos Cruz) แ ละ ดร.โจ เอ็บเนอร์(Dr.Joao Ebner) ไ ด้ร่วมมือกันเขียนลักษณะมาตรฐานสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ขึ้นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ และเป็นครั้งแรกที่มีฟิล่าขึ้นประกวดในบราซิลและใช้มาตรฐานนี้ในการตัดสิน แต่ ณ เวลานั้นยังมีฟิล่าอีกมากที่ไม่มีใบพันธุ์ประวัติและถูกใช้งานอยู่ในฟาร์มปศ ุสัตว์เท่านั้น
องค์กร The Federation cynologique Internationale(FCI) ได้ขึ้นทะเบียนรับรองสุนัขสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่อย่างเป็นทางการในปีค.ศ.1968 มาตราฐานสายพันธุ์นี้ได้ถูกนำไปใช้ในประเทศแถบยุโรปได้แก่ อังกฤษ ฮอลแลนด์ และอิตาลี มาตราฐานนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ และแล้วในปีค.ศ.1976 ได้จัดให้มีการประชุมเกี่ยวกับฟิล่าขึ้นเป็นครั้งแรกในบราซิล และได้มีการพิจารณามาตรฐานสายพันธุ์กันใหม่ในการประชุมนี้ ประชากรฟิล่าค่อยขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งปีค.ศ.1982 ฟิล่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศบราซิลและมีฟิล่าที่ขึ้นทะเบียนอย่ างเป็นทางการมากถึง8,087 ตัว
ในปีค.ศ.1983 ได้มีการจัดตั้งสภาแห่งชาติขึ้นในเมืองริโอ เดอ จานีโร( Rio de Janeiro) มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดวิธีการฝึกฟิล่าและพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานสายพันธุ์ ฟิล่า ทำให้ได้ข้อมูลมาตรฐานเพิ่มมากขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ สำหรับมาตรฐานใหม่นี้ได้กลายเป็นมาตรฐานสากลในวันที่1 มกราคม ค.ศ.1994 และใช้มาจนถึงทุกวันนี้วัตถุประสงค์แรกเริ่มในการเพาะพันธุ์ฟิล่า
เหล่านักล่าอาณานิคมในช่วงแรกต้องการสุนัขเพื่อใช้งานหนักในฟาร์ม ใช้อารักขา ใช้ล่าสัตว์ และเป็นเพื่อนที่จงรักภักดี ลักษณะทั้งหมดนี้สามารถพบได้ในสุนัขพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ในยุคอาณานิคมของประเทศบราซิลมีการทำไร่อ้อยกันอย่างกว้างขวาง ได้มีการนำพวกทาสชาวแอฟริกันเข้ามาบราซิลประมาณ30,000ค นต่อปี เพื่อเป็นคนงานในไร่อ้อย ฟิล่าถูกใช้เป็นยามเฝ้าทาสเหล่านี้ไม่ให้หลบหนี ถ้าทาสคนใดหลบหนี ฟิล่าจะใช้ในการสะกดรอยตามและจับตัวไว้ คำว่า" ฟิล่า(fila)" เป็นภาษาโปรตุเกสโบราณซึ่งแ ปลว่าการจับกุม ยุคทาสในบราซิลสิ้นสุดลงในปีค.ศ.1888 แต่ฟิล่ายังคงทำหน้าที่อื่นต่อไป
ฟิล่ายุคแรกเป็นสุนัขล่าสัตว์ ฟิล่าถูกใช้ในการล่าสัตว์ใหญ่มานานหลายศตวรรษเช่น หมีป่าและเสือดาว เป็นต้น ฟิล่ามีปัญหาเล็กน้อยเมื่ออยู่ในป่าทึบของบราซิลเนื่องจากถูกรบกวนจากพวกยุง และแมลงต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่า ฟิล่านำความชำนาญในการล่าสัตว์มาใช้ในทุ่งกว้าง ปกป้องฝูงปศุสัตว์และอาณาเขตของเจ้าของ
ในทุ่งกว้างเหล่านี้มีฟิล่าเป็นจำนวนมาก ไม่เพียงแต่ใช้เฝ้าฝูงปศุสัตว์เท่านั้น แต่ยังใช้ควบคุมฝูงสัตว์อีกด้วย สุนัขที่ซื่อสัตย์และกำลังมากมีความจำเป็นที่จะใช้ในการควบคุมฝูงปศุสัตว์ใน พื้นที่เปิดของบราซิล ฟิล่ามีสัญชาตญาณในการต้อนฝูงสัตว์โดยธรรมชาติมากเท่าๆกับความสามารถในการเป ็นสุนัขอารักขา
ตามธรรมชาติแล้วฟิล่าไม่ชอบคนแปลกหน้า ควบคู่ไปกับความเลื่องลือในการจงรักภักดีต่อเจ้าของ ทำให้มันเป็นสุนัขอารักขาสำหรับผู้คนในบราซิล เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนจำนวนมากเริ่มย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง ซึ่งฟิล่าก็ตามเจ้าของไปด้วย ความดุร้ายต่อพวกหัวขโมยทำให้มันเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมของเจ้าของ
บ้ านในเมืองต่างๆ ปัจจุบันนี้ฟิล่ายังคงแสดงลักษณะนิสัยที่ดุต่อคนแปลกหน้าเหมือนเดิมและเป็น
ส ุนัขอารักขาที่ได้รับความนิยมมากการขยายตัวของฟิล่านอกประเทศบราซิล
.
ประเทศแรกในยุโรปที่สนใจฟิล่าคือประเทศเยอรมัน ในปีค.ศ.1953 เจ้าชายอัลเบ็ท วอน บาเยิร์น ได้ทรงนำเข้าฟิล่าตัวแรกสู่เยอรมัน กล่าวได้ว่าเจ้าชายเริ่มสนใจฟิล่าในช่วงการท่องเที่ยวในบราซิล และต่อมาเจ้าชายทรงนำเข้าฟิล่าเพศเมียอีกหลายตัว ดังนั้นประชากรฟิล่าเริ่มเพิ่มมากขึ้นในเยอรมัน และประเทศอื่นๆเริ่มให้ความสนใจ เมื่อFCI ขึ้นทะเบียนรับรองสุนัขพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่อย่างเป็นทางการในปีค.ศ.1968 มาตรฐานสายพันธุ์ได้ถูกนำไปใช้ในประเทศอังกฤษ ฮอลแลนด์ และอิตาลี
ในช่วงปี1980-1989 เป็นทศวรรษที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์ของฟิล่านอกประเทศบราซิล หนังสือเกี่ยวกับฟิล่าที่ดีมากเล่มหนึ่งถูกเผยแพร่ในปีค.ศ.1981 ชื่อหนังสือคือ "Grande Livre do Fila Brasileiro" เ ขียนโดย Procopio fo Valle ซึ่งมีข้อมูลฟิล่าละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา หนังสือนี้จำนวนครึ่งหนึ่งส่งขายไปยังต่างประเทศ
ในช่วงปี1980-1989 ฟิล่าจำนวนหลายร้อยตัวถูกส่งไปประเทศต่างๆทั่วโลกรวมถึง ไนจีเรีย ญี่ปุ่น และแอฟริกาใต้ด้วย ฟิล่าได้รับความนิยมไปทั่วยุโรป ความสนใจนี้เริ่มขึ้นในเนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส เสปน และฮังการี ตามมาด้วยเบลเยี่ยม และสวีเดน มันเป็นเวลาเดียวกัน(ค.ศ.1979)กับลูกฟิล่าคอกแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอเ มริกา ความนิยมของฟิล่าได้แพร่กระจายไปยังประเทศเหล่านี้และมีผู้หลงใหลเสน่ห์ของฟ ิล่ามากขึ้นเรื่อยๆ
เอกสารอ้างอิง:  Fila Brasileiro(Special Limited Edition) by Yvette Uroshevich
ขอขอบคุณคุณพงศ์พันธ์ สุดยอดบรรตที่เอื้อเฟื้อข้อมูลจาก.......โฮแกนฟิล่า

 



ลักษณะมาตรฐานสุนัขพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ของ CAFIB

มาตรฐานสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ด้านล่างนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Dr. Paulo Santos Cruz และได้รับการรับรองจาก CAFIB ซึ่งเป็นข้อมูลจากการตัดสินและวิเคราะห์ฟิล่า เพื่อต่อต้านการผสมข้ามสายพันธุ์
                                         ฟิล่า บราซิลเลียโร่                 
ฟิล่า บราซิลเลียโร
ลักษณะทั่วไป(General Appearance) อยู่ในกลุ่มของสุนัขสายพันธุ์โมลอสเซอร์คือ รูปร่างใหญ่ หนา พร้อมด้วยกระดูกที่แข็งแรง มองดูสง่างาม เต็มไปด้วยความแข็งแกร่งและมีพลัง ต้องไม่ดูเทอะทะ เฉื่อยชา หรือ ซึมเซา
รูปร่าง(Figure) ลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนา แต่ดูกลมกลืนและสมดุลได้สัดส่วน ลักษณะของเพศผู้และเพศเมียแสดงความแตกต่างให้เห็นอย่างชัดเจน
นิสัย(Temperament) กล้าหาญ มั่นใจ และมุ่งมั่น ดุกับคนแปลกหน้า และรักเจ้าของและครอบครัวมาก ดังนั้นฟิล่าจึงเป็นสุนัขอารักขาที่ดีมากเมื่ออยู่ในเมือง เป็นสุนัขเฝ้าฝูงปศุสัตว์ที่ยอดเยี่ยมในฟาร์ม และเป็นสุนัขนักล่าด้วย เนื่องจากลักษณะนิสัยนี้ ในงานประกวดฟิล่าจึงไม่อนุญาตให้กรรมการ(คนแปลกหน้า)แตะต้องตัวเขา และถ้าฟิล่าจู่โจมกรรมการ ให้ถือว่าเป็นสัญชาตญาณไม่ใช่ความผิดของเขา การทดสอบลักษณะนิสัยนี้ ต้องใช้สำหรับฟิล่าที่มีอายุ1ปีขึ้นไป และการจู่โจมฟิล่าต้องเข้าทางด้านข้างหรือด้านหน้า พร้อมทั้งต้องควบคุมฟิล่าด้วยสายจูงตลอด
ระบบประสาท(Nervous System) นิ่ง แจ่มใส แสดงออกถึงความมุ่งมั่นและมั่นใจในตัวเองแม้ว่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แปลก
ไปจากเดิม ต้องไม่ตกใจเมื่อได้ยินเสียงดังเช่น เสียงยิงปืน แต่การยิงปืนนั้นต้องอยู่ห่างจากฟิล่าอย่างน้อย5เมตร และต้องทดสอบกับสุนัขที่มีอายุ1ปีขึ้นไปเท่านั้น
การเดิน(Motion Walk) ก้าวเดินเป็นจังหวะ ยาว และยืดหยุ่น แต่ดูหนักแน่นคล้ายการเดินของเสือ ขณะที่เดิน ศีรษะของฟิล่าต้องก้มต่ำลงมาอยู่ระดับเดียวกับข้อศอกและเส้นหลัง ลักษณะเด่นในการก้าวเดินของฟิล่าคือ เขาจะก้าวเท้าหน้าและหลังของด้านเดียวกันไปข้างหน้าก่อนแล้วค่อยสลักกับอีกด ้านตรงข้าม คล้ายการก้าวเดินของอูฐ
(Camel Step) ด้วยเหตุนี้ขณะที่ฟิล่าก้าวเดินทำให้เกิดการแกว่งสลักกันของหน้าอกและตะโพก พร้อมกับหางที่ยกสูงขึ้น
การวิ่ง(Trot) ช่วงก้าวกว้าง ดูนิ่มนวลและมีพลัง
การวิ่งควบ(Gallop) ฟิล่า เป็นสุนัขรูปร่างใหญ่และหนัก ที่วิ่งได้เร็วมากและทรงพลัง เมื่อฟิล่าเคลื่อนไหวสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า จุดต่อของขาและกระดูกสันหลังเชื่อมต่อกันอย่างยืดหยุ่นซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ของสายพันธ์ ด้วยเหตุนี้ฟิล่าจึงสามารถเปลี่ยนทิศทางได้ทันทีและรวดเร็วในขณะวิ่งควบ
ศึรษะ(Head) ศีรษะใหญ่และหนา ช่วงจมูกยาวเท่าๆกับกะโหลก เห็นจมูกเด่นชัด หูใหญ่และตก เนินลาดดั้งจมูกต่ำ มองด้านหน้าศีรษะกว้าง แข็งแรง ช่วงจมูกยื่น กะโหลกกว้างและเห็นเป็นเส้นโค้งน้อยๆด้านข้าง
กะโหลก(Skull) เห็นเป็นเส ้นโค้งจากด้านล่างของช่วงจมูกไปด้านบน มองจากด้านหน้าเต็ม ดูกว้าง ใหญ่และโค้งน้อยๆ มองด้านข้างจะเห็นเป็นเส้นลาดราบรื่นจากด้านบนลงมาถึงจมูก โดยมีจุดหักเหเล็กน้อยบริเวณดั้งจมูก
ดั้งจมูก(Stop) มองด้านหน้า เห็นเป็นร่องอยู่ระหว่างลูกตาทั้งสอง ราบลื่นขึ้นไปถึงกลางกะโหลก มองด้านข้างจะเห็นได้ชัดเจนกว่า ซึ่งอยู่ระดับเดียวกับลูกตา
หู(Ears) หูหนา ใหญ่ และตก โคนหูกว้างมาก ขอบด้านหน้าของโคนหูสูงกว่าด้านหลัง หูอยู่ที่ส่วนท้ายของกะโหลก เมื่อฟิล่าอยู่ในสภาวะผ่อนคลายหูจะอยู่ในระดับต่ำ แต่เมื่อตื่นตัวหูจะอยู่ในระดับสูง
ตา(Eyes) มองดูเศร้าๆ แต่มีพลังและแน่วแน่เมื่อตื่นตัว ตามีขนาดกลางถึงใหญ่ รูปร่างคล้ายไข่ ลึกและกว้าง มีสีน้ำตาลเข้นคล้ายลูกเกาลัดไปจนถึงสีเหลือง เนื่องจากฟิล่ามีหนังย่น ฟิล่าบางตัวหนังตาตกซึ่งไม่ใช่ข้อบกพร่อง เพียงแค่ทำให้มองดูเศร้าเท่านั้น
ช่วงจมูก(Muzzle) เมื่อมองด้านข้าง ช่วงจมูกยาวเท่าๆกับความยาวของกะโหลก เป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าและกว้าง แต่ความกว้างของช่วงจมูกนี้ต้องน้อยกว่าความยาว เส้นด้านบนต้องตรงและลากเอียงต่ำมาถึงจมูก จากนั้นเป็นเส้นโค้งกว้างๆห้อยลงมาด้านล่างก็คือริมฝีปากบนนั้นเอง ริมฝีปากบนหนาและห้อยปกคลุมริมฝีปากล่าง ซึ่งริมฝีปากล่างติดแน่นกับขากรรไกรด้านหน้าแต่ด้านข้างจะหย่อนมองดูขอบปากด ้านข้างเว้า เมื่อมองด้านหน้าตรงจะเห็นช่วงจมูกนูนออกมา โคนกว้างปานกลางซึ่งทำให้รากฟันแข็งแรงดี มองจากใต้ตาลงมาจะเห็นเป็นแนวยาวลงมาด้านล่างโดยจะแคบมากตอนกลางแล้วค่อยกว้ างออก
จมูก(Nose) รูจมูกกว้าง สมส่วน มีสีดำ
ฟันและการกัด(Teeth and Bite) ขนาดฟันค่อนข้างเล็ก แต่แข็งแรงและขาวสะอาด ฟันบนด้านหน้ามีขนาดกว้างที่โคนและเรียวแหลมที่ปลาย เขี้ยวฟิล่าแข็งแรงมากและเห็นได้ชัดเจน ลักษณะการกัดเหมือนการตัดของกรรไกรคือฟันล่างเบียดตัวกับพื้นที่ด้านในของฟั นบน
คอ(Neck) โดยทั่วไปอยู่ระดับต่ำ รอบคอกว้างเป็นพิเศษและมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง แต่คอสั้น ต้นคอด้านบนนูนเล็กน้อย ใต้ลำคอมีหนังย่น ห้อยเป็นแนวยาวขนานกัน1คู่
ลำตัว(Trunk) แข็งแรง กว้างและหนา ช่วงหน้าอกยาวกว่าช่วงท้อง
หน้าอก(Thorax) หน้าอกที่ โครงสร้างของซี่โครงที่สมดุลดี ทำให้หน้าอกกว้างและหนา แต่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนตัวของหัวไหล่ ซี่โครงต้องลงต่ำถึงช่วงล่างของข้อศอก
สีข้าง(Flank) สีข้างสั้นและบางกว่าช่วงหน้าอก มันต้องโค้งได้สัดส่วนและแข็งแรง ทำให้เห็นได้ชัดเจน มันต้องแคบกว่าช่วงหน้าอกและตะโพกโดยที่ไม่แขม่วท้อง
เส้นบนหลัง(Upper Line) หลังต่ำและกว้างเห็นได้ชัดเจน เส้นหลังนี้ประกอบด้วยเส้นตรง2เส้นคือ เส้นหนึ่งลากยาวไปถึงจุดต่ำสุดของหลัง ส่วนอีกเส้นหนึ่งลากจากจุดต่ำสุดของหลังยกสูงขึ้นไปถึงตะโพก
เส้นใต้ท้อง(Lower Line) จากหน้าอกลากเส้นต่ำลงมาเป็นเส้นโค้งที่สมบูรณ์ จากนั้นเป็นเส้นตรงขนานไปกับพื้นจนถึงส่วนปลายของกระดูกหน้าอกและจากจุดนี้เส้นจะโค้งขึ้นไปถึงปลอกอวัยวะสืบพันธุ์ในเพศผู้ และท้องน้อยในเพศเมีย
ช่วงหัวไหล่(Fore Quarters-Shoulders) หัวไหล่ประกอบด้วยกระดูก2ชิ้นขนาดเท่าๆกันคือ กระดูกสะบัก(Scapula)และกระดูกเชิงกราน(Sumerus) กระดูกสะบักนี้ทำมุม45องศากับแนวนอน ส่วนกระดูกเชิงกรานทำมุมฉากกับพื้น ข้อต่อของกระดูกทั้งสองอยู่ที่หัวไหล่ซึ่งต้องอยู่ระดับเดียวกับหน้าอก แต่คล้อยไปด้านหลังนิดหน่อย โครงสร้างหัวไหล่ที่ดีควรอยู่กึ่งกลางระหว่างหลังและกระดูกหน้าอก
ขาหน้า(Legs) กระดูกขาตรงและแข็งแรง ข้อเท้าสั้นโค้งเล็กน้อย
เท้าหน้า(Feet) เท้าประกอ บด้วยนิ้วเท้าที่แข็งแรงและสมดุล ไม่ชิดกัน ยึดด้วยฝ่าเท้าที่หนาและกว้าง นิ้วเท้าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเมื่อชี้ไปข้างหน้า ส่วนใหญ่เล็บเท้าแข็งแรงและมีสีดำแต่อาจเป็นสีขาวก็ได้ เมื่อลากเส้นตั้งฉากจากหลังต้องผ่านข้อศอกและเท้าด้วย
ตะโพก(Hind Quarters-Rump) ตะโพกเกิดจากกระดูกเชิงกรานที่กว้างและยาวทำมุม30องศากับแนวนอน มองเห็นเป็นเส้นโค้งราบลื่นจากต้นถึงปลายตะโพก เมื่อมองจากด้านท้าย ตะโพกมีขนาดกว้างเท่าๆกับหน้าอกในเพศผู้ และในเพศเมียตะโพกอาจกว้างกว่าหน้าอกได้
ต้นขาหลัง(Thigh) ต้นขาเก ิดจากกระดูกขาอ่อนทำมุมประมาณ60องศากับพื้นและทำมุม90องศากับกระดูกเชิงกราน มันมีขนาดใหญ่ ขอบนูน เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ต่อลงมาจากกระดูกเชิงกราน
ขาหลัง(Leg) โครงสร้างหลักคือกระดูกหน้าแข้ง ทำมุมกับหัวเข่ายื่นไปด้านหลัง ข้อเท้าเห็นได้ชัดและแข็งแรง กระดูกหลังเท้าโค้งและสูงกว่ากระดูกนิ้วเท้า เมื่อมองจากด้านท้าย ขาหลังทั้งสองต้องขนานกันและต้นขาด้านในต้องมีกล้ามเนื้อชัดเจน
เท้าหลัง(Feet) เท้าหลังรูปร่างคล้ายรูปไข่มากกว่าเท้าหน้า ต้องไม่มีโรคเกี่ยวกับเชื้อรา
หาง(Tail) เมื่อฟิล่าตื่นตัว หางจะยกสูงขึ้นแต่ต้องไม่ม้วนมาบนหลัง ช่วงปลายหางโค้งคล้ายตาขอ(Hook) แ ต่ต้องไม่บิดเป็นเกลียว เมื่อฟิล่าผ่อนคลายหางตกและตรงลงมาถึงข้อเท้า เมื่อมองด้านท้าย โคนหางต้องกว้างและแข็งแรงเป็นแนวยาวค่อยๆเล็กลงเรื่อยๆจนถึงปลายหาง
ผิวหนัง(Skin) หนังเป็นลักษณะที่สำคัญมากของสายพันธุ์ฟิล่า หนังต้องหนาย่นปกคลุมลำตัว โดยเฉพาะที่คอ ทำให้เห็นเป็นเหนียงใต้ลำคอ บางครั้งอาจเห็นเหนียงนี้ยาวต่ำไปถึงหน้าอกและท้อง ฟิล่าบางตัวมีหนังย่นที่ด้านข้างศีรษะ หลัง และหัวไหล่ด้วย เมื่อฟิล่าผ่อนคลายที่ศีรษะต้องไม่มีรอยย่น เมื่อฟิล่าตื่นตัวการหดตัวของหนังที่กะโหลกทำให้หูยกตัวสูงขึ้น ศีรษะด้านหน้าต้องไม่มีรอยย่น
เส้นขน(Fur) ขนสั้นแบนราบ เส้นขนสากและหนา ลักษณะนี้สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ง่าย ขนที่หลังหนากว่าส่วนอื่นเล็กน้อย
สี(Color) สีที่ถูกต้องมีดังต่อไปนี้
  • โทนสีเหลืองทั้งหมด จากสีน้ำตาลแดงถึงสีแดง
  • โทนสีเหลืองทั้งหมด จากสีน้ำตาลแดงถึงสีแดงผสมสีเทา
  • มี2สีในตัวเดียวคือ มีสีพื้นทั้งตัวแต่มีสีดำที่หน้าและหู หรือมีสีดำเฉพาะที่หน้า
  • สีลายเสือ โดยมีสีพื้นเป็นสีแรกแล้วมีสีดำพาดเป็นเส้นๆ สีดำที่พาดเป็นเส้นบาง
  • ความกว้างเท่ากันจากต้นถึงปลายแต่ความยาวต่างกัน และกระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบทั่วทั้งตัว
  • สีลายเสือกับหน้าและหูดำ
  • มีแถบสีขาว ซี่งสีขาวนี้ต้องเป็นสีขาวล้วนปราศจากสีดำผสม
  • สีเทาอ่อนหรือสีเงิน
  • สีขาวตามร่างกาย โดยทั่วไปแล้วจะมีที่หน้าอกหรือที่หาง และไม่บ่อยนักที่มีสีขาวที่คอและช่วงจมูกขึ้นไปถึงศีรษะ
ความสูง(Height) วัดจากพื้นถึงหัวไหล่ เพศผู้สูง 65 - 70 เซนติเมตร เพศเมียสูง 60 - 65 เซนติเมตร
น้ำหนัก(Weight) เพศผู้ประมาณ 50 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 40 กิโลกรัม
ข้อบกพร่อง(Faults) ลักษณะต่างๆที่ผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานนี้
ข้อบกพร่องทั่วไป(General Disqualifications)
  • หูตัด
  • หางกุด
  • จมูกมีสีเนื้อ
  • คางยื่นออกมาด้านหน้าของช่วงจมูก
  • ฟันไม่ครบ
  • มีจุดสีอื่นในสีขาว
  • สีพื้นขาวกับจุดสีดำ
  • ดำเป็นมันเงา
  • สีดำอย่างกระดานชนวน
  • สีดำด้านหรือดำเงาและมีจุดสีขาว
  • สีเทาแบบหนู
  • สีเทาแกมน้ำเงินอ่อน
  • สีพื้นเทาและมีจุดสีดำ
  • ช่องปากเป็นมุมแหลม
  • ไม่มีปฏิกิริยาแสดงออกในการจู่โจม
  • หวาดกลัวเสียงปืน
ข้อบกพร่องจากการผสมข้ามสายพันธุ์(Mixbreeding Disqualifications)
  • นี้คือรายละเอียดข้อบกพร่องส่วนใหญ่ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ มันถูกแบ่งตามลักษณะทั่วไปหรือศีรษะ เป็นต้น เนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมนี้แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้กรรมการสามารถพบข้อบกพร่องนี้ได้ในสนามประกวดและต้องตัดสิทธิ์สุนัขจาก การแข่งขันทันที
  • มีฟิล่าหลายตัวที่มีข้อมูลลักษณะทางกายภาพตรงตามการผสมข้ามสายพันธุ์ กรรมการต้องไม่แปลกใจกับความจริงเหล่านี้ เพราะว่ามันเป็นเพียงหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการขยายตัวของการผสมฟิล่าข้ามสายพันธุ์กับสุนัขอื่นอีกหลายพันธุ์ไม่ใช่แค่พันธุ์เดียว
  • ฟิล่าผสมนโปเลียนมาสทีฟ(NAPOLITAN MASTIFF MIXBREEDINGS):
    • รูปร่างมั่นคงแข็งแรง ขาสั้น อกกว้าง เส้นด้านบนเว้าเป็นผลมาจากตะโพกสูงเรียบและหางอยู่ระดับสูง หางสั้น บิดเป็นเกลียวและม้วนขึ้นบนหลัง เส้นล่างจะโค้งตรงข้ามกัน คือนูนที่หน้าอกและเว้าที่ท้อง
    • กะโหลกกว้าง เป็นเส้นโค้งลงมาด้านข้างศีรษะคล้ายลูกบอล ช่วงจมูกมองดูแคบ หูสูง ดั้งจมูกจัดตัวตามกระดูกด้านหน้า ซึ่งอยู่ระดับสูงที่ด้านหน้าศีรษะ ช่องปากเป็นมุมแหลม ดูจากรูป ช่วงจมูกลึกเท่าๆหรือใหญ่กว่าความยาว มองด้านหน้าแคบเห็นจมูกเต็มพื้นที่ ปราศจากส่วนโค้งเว้า หนังย่นไขว้กันที่ลำคอ มองดูแสดงออกถึงความเบื่อด้วยตาที่ปิดครึ่งหนึ่งและปากเปิดเห็นลิ้นด้านล่าง
    • สีดำด้าน สีเทาเป็นสีพื้น มีเส้นสีดำพาด สีเทาตะกั่ว
  • ฟิล่าผสมเกรทเดน(GREAT DANE MIXBREEDINGS):ฟิล่าผสมเกรทเดน
    • รูปร่างสี่เหลี่ยมยาวๆ ขายาว คอยาว และเหนียงที่ใต้คอมีน้อยมาก เนื่องจากกระดูกหน้าอกสั้นทำให้เส้นด้านล่างหดตัวเข้ามา สีข้างใหญ่ การเคลื่อนไหวมั่นคงและข้อต่อมั่นคง ตะโพกตรงไม่โค้ง หางผอม ไหล่เปิด และอยู่ใต้ลำคอ
    • ศีรษะแคบ จมูกกว้างและใหญ่ ศีรษะไม่ลึกมาก กะโหลกแบน มีดั้งเล็กน้อย หูแคบและบางอยู่ในระดับสูง ตาออกสีฟ้า ช่วงจมูกยาว เส้นล่างของลำตัวขนานกับเส้นบน
    • สีดำเป็นมันเงา สีเทาหนูหรือสีเทาแกมน้ำเงินอ่อน สีพื้นเทาและมีจุดสีดำ สีพื้นขาวและมีจุดสีดำหรือเทา หรือมีจุดทั้งสองสี เส้นขนบางชิดติดลำตัว
  • ฟิล่าผสมอิงลิชมาสทีฟ(ENGLISH MASTIFF MIXBREEDINGS):
    • ฟิล่าผสมอิงลิชมาสทีฟรูปร่างใหญ่ ลำตัวคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เส้นหลังตรง หลังสูงกว่าตะโพก
    • เมื่อมองด้านหน้าเต็ม ศีรษะกว้าง หูเป็นรูปตัววี เล็ก บาง อยู่ระดับสูงถึงด้านบนกะโหลกและมีสีดำเป็นส่วนใหญ่ ศีรษะเป็นรูปทรงกลม ดั้งจมูกชันอย่างรวดเร็วตามกระดูกส่วนหน้า หนังย่นที่ด้านหน้าศีรษะ ช่วงจมูกยาวเป็นครึ่งหนึ่งของกะโหลก กว้างที่โคนแต่เล็กลงที่ส่วนปลาย ลักษณะการกัดเหมือนการหนีบของก้ามปู คางยื่นอย่างเห็นได้ชัด หน้าดำ
    • สีพื้นสีเหลือง คาดด้วยจุดสีดำรูปทรงไข่คล้ายรอยเปื้อน สีพื้นฐานมีพื้นที่เท่าๆกับสีของรอยเปื้อน
    • จาก......Hogan fila คุณพงศ์พันธ์ุ สุดยอดบรรพต


 
ส่วนต่างๆของฟิล่า

ลักษณะทั่วไป(General Conformation) ฟิล่ามีลักษณะหลักของสายพันธุ์โมลอสเซอร์(Molossiod breed) มีกระดูกที่ทรงพลัง โครงสร้างร่างกายคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดูกระชับ ได้สัดส่วนและกลมกลืน แม้ว่าจะมีรูปร่างที่ใหญ่โต แต่ฟิล่าก็มีความกระฉับกระเฉงมากอย่างเห็นได้ชัด ฟิล่าเพศเมียต้องแสดงสัญชาตญาณความเป็นแม่ ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนกับฟิล่าเพศผู้
ลักษณะและนิสัย(Character and Temperament) ความอดทน ความมั่นใจ และความกล้าหาญอย่างยิ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยฟิล่า เขาเชื่องและอ่อนน้อมต่อเจ้าของและครอบครัว ตลอดจนมีความอดทนต่อเด็กๆในครอบครัวอย่างมาก ความจงรักภักดีของฟิล่ากลายเป็นวลีติดปากชาวบราซิลว่า “ จงรักภักดีเหมือนกับฟิล่า (Faithful as a Fila)” ฟิล่าคอยที่จะทำกิจกรรมร่วมกับเจ้านายอยู่เสมอ ฟิล่ามีนิสัยไม่ไว้ใจ(ojeriza) คนแปลกหน้า ในสภาวะแวดล้อมใหม่หรือมีเสียงแปลกๆ เขาจะแสดงอารมณ์ที่สงบนิ่ง มั่นใจในตัวเอง และไม่ตื่นตกใจ ฟิล่าเป็นสุนัขอารักขาที่ยอดเยี่ยม เขาถูกใช้ในกีฬาล่าสัตว์และต้อนฝูงสัตว์
การเคลื่อนไหว(Movement) ฟิล่ามีการเดินที่ยืดหยุ่นและกระโจนได้ไกล การก้าวที่ลื่นไหลดูไปคล้ายการเคลื่อนไหวของแมว ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือการก้าวคืบ(PACE) โ ดยการก้าวด้วยขาหน้าและขาหลังด้านเดียวกัน ไปข้างหน้าและข้างหลังพร้อมกัน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ส่ายไปมาอย่างนิ่มนวล ขณะที่เดินฟิล่าจะก้มศีรษะจนต่ำกว่าระดับหลัง เขาวิ่งอย่างอิสระและนิ่มนวลด้วยการก้าวที่แข็งแรง ฟิล่าเป็นสุนัขที่รูปร่างใหญ่และแข็งแรง เมื่อเวลาที่เขาวิ่งควบจะเกิดความเร็วและทรงพลังมาก เนื่องจากลักษณะที่ดูผ่อนคลายของสายพันธุ์โมลอสเซอร์ ทำให้การเคลื่อนไหวของฟิล่าดูสง่างาม และมีความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการวิ่งได้อย่างรวดเร็ว
การแสดงออก(Expression) ในสภาวะที่ผ่อนคลาย ฟิล่าจะสงบนิ่ง สง่างาม และเต็มไปด้วยความมั่นใจ ไม่มีแสดงอาการเบื่อหรือเลื่อนลอย ในสภาวะตื่นตัว เขาจะแสดงความสนใจและตั้งใจอย่างมากออกมาทางสายตา
ศีรษะ(Head) ศีรษะของฟิล่า มีลักษณะใหญ่ หนา และหนัก ได้สัดส่วนกับขนาดของร่างกาย เมื่อมองจากด้านบน จะเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูคือมีด้านขนานกันหนึ่งคู่ เมื่อมองทางด้านข้าง ช่วงจมูกและหัวกะโหลกจะมีความยาวเท่าๆกันในอัตราส่วน 1 : 1
กะโหลก(Skull) เมื่อมองด้านข้าง จะเห็นกะโหลกฟิล่าเป็นเส้นโค้งจากดั้งจมูกถึงท้ายทอย ซึ่งจะโหนกนูนเป็นพิเศษในลูกสุนัข เมื่อมองด้านหน้า กะโหลกจะดูกว้าง ใหญ่ และมีเส้นโค้งด้านบน เส้นด้านข้างเกือบเป็นแนวตั้ง
                        
ดั้งจมูก-แนวลาดช่วงหน้าผาก(Stop-Frontal Depression) ถ้ามองด้านหน้าจะเห็นไม่ชัด แต่จะมีรอยย่นอยู่บ้าง เมื่อมองด้านข้าง ดั้งจมูกจะต่ำ โค้ง และอยู่ระดับเดียวกับขนตา
ช่วงจมูก(Muzzle) ช่วงจมูกฟิล่ามีลักษณะแข็งแรง กว้าง และยาว สอดรับกับส่วนกะโหลก เมื่อมองด้านบน ช่วงจมูกอยู่ต่ำกว่าดวงตา เป็นแนวยาวและค่อยๆกว้างขึ้นถึงส่วนหน้า เมื่อมองด้านข้าง จมูกเป็นเส้นตรงยาวออกไปเรียกว่า ” จมูกโรมัน” เส้นด้านหน้าจมูกจะได้ฉากและก่อตัวเป็นเส้นโค้งสวยงามลงมาใต้จมูก ด้วยริมฝีปากบนซึ่งหนาและห้อยลงมาปกคลุมริมฝีปากล่าง ทำให้เส้นด้านล่างของช่วงจมูกเกือบจะขนานกับเส้นด้านบน ขอบริมฝีปากเห็นได้ชัดเจนเสมอ ช่วงจมูกกว้างมากแต่น้อยกว่าความยาว เมื่อมองด้านหน้าต้องเห็นขอบริมฝีปากเป็นรูปตัวยูคว่ำ
จมูก(Nose) ความกว้างของจมูกต้องน้อยกว่าความกว้างของขากรรไกร สีของจมูกต้องเป็นสีดำ
ดวงตา(Eyes) ดวงตามีขนาดกลางถึงใหญ่ รูปร่างคล้ายผลอัลมอนด์ ห่างกันพอเหมาะ มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีเหลืองกลมกลืนไปกับสีขน เนื่องจากมีหนังห้อยหย่อนอย่างมากทำให้ดึงหนังตาห้อยต่ำ แต่ไม่ไช่ข้อบกพร่องเพียงแต่ทำให้ดูหน้าเศร้าซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของฟิล่า
ใบหู(Ears) ใบหูมีลักษณะห้อย ใหญ่ หนา และรูปร่างคล้ายตัววี โคนหูกว้างและเรียวที่ปลายหู หูอยู่ที่ส่วนหลังของกะโหลกและโคนหูอยู่ระดับสายตาเมื่อฟิล่าอยู่ในภาวะผ่อนคลาย ในสภาวะตื่นตัวใบหูยกขึ้นสูงกว่าตำแหน่งเดิม ใบหูห้อยตกที่ข้างแก้มหรือบางครั้งเปิดไปด้านหลังทำให้มองเห็นภายในหูได้
ฟัน(Teeth) ฟันด้านข้างเรียงตัวยาวกว่าความกว้าง ฟันหน้าด้านบนมีฐานกว้างและคมที่ส่วนปลาย เขี้ยวฟิล่ามีความแข็งแรงมาก เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ การกัดมีหลักคล้ายการตัดของกรรไกร โดยฟันบนครอบฟันล่างเมื่อหุบปาก
              บน-มีเหนียง,ล่าง-ไม่มี           ซ้าย-ดี,ขวา-บกพร่อง
คอ(Neck) คอฟิล่าแข็งแรงเป็นพิเศษและมีกล้ามเนื้อมากจนทำให้ดูคล้ายคอสั้น ด้านบนคอมีลักษณะเป็นเส้นโค้งน้อยๆและสามารถเห็นคอแยกกับส่วนกะโหลกชัดเจน มีเหนียงใต้คอด้วย
เส้นหลัง(Topline) หลังฟิล่ามีลักษณะเป็นเส้นโค้ง โดยแยกเป็นแต่ละส่วนตามระยะห่างของกระดูกสะบัก หลังอยู่ต่ำกว่าระดับสะโพก และมองเห็นเป็นเส้นโค้งราบลื่นไปถึงสะโพก เส้นหลังจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีฟิล่าวิ่งหรือแกว่งตัว

ตะโพก(Croup) ตะโพกมีลักษณะกว้าง ยาว และทำมุมประมาณ30องศากับแนวนอนของเส้นหลัง ทำให้เห็นเป็นเส้นโค้งราบรื่น ระดับตะโพกอยู่สูงกว่าหลังเล็กน้อย เมื่อมองจากด้านหลังตะโพกมีขนาดกว้างเท่าๆกับหน้าอก ในฟิล่าเพศเมียตะโพกกว้างกว่านี้
ลำตัว(Body) ลำตัวฟิล่าแข็งแรง กว้าง และลึก ปกคลุมด้วยหนังหนาๆย่นๆ หน้าอกมีขนาดยาวกว่าช่องท้อง ความยาวของลำตัวเมื่อวัดจากหัวไหล่ถึงก้นมีความยาวมากกว่าความสูง10%
หน้าอก(Thorax) ซี่โครงที่หน้าอกอยู่ระหว่างหัวไหล่และยืดหยุ่นได้ดี หน้าอกกว้างและลึกต่ำถึงระดับข้อศอก หน้าอกของฟิล่าเด่นชัดมาก

ช่วงท้อง(Loins) ช่วงท้องฟิล่าสั้นกว่าและไม่ลึกเท่าหน้าอก ทำให้สามารถเห็นช่วงท้องและหน้าอกแยกกันอย่างชัดเจน ในฟิล่าเพศเมียมีช่วงท้องที่แข็งแรงกว่า เมื่อมองด้านบนช่วงท้องแคบกว่าหน้าอกและตะโพกแต่ดูสมบูรณ์และได้สมส่วน
เส้นใต้ลำตัว(Lower Line) หน้าอกยาวและขนานไปกับพื้น มีส่วนโค้งขึ้นเล็กน้อยแต่ต้องไม่เหมือนกับสุนัขวิ่งแข่งจำพวกเกรฮาวน์ที่มีรูปร่างผอมเพรียวมากๆ
ขาหน้า(Fore Legs) โครงสร้างของหัวไหล่ควรประกอบด้วยกระดูกสะบักและกระดูกขาหน้าท่อนบนซึ่งยาวเท่าๆกัน โดยกระดูกสะบักทำมุม 45 องศากับแนวพื้นดิน ส่วนกระดูกขาหน้าท่อนบนทำมุมฉากกับกระดูกสะบัก จุดที่กระดูกทั้งคู่เชื่อมต่อกันคือหัวไหล่ซึ่งต้องอยู่ระดับเดียวกับกระดูกต้นคอแต่เยื้องไปด้านหลังเล็กน้อย ฟิล่าที่รูปร่างดีควรมีหัวไหล่อยู่กึ่งกลางระหว่างข้อศอกกับหลัง เมื่อลากเส้นตรงจากส่วนหลังลงมา เส้นตรงนั้นควรตัดกับข้อศอกและตรงไปถึงเท้า ขาฟิล่าต้องมีกระดูกที่แข็งแรง ขาหน้าทั้งคู่ต้องขนานกันและตั้งตรงไปถึงส่วนโค้งของเท้า ความยาวของขาหน้าจากพื้นถึงข้อศอกควรยาวเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวจากพื้นถึงหลัง
เท้าหน้า(Fore Feet) นิ้วเท้าโค้งและแข็งแรง ไม่ชิดติดกันมากเกินไป ฝ่าเท้าหนา กว้าง และใหญ่ ลักษณะเท้าที่ดีต้องชี้ไปด้านหน้า เล็บเท้าเป็นสีดำสนิท แต่ถ้าเท้าและนิ้วเท้าเป็นสีขาว เล็บเป็นสีขาวได้
ขาหลัง(Hind Legs) กระดูกขาหลังแข็งแรงน้อยกว่ากระดูกขาหน้าแต่ไม่บอบบาง ต้นขาด้านบนมีลักษณะเป็นเส้นโค้งด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงซึ่งต่อมาจากกระดูกเชิงกราน ขาหลังทั้งคู่ขนานกัน โค้งเล็กน้อย และแข็งแรง
เท้าหลัง(Hind Feet) เท้าหลังมีลักษณะคล้ายรูปไข่มากกว่าเท้าหน้า แต่ลักษณะอื่นๆเหมือนกัน
หาง(Tail) ที่โคนหางกว้างมาก ค่อยๆเล็กลงช่วงกลางหาง และเรียวอย่างรวดเร็วเมื่อถึงส่วนปลาย เมื่อฟิล่าอยู่ในสภาวะตื่นตัว หางจะยกสูงขึ้นและโค้งมากเป็นพิเศษที่ส่วนปลาย หางต้องไม่ม้วนตัวอยู่บนหลัง
ความสูง(Height) วัดจากพื้นถึงหัวไหล่ ฟิล่าเพศผู้สูง 65 – 75 เซนติเมตร ฟิล่าเพศเมียสูง 60 – 70 เซนติเมตร
น้ำหนัก(Weight) ฟิล่าเพศผู้หนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนฟิล่าเพศเมียหนัก 40 กิโลกรัมขึ้นไป
สี(Colour) ฟิล่าที่มีสีเดียวทั้งตัวถือว่าได้มาตราฐาน ยกเว้นสีขาวทั้งตัว สีขาวเป็นหย่อมหรือเป็นจุด ถือว่าผิดมาตราฐาน สีลายเสือประกอบด้วยสีพื้นทั้งตัวแล้วมีเส้นสีดำพาดตามลำตัว ซึ่งอาจจะมาก น้อย หรือเป็นเส้นดำยาวก็ได้ ฟิล่าบางตัวมีหน้าสีดำ บางตัวก็ไม่ดำ ส่วนสีขาวให้มีได้3ตำแหน่งคือ เท้า อก และปลายหาง ซึ่งสีขาวทั้งหมดรวมกันแล้วต้องไม่มากเกิน 1 / 4 ของพื้นที่ผิวหนัง สีขาวที่ส่วนอื่นถือว่าผิดมาตราฐาน
ผิวหนัง(Skin) ฟิล่ามีลักษณะเด่นที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ หนังหนาและย่นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะที่คอทำให้เห็นเหนียงคอห้อยยาวอย่างเด่นชัด บางครั้งอาจห้อยไปถึงหน้าอกและท้องน้อย บางครั้งอาจเห็นฟิล่าบางตัวมีหนังย่นด้านข้างศีรษะและที่ส่วนหลังไปถึงหัวไหล่ด้วย เมื่อฟิล่าอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย ที่ศีรษะต้องไม่มีรอยย่น เมื่ออยู่ในสภาวะตื่นตัว การหดตัวของหนังที่กะโหลกทำให้เกิดรอยย่นเล็กน้อยพาดตามยามไปบนกะโหลก
ขน(Coat) ขนสั้น ลื่น หนาแน่น และติดแน่นกับผิวหนังไปทั่วร่างกาย
การทดสอบลักษณะนิสัย(Test of Temperament) มีกฎข้อบังคับไว้ว่า ฟิล่าทุกตัวที่ลงทะเบียนเข้าแข่งขันชิงตำแหน่งแชมป์ต้องผ่านการทดสอบลักษณะนิสัย เพราะว่าแชมเปี้ยนทุกตัวต้องมีใบรับรองว่าผ่านการทดสอบนี้แล้ว การทดสอบลักษณะนิสัยจัดขึ้นในงานแสดงพิเศษเท่านั้นและขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกรรมการผู้ตัดสินว่าอนุญาตให้จัดหรือไม่ ถ้าอนุญาตให้จัดต้องแสดงต่อสาธารณชนและจัดอยูุ่่ด้านนอกงานแสดง การทดสอบมีดังนี้
  • การจู่โจมด้วยท่อนไม้ ทดลองให้ผู้ถือไม้จู่โจมฟิล่าทางด้านหน้า โดยปราศจากผู้ควบคุมฟิล่า และผู้ถือไม้ห้ามไม่ให้สัมผัสหรือตีฟิล่า
  • ทดสอบด้วยการยิงปืน โดยยิงปืนในระยะห่างจากฟิล่า 5 เมตร ฟิล่าควรแสดงอาการสนใจ มั่นใจ และเชื่อมั่นในตัวเอง
  • ระหว่างการปฏิบัติทั้งหมดในสนาม กรรมการผู้ตัดสินต้องวิเคราะห์พฤติกรรม ลักษณะนิสัย และให้ความสนใจต่อการแสดงออกของฟิล่าที่เข้าทดสอบ ระหว่างการทดสอบลักษณะนิสัยควรสังเกตสิ่งเหล่านี้
    • ความดุกับคนแปลกหน้า
    • ความมั่นใจในตัวเอง ความกล้าหาญ ความมุ่งมั่น และความหนักแน่นของฟิล่าแต่ละตัว
ข้อบกพร่องทั่วไป
  • ลูกอัณฑะไม่เคลื่อนตัวลงมาจากท้องน้อย
  • มีลูกอัณฑะลูกเดียว
  • การผสมพันธุ์ด้วยวิธีที่แปลกปลอม ทำให้เกิดลักษณะที่บกพร่อง เช่น ฟิล่าสีเผือก หรือรูปร่างไม่ได้มาตราฐาน
ข้อบกพร่องที่ยอมรับไม่ได้
  • ความก้าวร้าวต่อเจ้าของ
  • ความขี้ขลาด
  • จมูกสีชมพู
  • ฟันบนใหญ่คลุมฟันล่าง
  • ฟันล่างใหญ่คลุมฟันบน จนมองเห็นได้เมื่อหุบปาก
  • ตาสีฟ้า
  • หางกุดหรือหูตัด
  • สะโพกต่ำกว่าหลัง
  • สีขาวเผือกทั้งตัว สีเทาแบบหนู ลายแต้มหรือลายจุด
  • ความสูงต่ำกว่ามาตราฐาน (เพศผู้สูงอย่างน้อย 65 เซ็นติเมตร ส่วนเพศเมียสูงอย่างน้อย 60 เซนติเมตร)
  • หนังไม่ย่น
  • ก้าวคืบไม่เป็น (การก้าวแบบอูฐ)
  •  
ข้อบกพร่องที่ร้ายแรงมาก
  • ศีรษะเล็ก
  • ริมฝีปากบนตึง ไม่ห้อยลงมา
  • เมื่อมองด้านหน้าตรง เห็นดั้งจมูกชัดเจน
  • ตาถลน ตาโปน
  • ฟันขาดไปบางซี่
  • ไม่มีเหนียงที่คอ
  • เฉื่อยชา เซื่องซึม และขี้ตื่นกลัว
  • ตกใจกลัวเมื่อได้ยินเสียงปืน
  • หลังโก่ง
  • เส้นหลังตรงระดับเดียวไปถึงตะโพก
  • หางม้วนมากเกินไป
  • กระดูกหลังมือและกระดูกหลังเท้าคด
  • ขาหลังไม่มีมุม ข้อเท้าตรง
  • กระดูกเล็ก บอบบาง
  • ดูผอมแห้ง ไม่มั่นคง
  • สูงเกินมาตรฐาน (เพศผู้ไม่สูงเกิน 75 เซนติเมตร ส่วนเพศเมียไม่สูงเกิน 70 เซนติเมตร)
  • พื้นที่สีขาวมากเกิน 1 / 4 ของร่างกาย
  • ขอบตาไม่มีสีเลย
  • ตากลม
  • ลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
  • ช่วงจมูกสั้น
  • หูเล็ก
  • โคนหูอยู่ตำแหน่งสูงเกินไป
  • สีตาอ่อนเกินไป
  • มีรอยย่นที่กะโหลก ในขณะที่ฟิล่าอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย
  • ฟันล่างคลุมฟันบน
  • ฟันขาดไปบางส่วน
  • มีหนังพับอยู่ใต้คอ ซึ่งไม่ใช่เหนียง
  • หลังแอ่นมากไป
  • ตะโพกผอมแคบ
  • หางม้วนขึ้นไปบนหลัง
  • หน้าอกไม่ลึก
  • กระดูกเท้าคด
  • เท้าหลังเป็นมุมโค้งมากเกินไป
  • ช่วงกระโจนสั้นไป
ความบกพร่องเล็กน้อยลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสายพันธุ์ แต่ต้องไม่อยู่ในข้อบกพร่องทั้งสามประเภทด้านบน
บันทึก ฟิล่าเพศผู้ต้องมีลูกอัณฑะสองลูกอยู่ในถุงอัณฑะ
จาก...โฮแกนฟิล่า...โดย คุุณพงศ์พันธ์ สุดยอดบรรพต ที่อนุญาตให้คัดลอกข้อความ.......เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจสายพันธ์ฟิล่า


                        
 ...ภาพบรรยายลักษณะมาตรฐานพันธุ์ FILA BRASILEIRO ซึ่งบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญสุนัขพันธุ์นี้โดยเฉพาะ
Dr. ALBERTO BARROSO PERCIRA

       ลักษณะมาตรฐานใหม่ๆ ของสายพันธุ์สุนัขฟิล่า บราซิลเลียโร ได้รับการกำหนดขึ้นและเสนอโดย CBKC ได้แก่ FCI แล้ว โดยองค์กรนี้ถือได้ว่าเป็นบิดาขององค์การนักผสมพันธุ์สุนัขของโลก WORLD ORGANIZATION OF DOG BREEDERS
องค์การ CBKC นี้เป็นสมาคมผู้อุปถัมภ์แห่งเดียวของสุนัขพันธุ์ ฟิล่า บราซิลเลียโร แห่งประเทศบราซิล อันเป็นสมาชิกของ
องค์การ FCI ส่วนอีก 98% ที่เหลืออยู่ของนักผสมพันธุ์ ฟิล่า บราซิลเลียโร และเจ้าของสุนัขพันธุ์นี้ ล้วนสังกัดรวมอยู่ในองค์การ
CBKC ทั้งสิ้น
            
               ลักษณะสายพันธุ์มาตรฐานของสุนัขพันธุ์ ฟิล่า บราซิลเลียโร่ลักษณะทั่วไป 
      ลักษณะอันเป็นหลักสำคัญของสายพันธุ์ โมโลสเซอร์ (MOLOSSER) ได้แก่ กระดูกแข็งแรง ลำตัวกว้างแกร่งเกือบจะดู
ุเหมือนหีบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกระทัดรัด แต่ก็สมน้ำสมเนื้อ และมีสัดส่วนที่ดีถึงแม้ว่าสุนัขพันธุ์นี้จะมีตัวใหญ่แต่ก็มี
คุณสมบัติที่คล่องแคล่วว่องไวมากอย่างเห็นได้ชัด และสำหรับสุนัขเพศเมียนั้นจะต้องแสดงให้เห็นลักษณะนิสัยแห่งความ
เป็นแม่อย่างเด่นชัด ทำให้มองดูก็ทราบว่าต่างกันกับสุนัขเพศผู้
                                     
                                             ลักษณะพันธุ์และอารมณ์
       สุนัขพันธุ์นี้มีลักษณะนิสัยกล้าหาญ มีใจเด็ดเดี่ยวและมีความห้าวอย่างยิ่งและมีความกตัญญูและว่าง่าย สำหรับนายของมัน
และครอบครัวของเขา และอ่อนโยนสุภาพกับเด็กๆ อย่างที่สุด ความซื่อสัตย์ของมันนับว่าขึ้นชื่ออยู่ในประเทศบราซิล และ
เฝ้ารักษาเจ้าของของเขาอย่างใกล้ชิด และลักษณะที่ขึ้นชื่ออีกอย่างคือ จะมีความก้าวร้าวกับบุลคลแปลกหน้าเป็นอย่างมาก
เป็นสุนัขที่ที่ปกติแล้วมีบุคลิคที่สงบนิ่ง และมีความเชื่อมั่นในตนเองมาก แม้แต่จะมีเสียงประหลาดๆหรือเสียงดังโครมคราม
ใกล้ตัว มันก็ไม่ตื่นตกใจ มันเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ไม่เป็นรองใครเลย และใช้เป็นสุนัขที่ล่าสัตว์ใหญ่ได้ดีโดยสัญชาติญานของ
มันเองและใช้เป็นสุนัขที่ใช้เลี้ยงฝูงวัวก็เยี่ยม แต่เมื่อขึ้นเวทีประกวดสุนัขมันมักไม่ยอมให้กรรมการแตะเนื้อต้องตัวมันเอาเสียเลย
และหากในกรณีของการเข้ากัดผู้ใด ก็จะถือว่าเป็นความผิดของสุนัขฟิล่าไม่ได้ แต่ทว่า เป็นอารมณ์ดุของสุนัขฟิล่าโดยธรรมชาติฺ
ิอย่างนั้นเอง

                           
   
                                           
...จังหวะการเดินของ ฟิล่า ที่ถูกต้อง               
  ภาพนบสุด...รูปร่างลักษณะ"ฟิล่า"ที่จัดว่าสวย

  ภาพกลาง...เส้นหลั งภาพบนลักษณะดีบั้นท้ายสูงกว่าส่วนหลั ง 
ภาพล่างลักษณะใช้ไม่ได้ ลำตัวสั้นเกินไปความยาวของ ส่วนหลังถึงบั้นท้ายเท่ากับความลึกของอก                                                                                    
                                                                      การเคลื่อนที่
      ควรจะเป็นในลักษณะที่ยือหยุ่น และโจนไกลๆ ความอ่อนช้อยในการเคลื่อนไหวของมันทำให้ดูคล้ายๆเสือย่อง และมันมี
ีความสามารถพิเศษอยู่อย่างหนึ่งก็คือการคืบ (AMBLING) หมายถึงการก้าวด้วยขาหน้าและขาหลังข้างเดียวกันพร้อมๆกันไป
ทั้งไปข้างหน้าและถอยหลัง ลักษณะการเคลื่อนไหวเช่นนี้ ทำให้ดูลำตัวของสุนัขกระเพื่อมไปตามจังหวะการเคลื่อนที่ และส่วนหลังของมัน
จะยกขึ้นมาเท่ากับระดับของหางที่ชี้เหยียดตรง และในการเคลื่อนที่สุนัขจะเก็บหัวของมันก้มลงต่ำกว่าลำตัวเสมอไป เมื่อก้าวเหยาะๆ
สุนัขจะเคลื่อนที่ได้อย่างนุ่มนวล และสะดวกสบายและมีก้าวอย่างมั่นคงดีมาก
เมื่อวิ่งควบก็มีความแข็งแกร่งและวิ่งได้อย่างเรวซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อสำหรับสุนัขใหญ่และหนักมากอย่างนี้และตามคุณลักษณะอีกอย่างหนึ่ง
ของสุนัขในสายพันธุ์ที่สืบเนื่องมาจากพันธุ์โมลอสเซอร์นั้น ก็ควรจะได้แก่การหักเหทิศทางในเวลาวิ่งได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในความจริงสุนัขฟิล่า
ก็มีคุณลักษณะนี้ด้วย
                                          
                                                 การแสดงออก 
      ในสภาวะการณ์ปกติสุนัขจะอยู่ในสภาพสงบนิ่ง สง่างาม และมีความมั่นใจในตนเองเป็นอย่างสูง สุนัขไม่เคยแสดงอาการหลับๆตื่นๆ หรือ
สภาพแสดงความเบื่อหน่ายต่อสิ่งแวคล้อม และเมื่อมีใครมาทำให้สุนัขเกิดความสนใจขึ้น อาการแสดงออกของสุนัขคือความมีใจมั่นจะทำอะไร
ก็ทำอย่างเด็ดเดี่ยว และมีท่าทางที่แข็งแรง และสนใจในสื่งที่ตนจะทำอย่างเต็มเปี่ยม

                                                                      ...ลักษณะของ ฟิล่าศรีษะและใบหน้าที่จัดว่าสวย
   จากภาพ...ลักษณะมาตราฐานของส่วนหัว ของ"ฟิล่า" ที่จัดว่าสวย ...ภาพบน...สังเกตุเส้นจุดปุดูที่โคนหูกับขอบตาจะต้องอยู่ในแนวเดียวกัน...ภาพล่าง...เมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นได้ว่าส่วนบนของกระโหลกหัวของสุนัขลาดขึ้นเล็กน้อย
จากทางด้านหน้าผากไปหาด้านหลังหรือด้านท้ายทอย โดยที่ตัวท้ายทอยเองนั้นมีลักษณะแข็งแรงช่วงเนินลาดตั้งแต่หน้าผาก(A)ลงมายัง
จุดรอยต่อดั้งจมูก(B) เป็นแนวลาดโค้งต่อเนื่องกันไปจนถึงจากจมูก...
                                                  หัวสุนัข 
     สุนัขมีหัวใหญ่ หนักแน่น ขนาดใหญ่กว้างแข็งแรง และได้สัดส่วนกับลำตัว เมื่อมองลงมาจากด้านบนจะเห็นได้ว่าหัวสุนัขมีรุปเป็นสี่เหลี่ยม
สองด้านขนานกัน (TRAPEZIUM) และเมื่อมองจากทางด้านข้างจะเห็นว่าความหนาของปากกับของกระโหลกหัวสุนัขเกือบจะเท่าๆกันทีเดียว แต่ดูเหมือนว่าความหนาทางด้านปลายปากสุนัขจะหนามากกว่าตัวกระโหลกหัวของสุนัขอยู่เล็กน้อยอีกด้วย
                                            กระโหลกหัวสุนัข
      เมื่อมองทางรูปด้านข้าง จะเห็นได้ว่าส่วนบนของกระโหลกหัวของสุนัขลาดขึ้นเล้กน้อยจากทางด้านหน้าผาก ไปหาด้านหลังหรือด้านท้ายทอย
โดยที่ตัวท้ายทอยเองนั้นมีลักษณะแข็งแรง และยื่นล้ำออกมาอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อยังเป็นลูกสุนัขน้อยอยู่นั้นจะเห็นได้เด่นชัด เมื่อมองจากทาง
ด้านหน้าจะเห็นว่ากระโหลกหัวสุนัขด้านบนนั้นใหญ่ กว้าง และด้านบนของกระโหลกหัวสุนัขเป็นเส้นโค้งเล็กน้อยเมื่อลงมาหาด้านคางของปากสุนัข
                                        
                                           เนินลาดของช่วงหน้าผาก
      เมื่อมองด้านหน้าเกือบจะมองไม่เห็นระดับการขึ้นลงอย่างไรเลย รอยย่นบนหน้าผากสุนัขนั้นก็มีอยู่เพียงตื้นๆเท่านั้นเอง และเมื่อมองดู
จากทางด้านข้าง ระดับของส่วนหน้าผากสุนัขนี้ก็มีอยู่น้อยมากและเป็นเส้นโค้งทำให้เห็นได้แต่เพียงส่วนที่เป็นคิ้วสุนัขเท่านั้น
                                                   
                                                     ส่วนจมูก
      มีลักษณะแข็งแรง กว้าง และหนาลึก และรับกับระดับของกระโหลก สุนัขได้ดี เมื่อมองจากด้านบนลงมาจะเห็นว่าส่วนที่เป็นโคนของลำจมูก
กว้าง เมื่อมาถึงที่ตั้งของดวงตาก็จะแคบเข้าบ้างเล็กน้อย แต่จะเรียวแคบลงพร้อมกับหนาลึกขึ้นทางด้านปลายจมูก และเมื่อมองจากทางด้านข้างจมูกจะยื่นตรงออกไปเป็นกล่องสี่เหลี่ยมอย่างที่เรียกกันว่าจมูกโรมัน (ROMAN LINE) แต่ก็มิได้มีรอยโค้งขึ้นด้าน
บนแต่อย่างใด ทางด้านปลายตัดของจมูก ก็ตัดเป็นเส้นตรง แล้วตรงส่วนที่เป็นช่องจมูกจึงจะโค้งอยู่บ้าง จากซ้ายไปขวาและจากบนมาล่างถึง
จุดริมฝีปากบน ซึ่งมีความหนามากห้อยตัวลงมาและปกคลุมริมฝีปากล่างเอาไว็ และดังนั้นก็เป็นส่วนที่มองเห็นเป็นภาพตั้งด้านข้างของลำจมูก
สุนัขไปเลยคือหมายถึงว่าเป็นเส้นตรงขนานกับเส้นสันจมูก เมื่อมองจากด้านข้างและเวส้นของริมฝีปากสุนัขจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนอยู่เสมอ และสำหรับริมฝีปากล่างนั้นจะเป็นเส้นเดินตามรอยฟันและกรามของปากด้านบน และจะโค้งลงเล็กน้อยทางด้านปลายสำหรับดั้งจมูกสุนัขทาง
ด้านบนลงมาจะหนามากทีเดียว และความหนาน้อยกว่าความยาว ถ้ามองจากด้านหน้าตรงมา ริมฝีปากสุนัขจะห้อยลงมาเหมือนกับรูปตัวยูคว่ำมากทีเดียว
                                               
                                                  ปลายจมูก
      แข็งแรงดี ปลายกว้าง แต่ก็ไม่กว้างเท่ากับกระดุกโครงของกรามบน มีสีดำ
                                                    
                                                     ตา
     มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เรียวยาวเหมือนผลอัลมอนด์ อยู่ห่างกันพอสมควร มีระดับความสูงปานกลาง หรือค่อนข้างต่ำ สีที่ยอมรับได้คือ
สีน้ำตาลเข้ม และอ่อนลงมาจนเป็นสีเหลือง แล้วแต่ว่าสุนัขจะมีสีขนอะไร
                                                 
                                                      ใบหู
     ห้อยตกลงต่ำ ใหญ่ มีรูปเป็นตัว “V” กว้างมากที่โคนใบหูและค่อยเรียวเล็กลงมาทางปลาย มีปลายกลม โคนหูตั้งต้นที่ด้านหลัง ของขอบตา
ในแนวเส้นล่างของกระโหลกหัวสุนัขด้านบน เมื่ออยู่ในท่าปกติแต่เมื่อสุนัขตื่นตัวโคนใบหูจะถอยหลังไปบ้างน้อย เพื่อเปิดช่องหูให้รับเสียงทำ
ให้มองเห็นในช่องหูได้
                                               
                                                   ฟันสุนัข
     ความยาวของชุดฟันยาวกว่าความกว้าง แข็งแรง มีฟันขาว เขี้ยวด้านบนมีโคนกว้างมาก แต่ส่วนปลายแหลม ฟันหน้าก็แข็งแรง และขึ้นเป็นซี่ๆ

ห่างกันพอควร รูปของฟันหน้าเป็นรูปกรรไกล (เมื่อหุบปาก ฟันบน ควรอยู่ด้านนอกฟันล้างควรอยู่ในแต่ชิดกัน)
                                                   
                                                      คอ
     แข็งแรงอย่างยิ่ง มีกล้ามเนื้อหนาเป็นปึก ทำให้เหมือนมีคอสั้น เส้นด้านบนมีความโค้งน้อยๆ และมองเห็นได้ว่าเป็นอวัยวะส่วนที่แยกออกจาก
หัวกระโหลกอย่างเห็นชัด สุนัขมีเหนียงใต้คอด้วย
                                              
                                                  ส่วนหลัง
     จุดกลางสันหลังมีความโค้งเล็กน้อย ส่วนไหล่กว้างออกจากกัน ส่วนกลางสันหลังอยู่ต่ำกว่าระดับส่วนตะโพกต่อกับโคนเล็กน้อย เส้นหลังจากคอมาเปลี่ยนระดับลาดลงมาหลังจากจุดหลังไหล่มาสู่จุดหลังอาน แล้วก็ลาดขึ้นอีกจนถึงหลังสะโพก และระดับของเส้นสันหลังของ
สุนัขนี้ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อสุนัขวิ่งหรือควบ
                                             
                                                ส่วนสะโพก
     กว้าง ยาว และจะสูงกว่าส่วนกลางหลังเป็นเส้นลาดประมาณ 30 องศา มีความโค้งเล็กน้อย เมื่อมองจากด้านหลัง ส่วนสะโพกจะกว้างเท่าๆ
กับส่วนช่วงอก และสำหรับสุนัขเพศเมียจะมีส่วนสะโพกนี้กว้างกว่ากันยิ่งขึ้น
                                             
                                                 ส่วนลำตัว
      แข็งแรง กว้าง และต่ำ มีหนังที่หนาและยืดหยุ่นได้ ส่วนลำคอยาวกว่าส่วนสะโพกหลังเมื่อวัดระยะจากไหล่ไปถึงสะโพก ลำตัวจะมีความยาว
มากกว่าความสูงประมาณ 10%
                                              
                                                 ส่วนลำคอ
      มีสันคอที่เป็นเส้นโค้งอย่างดี แต่จะไม่กว้างกว่าส่วนความหนาของส่วนหัวไหล่ มีอกย้อยต่ำ และกว้างมากถึงจุดข้อต่อของหัวไหล่ทีเดียวอก
สุนัขแข็งแรงมาก
                                                
                                                   สะโพก
     สั้นกว่าและไม่ต่ำลงมาเท่ากับส่วนอก ส่วนลำคอและสะโพกนับว่าแยกจากกันอย่างเด็ดขาด สำหรับสุนัขเพศเมียมีส่วนข้างของสะโพกแข็งแรง
กว่า เมื่อมองลงมาจากด้านบน ส่วนสะโพกยังเล็กกว่าส่วนลำคอ และส่วนโคนหาง แต่ก็มีกล้ามเนื้ออิ่มเอิบสมบูรณ์
                                       
                                            เส้นด้านใต้ลำตัว
เส้นใต้ส่วนอกต้องยาวและเป็นเส้นขนานกับพื้นดิน จะมีเส้นลาดโค้งสูงขึ้นบ้างก็เล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้โค้งขึ้นแบบเดียวกับเส้นใต้ลำตัวของสุนัขแข่ง
                                           
                                               ส่วนขาหน้า
      ส่วนไหล่ของสุนัขประกอบด้วยสะบักไหล่ และกระดูกขาหน้าท่อนบนควรจะมีความยาวเท่าๆกัน กระดูกสะบักไหล่นั้นควรจะวางตัวอยู่ในรูป
45 องศา กับเส้นสันหลัง และมุนระหว่างกระดูกสะบักไหล่กับกระดูกขาหน้าท่อนบนนั้นควรจะทำมุมกัน 90 องศา จุดที่กระดูกสะบักไหล่มาจดกับ
กระดูกต้นขาหน้าคือหัวไหล่สุนัขที่เราเห็นได้ ซึ่งควรจะอญู่ในระดับสูงเท่ากัน แต่จะอยู่คล้อยลงมาทางด้านหลังของตัวกระดูกคออยู่บ้าง
และสุนัขที่นับว่ามีส่วนสัดที่ดี ควรจะมีส่วนที่เป็นไหล่รวมราบไปจากส่วนกระดูกสะบักไหล่ไปหาส่วนที่เป็นต้นคอ โดยมีส่วนสูงสุดของส่วน
หัวไหล่นี้อยู่ตรงกึ่งกลางของระยะที่กล่าวนี้พอดิบพอดีทีเดียว และเมื่อเราลากเส้นตรงลงมาจากจุดหัวต่อกับกระดูกสะบักไหล่ ลงมาหาจุด
ข้อศอกของสุนัข เราจะได้เส้นตรงที่จะพุ่งต่อลงมาจดจุดปลายเท้าของสุนัขเลยทีเดียว
                                    
                                             ส่วนขา 
     มีขาแข็งแรง เหยียดตรงลงมาแบบคู่ขนานกัน และแอ่นเข้าหากันอยู่บ้างและความยาวของลำขานับจากพื้นดินไปจนถึงหัวไหล่ควรจะ
เป็นระยะ 50% ของความยาวของระยะจากข้อศอกไปจนถึงกระดุกสะบักไหล่
                                         
                                             ส่วนเท้า
     แข็งแรง และมีส่วนโค้งที่ดี ขาไม่แอ่นเข้าหากันมากเกินไป ฝ่าเท้าหนาและใหญ่มั่นคง กว้าง และส้นลงต่ำ เล็บแข็งแรง มีสีค่อนข้างดำ
แต่เล็บสีอ่อนไม่ดำก็ใช้ได้ ถ้าทั้งเท้าและเล็บเท้าของสุนัขไม่มีสีดำสนิท
                                      
                                           ส่วนขาหลัง
     ขาหลังไม่มีกระดูกที่แข็งแรงเท่ากกับขาหน้า แต่ก็ดูไม่บอบบางแต่อย่างใด ส่วนลำขาหลังด้านบนโค้งเมื่อมองจากด้านข้าง เพราะมีกล้าม
เนื้อที่แข็งแรงยึดจับกับกระดูกสะโพก และกระดูกเชิงกรานของสุนัข ซึ่งกล้ามเนื้อส่วนนี้ก็ประกอบเป็นส่วนหลังของสุนัขด้วย และดังนั้นกล้าม
เนื้อของส่วนเชิงกรานนั้นจะต้องมีความยาวเพียงพอ ขาหลังวางตัวลงมาอย่างขนานเท่าๆกันทีเดียวส่วนลำขาด้านล่างโค้งอยู่บ้างและแข็งแรง ส่วนกระดูกหลังเท้าหน้าจะโค้งและมีส่วนสูงกว่ากระดูกหลังเท้าหลังอยู่บ้าง
                                           
                                             ส่วนเท้าหลัง 
     ฝ่าเท้าเป็นรูปไข่มากกว่าฝ่าเท้าหน้า แต่นอกจากนั้นก็จะมีลักษณะอื่นๆเหมือนๆกันกับลักษณะของฝ่าเท้าหน้า
                                            
                                               ส่วนหาง
      ส่วนโคนหางใหญ่มาก หางมีความยาวพอปานกลาง และเรียวลงมาอย่างรวดเร็วเมื่อไปสู่ส่วนปลายที่ชี้ไปทางส้นเท้าของสุนัข
                                              
                                               ความสูง
สำหรับสุนัขเพศผู้ 65 ถึง 75 ซ.ม. ที่หัวไหล่ สำหรับเพศเมีย 60 ถึง 70 ซ.ม. ที่หัวไหล่
                                                
                                                น้ำหนัก
สำหรับสุนัขเพศผู้ 50 -65 ก.ก.   สำหรับเพศเมีย 40-55 ก.ก.
                                                 
                                                   สี 
     สีใดก็ใช้ได้ ยกเว้นแต่ข้อยกเว้นที่มีระบุอยู่ในความส่วนที่เป็นข้อบกพร่องของสุนัขเท่านั้น สำหรับสุนัขในสายพันธุ์ที่มีลายสีต่างๆ นั้นอาจ
จะมีแถบสีตัดเส้นลายเหล่านั้นบ้างก็เป็นได้ หรืออาจจะมีผืนสีดำเป็นหน้ากากอยู่บนใบหน้าก็ได้ ส่วนปลายขาและเท้าอาจจะมีสีขาวเหมือน
สวมถุงเท้าก็ได้ และอาจจะมีสีขาวเด่นที่หน้าอก และดอกที่ปลายหางก็ได้ แต่ก็ไม่ควรมีสีขาวด่างที่จุดอื่นๆของลำตัวอีก
                                             
                                                 หนัง
      ลักษณะประจำสายพันธุ์อย่างหนึ่งของสุนัขนี้ ก็คือการมีหนังหนาและยืดหย่อนได้ทั่วทั้งตัวและที่คอก็มีเหนียงยานออกมาไม่ใช่น้อย
มีเหนียงยานที่หน้าอกด้วย และหนังที่ส่วนหลังหย่อนยืดได้ก็เห็นมีอยู่เช่นกัน และด้านข้างหัวของสุนัขบางตัวก็มีหนังยืดหย่อนได้นี้อยู่ด้วย
เช่นเดียวกับที่ส่วนสันไหล่และที่ด้านข้างหัวไหล่ด้วย สำหรับหัวจะไม่มีรอยย่นเมื่อสุนัขอยู่ในท่ายืนเต็มตัว แต่เมื่อสุนัขวิ่งควบจะมีรอยยือหย่อน
เล็กๆอยู่ด้วยทางด้านซ้ายของหัวส่วนบน และสุนัขจะยกใบหูขึ้นเพื่อทำให้ผิวหนังหดตัวเป็นลอนๆทำทำให้ดูน่ากลัวขึ้น
                                         
                                          ส่วนบนผิวหนัง
      มีขนสั้นๆ นุ่นนวล ดกหนา และเหนียวติดกับหนังเป็นอย่างดี
                                   
                                      การทดสอบลักษณะนิสัย 
       เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุนัขที่มีอายุเกินกว่า 12 เดือน ที่มาเข้าแข่งขันชิงตำแหน่งแชมป์เพราะสำหรับแชมป์สุนัขจะต้องแสดงข้อพิสูจน์ได้ว่า
ผ่านการทดสอบลักษณะนิสัยมาดีแล้ว แต่จะจำเป็นต้องทำการทดสอบดังกล่าวก็ต่อเมื่อเป็นการโชว์ตัวในโอกาสพิเศษจริงๆเท่านั้น และสำหรับ
งานนิทรรศการสุนัขขนานใหญ่ จะมีการทดสอบดังกล่าวหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเห็นของกรรมการผู้ตัดสิน ซึ่งหากมีก็จะต้องทำโดยเปิดเผย
ต่อมหาชน และจัดทำการนอกอาณาเขตของสถานที่โชว์สุนัขด้วยการทดสอบนั้น  
                   กำหนดไว้ให้ทำกันในท่าทางต่างๆดังต่อไปนี้คือ
     1 การโจมตีโดยให้กัดชิ้นไม้ โดยให้สุนัขเข้าโจมตีศัตรูผู้รุกรานจากทางด้านหน้าโดยไม่ให้ฝ่ายเจ้าของสุนัขเข้าช่วยเหลือ แต่มีข้อแม้ว่าผ
ู้รุกรานจะต้องไม่สัมผัสหรือโบยตีสุนัขโดยเด็ดขาด
     2 ทดสอบด้วยการยิงปืน โดยยิงปืนสั้นในระยะ 5 เมตร จากตัวสุนัขซึ่งสุนัขควรจะแสดงความสนใจด้วย แต่ก็มีความเชื่อมั่นในตนเองและ
ควบคุมตนเองได้เสมอ
     3 และกรรมการตัดสินควรจะทำการวิเคราะห์ลักษณะความประพฤติของสุนัขให้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกของสุนัขโดยภาพรวม
ตลอดงานโชว์ ซึ่งสิ่งที่ควรจะหยิบยกขึ้นพิจารณาในการทดสอบลักษณะนิสัยสุนัขนั้นก็ควรจะได้แก่ข้อต่างๆดังต่อไปนี้คือ
     3.1 ความไม่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้า
     3.2 ความมั่นใจในตนเอง ความกล้าหาญ ความเด็ดเดี่ยวและความห้าวหาญของสุนัขแต่ละตัว

ข้อบกพร่องโดยทั่วไป
     1 อัณฑะพวงมีมากกว่าสองลูก
     2 อัณฑะเดี่ยวมีเพียงลูกเดียว
     3 ความพยายามที่จะผสมพันธุ์ให้แตกต่างออกไป อาทิ ผสมให้มีสีขาวเผือก หรือมีส่วนหนึ่งส่วนใด
ต้องออ่นแอลง เป็นต้น

ข้อบกพร่องที่ยอมรับไม่ได้
  1 ความก้าวร้าวต่อผู้เป็นเจ้าของ
     2 ความขี้ขลาด
     3 ปลายจมูกเป็นสีชมพู
     4 ฟันในชุดปากบนใหญ่กว่าฟันในชุดปากล่าง
     5 ฟันในชุดปากล่างใหญ่กว่าฟันในชุดปากบน ทำให้มองเห็นฟันได้แม้จะหุบปากแล้ว
     6 ไม่มีเขี้ยวหรือฟันเขี้ยวก่อนกราม (โมล่าร์) ยกเว้นแต่มีเขี้ยวสถานที่ซึ่งก็พอจะยอมรับได้
     7 ตาสีฟ้า (ผสมพลิกแพลงให้มีตาสีฟ้า)
     8 หางกุด หรือหูด้วน
     9 โคนหางที่จุดสะโพกลาดต่ำกว่าจุดต้นคอ
     10 สี สีเผือกขาวตลอดตัวหรือสีเทาขนหนู หรือเป็นสุนัขสีด่างเป็นจุดๆ หรือเป็นโรค
(MERLE SYNDROME) โรคมีสีขนดำปลอด เป็นสีขนกา
     11 เตี้ยกว่าเกณฑ์ (เกณฑ์ = 65 ซ.ม. สุนัขเพศผู้ และ 60 ซ.ม. สุนัขเพศเมีย)
     12 หนังไม่ยืดหย่อน
     13 ก้าวย่างคืบไม่เป็น

ข้อบกพร่องอย่างร้ายแรงมาก
     1 มีหัวเล็ก
     2 ริมฝีปากบนแห้ง
     3 ส่วนหัวคิ้วลาด
     4 ตาโปนถลน
     5 ฟันขาดไปสองซี่
     6 ไม่มีเหนียงคู่
     7 ไม่มีความตื่นตัว หรือขลาดกลัวเกินไป
     8 แสดงอาการตื่นกลัวเสียงประทัดหรือเสียงปืน
     9 สันหลังโค้งโก่งกลางเหมือนหลังปลา
     10 สันหลังตรงเป็นแผ่นกระดาน
     11 หางม้วนขึ้นกลิ้งไปตามสันหลัง
     12 กระดูกหลังมือและกระดูกหลังเท้าไม่ตรง
     13 ขาหลังทำมุมมากเกินไป
     14 ทรวงอกไม่ลึกเพียงพอ
     15 เดินตัวลีบเกินไป
     16 ตัวสูงเกินมาตรฐาน
     17 มีสีขาวมากกว่า 1/4 ของร่างกาย
     18 ลูกตาดำสีไม่เข็มอย่างที่ควรจะเป็น
     19 ตากลมเกินไป
     20 โครงสร้างที่เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส

ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
     1จมูกสั้นเกินไป
     2 หูเล็กเกินไป
     3 หูอยู่ในตำแหน่งที่สูงเกินไป
     4 ตาสีอ่อนเกินไป
     5 มีรอยย่นบนศรีษะขณะอยู่ในท่าปกติ
     6 ฟันล่างยื่นออกมามากกว่าฟันบน
     7 ฟันขาดไปสองซี่
     8 มีหนังคล้ายวงแหวนใต้คอที่ไม่ใช่เหนียงคู่
     9 หลังแอ่นเกินไป
     10 บั้นท้ายลีบเกินไป
     11 หางที่ม้วนเป็นวงกลมบนหลัง
     12 ช่วงอกแคบเกินไป
     13 ขาไม่ได้รูปตามมาตรฐาน
     14 มุมขาหลังส่วนล่างยื่นเกินความเหมาะสม
     15 ท่ากระโจนที่ช่วงสั้นเกินไป

ข้อบกพร่องที่ไม่สำคัญนัก
     ได้แก่ข้อบกพร่องที่เป็นในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของพันธุ์ในรายระเอียด
     สำหรับรายละเอียดมาตรฐานของพันธุ์ปัจจุบันนั้นได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 ส่วนรายละเอียดมาตรฐานของพันธ
ุ์ฉบับแรกนั้นได้จัดทำกันขึ้นตั้งแต่ปี 2489 โดยได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งแรกเมื่อปี 2519
     ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งก็คือว่า ลักษณะหนังตาห้อย เป็นลักษณะประจำเผ่าพันธุ์สุนัขชนิดนี้
    
ความเห็นในเรื่องของมาตรฐานเผ่าพันธุ์ปัจจุบัน
     สุนัขพันธุ์ ฟิล่า บราซิลเลียโร่ นี้เป็นสุนัขที่สืบเชื้อสายมาจากพันธุ์ โมโลส(MOLOSSIAN DOG) ที่มีสัดส่วนที่ได้วิวัฒนาการมาเชิงปรับปรุง
แล้ว ที่มีคุณลักษณะเด่นออกมาในเรื่องของความคล่องแคล่วว่องไว สุนัขเพศเมียที่ลำตัวไม่กว้างเหมือนเพศผู้ แต่มีหัวที่แหลมกว่าแสดง
เพศเมียเห็นได้ชัด ทำให้ต่างกัน สุนัขเพศผู้ที่มีความแข็งแรงกว่า ดุร้ายกว่า จะห้าวหาญยิ่งกว่ากัน ที่จำเป็นต้องมีหัวที่ใหญ่หนากว่ากันอยู่อย่างมาก
     เมื่อมองกันในแง่ของลักษณะและอารมณ์ สุนัขฟิล่า บราซิลเลียโร่ นั้นเป็นสุนัขที่กล้าหาญมากและปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วอย่างที่เราเรียก
ว่าปานดั่งสายฟ้าแลบพุ่ง และสามารถเปลี่ยนจากท่าปกติ มาเป็นลักษณะการเข้าโจมตีเพื่อป้องกันนายของเขาได้อย่างฉับพลัน โดยฟิล่า
จะมีสัญชาติญารอันแม่นยำอยู่เสทอในการตัดสินใจได้ว่าใครจะมาทำอันตรายต่อฝ่ายตนได้ และแม่นยำอย่างไม่น่าเชื่อเลย และฝ่ายเจ้าของฟิล่า
ก็จะต้องทำหน้าที่ส่วนของตนในการยุ หรือในการจับรั้งและปลอบโยน เพื่อชี้นำสุนัขของตนให้สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องได้ต่อไป ดังนั้นจิตใจ
อันแน่วแน่เด็ดเดี่ยวของฟิล่าที่จะรับใช้นายของเขา ทำให้สุนัขพันธุ์นี้มีคุณลักษณะอันหาได้ยากในสุนัขพันธุ์อื่น นอกจากนั้นฟิล่า ยังเป็นสุนัขที่รักเด็กๆในครอบครัวมากทำให้เราทราบดีว่าสุนัขพันธุ์นี้มีใจอ่อนโยนเป็นอย่างยิ่ง
     
      ลักษณะความเคลื่อนไหว
     ฟิล่าเป็นสุนัขนักวิ่ง ที่ควรจะได้รับการเลี้ยงดูให้ถูกต้องกับคุณลักษณะของเขาเฉพาะในด้านนี้ด้วย สุนัขพันธุ์นี้วิ่งเรียบ นิ่มนวล และหยุ่นไหว
เมื่อควบเต็มที่และขณะวิ่ง ลำตัวอันสืบเนื่องมาจากสายพันธุ์โมโลสเชี่ยนของมันทำให้ลำตัวฟิล่าดูนุ่มนวลในการเคลื่อนไหวราวกับเสือซึ่งส่วนใหญ่ก็
จะเนื่องมาจากท่าทางของการเคลื่อนไหวของส่วนเท้าของฟิล่านั่นเอง และฟิล่าจสามารถย่องได้อีกด้วย โดยมีจังหวะการเคลื่อนไหวของ
ขาแต่ละข้างอย่างแน่นอน แต่จังหวะการลงตัวของฝ่าเท้ากับพื้นดินไม่แน่นอนนัก ซึ่งก็จะเป็นเหตุที่ต่อเนื่องไปจนถึงส่วนหางของสุนัขทำให้
หางสุนัขเคลื่อนไหวไปมาจากซ้ายมาขวาอยู่เรื่อยๆ และฟิล่าจะก้มหัวต่ำลงมา ต่ำกว่าแนวสันหลังในขณะวิ่ง
     ฟิล่าวิ่งเหยาะได้อย่างไม่ลำบากและก้าวได้ยาวๆ และเมื่อวิ่งควบก็มีพลังมากและยังสามารถเปลี่ยนทิศทางได้อย่างฉับพลันอีกด้วย
    
     การแสดงออก
     ฟิล่าดุเดือดในเวลาวิ่ง และแสดงความร้อนแรง แต่เมื่ออยู่ในท่าพักจะมีความสง่างาม สงบและผ่อนคลาย สุนัขพันธุ์นี้ไม่เคยแสดงลักษณะของจิตว่างหรือเหนื่อยหน่ายและสามารถรวมสมาชิกจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ทุกขณะจิต สายตาจะมองขึ้นสูง
มีลักษณะเหมือนลูกนัทอัลมอนด์ จะมีแววแสดงความเด็ดเดี่ยว และเกือบจะเรียกว่าท้าทายอยู่เสมอ ใครก็ตามที่พยายามมองสุนัขพันธุ์นี้จ้อง
ตรงตาต่อตา จะมีความรู้สึกตอบสนองทางด้านสุนัขในทันทีทีเดียว
     ลักษณะความใหญ่หนักแน่นและแข็งแรงอย่างหนึ่งของสุนัขพันธุ์นี้ ก็ได้แก่ รูปลักษณะของหัวของฟิล่า และก็ด้วยรูปของหัวที่ผิดแผก
แตกต่างไปจากสุนัขพันธุ์โมลาสเชี่ยนอื่นๆเป็นอย่างมาก โดยฟิล่ามีส่วนหัวได้สัดส่วนกับลำตัวเป็นอย่างยิ่ง แต่กมิใช่มีลักษณะเป็นสุนัขแบบ
ที่มีลำจมูกหดย่น(BRACHYCEPHAL) แต่เป็นสุนัขที่มีลำจมูกไม่ยาว ความยาวของลำจมูกเท่ากับความยาวของระยะจากหัวคิ้วมาถึงท้ายทอย
พอดี และไม่มีส่วนโค้งบนหลังหัวสุนัข โดยมีผิวหนังที่ส่วนนี้ย่นเป็นร่อง เมื่อมองจากทางด้านข้างและดูคล้ายจะเห็นว่ามีส่วนหลังอยู่ด้านบนของ
หัวสุนัขนั้น เกิดจากสัดส่วนของกระดูกและผิวหนังเหนือคิ้ว ส่วนโคนจมูกเมื่อมองจากด้านข้างจะตรงและมาตัดเส้นลงดิ่งเป็นมุมฉากเมื่อถึง
ปลายจมูกเพื่อลงไปหาปากแล้วก็ตัดมุมด้วยขอบกลมเมื่อเดินเป็นเส้นตรงเป็นเส้นใต้คาง อันเกือบจะขนานกับเส้นบนสันจมูกของฟิล่าเมื่อเลา
นั้งพัก ด้านบนหัวสุนัขจะไม่แสดงรอยย่นอย่างใด ยกเว้นแต่ส่วนขอบตาที่จะมีรอยย่นลงมาเป็นทางดิ่งและเมื่ออยู่ในท่าพัก ส่วนจมูก ส่วนขอบ
มุมดวงตา และส่วนโคนหู จะเป็นเส้นตรงทั้งหมด สำหรับใบหูจะมีรอยย่น มีสันนิษฐานได้รับมรดกมาจากสายพันธุ์บลูด็อก ก็ได้
     แต่ลักษณะใดที่ไปเหมือนกับลักษณะของสายพันธุ์อื่นใดที่อาจจะได้รับการผสมข้ามพันธุ์กันมาก็จะต้องถือว่าเป็นลักษณะที่ผิดทั้งสิ้น
อาทิ จมูกสั้นย่น เส้นขอบปากที่โค้งลงต่ำ มีรอยย่นบนหัวมากเกินไป ไม่มีเหนียงใต้คาง ส่วนบนของหัวป้อมกลม และลักษณะขอบหนังยืดหย่อน
ได้ก็เป็นลักษณะเฉพาะของฟิล่า บราซิลเลียโร่ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเราหิ้วลูกฟิล่า โดยจับหนังที่หลังต่อไหล่ และที่โคนหางจะได้ตัวลูกสุนัขที่ลอย
ตาม"ถุง"หนังขึ้นมา อันเป็นถุงหนังที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวสุนัขมากทีเดียว ทำให้ฟิล่าใช้หนังที่ยืดหย่อนของเขานี้เป็นเครื่องป้องกันชีวิตของเขา
ได้เป็นอย่างดี เมื่อทำการต่อสุ่กับสัตว์ที่กินเนื้อทั้งหลาย เพราะใครก็จะกัดฟิล่าได้แต่ส่วนหนังเท่านั้นไม่ถึงเนื้อและก็กัดไม่เข้าด้วย
      สี    สีใดก็ใช้ได้ ยกเว้นสีเทา หรือขาวปลอด นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นมาอันเป็นวันที่ประกาศใช้รายละเอียดมาตรฐานพันธุ์ฉบับใหม่
ซึ่งก็อนุญาตให้ส่วนสีด่างมีพื้นที่ไม่เกิน 1/4 ของพิ้นที่ผิวหนังสุนัขทั้งหมด
     ขนาด   เมื่อพูดถึงขนาดของฟิล่า บราซิลเลียโร่  ตามเทพนิยายโบราณ สุนัขนี้ได้รับการบรรยายรูปลักษณ์ว่าเป็นสุนัขขนาดใหญ่ หนัก
และมีอันตรายที่สุด แต่ตามรายละเอียดมาตรฐานพันธุ์ สุนัขนี้มีขนาดเพียงปานกลางเท่านั้น โดยมีความสูงที่หัวไหล่ประมาณ 60 ถึง 75 ซม.
(เปรียบเทียบกับสุนัขบ๊อกเซอร์ ที่มีขนาด 57ถึง 63 ซ.ม.)
     น้ำหนัก    สุนัขเพศผู้ ประมาณ 60 ถึง 65 กิโลกรัม เพศเมีย 50 ถึง 55 กิโลกรัม
                      
ที่มา http://www.kf-farm.com/pravatfila1.html

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม