น้อยโหน่ง สรรพคุณและประโยชน์ของน้อยโหน่ง 10 ข้อ !

น้อยโหน่ง สรรพคุณและประโยชน์ของน้อยโหน่ง 10 ข้อ !

น้อยโหน่ง
ผู้สนับสนุน 

น้อยโหน่ง

น้อยโหน่ง ชื่อสามัญ Custard Apple หรือ Bull’s Heart, Bullock’S-Heart, Ox-Heart, Wild-Sweetsop
น้อยโหน่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona reticulata L. จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)
น้อยโหน่ง ยังมีเชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น มะดาก (แพร่ เพชรบุรี), เร็งนา (กาญจนบุรี), หนอนลาว (อุบลราชธานี), หมากอ้อ (แม่ฮ่องสอน), มะโหน่ง มะเนียงแฮ้ง (ภาคเหนือ), น้อยหนัง (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของน้อยโหน่ง

  • ต้นน้อยโหน่ง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และเชื่อว่าได้มีการนำเข้ามาในไทยเมื่อในสมัยอยุธยา โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ความสูงของลำต้นประมาณ 5-8 เมตร เปลือกต้นแก่มีสีเทา ส่วนลักษณะของใบน้อยโหน่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ โคนใบแหลม ใบสีเขียวสด
ต้นน้อยโหน่ง
  • ดอกน้อยโหน่ง ลักษณะของดอกน้อยโหน่งจะคล้าย ๆกับดอกน้อยหน่า ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆหรือออกเป็นช่อกระจุก 2-3 ดอก กลีบดอกค่อนข้างหนา มีกลีบดอก 3 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว และดอกมีกลิ่นหอมแบบเอียน ๆ (บางคนชอบ แต่บางไม่ชอบ)
  • ผลน้อยโหน่ง จะขนาดของผลจะมีขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า ผลรูปกลมหรือรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบแต่เหนียว ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนน้อยหน่า ผลดิบเปลือกมีสีเขียวจาง ๆปนแดงเรื่อ ๆ แต่เมื่อสุกจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในผลหนามีสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก และมีรสหวานแต่ไม่เท่าน้อยหน่า โดยน้อยโหน่งจะได้รับความนิยมในการรับประทานน้อยกว่าน้อยหน่า เนื่องจากผลน้อยโหน่งมีกลิ่นฉุนนั่นเอง
ลูกน้อยโหน่ง

ประโยชน์ของน้อยโหน่ง

  1. สรรพคุณของน้อยโหน่ง ผลดิบใช้รับประทานแก้ท้องร่วง แก้อาการบิด (ผลดิบ)
  2. น้อยโหน่ง สรรพคุณช่วยขับพยาธิในร่างกาย (ผลดิบ)
  3. ใบใช้ตำนำมาพอกแก้อาการฟกบวม (ใบ)
  4. เปลือกใช้เป็นยาห้ามเลือดและช่วยสมานแผลได้ (เปลือก)
  5. สรรพคุณน้อยโหน่ง เมล็ดใช้เป็นยาสมานแผล (เมล็ด)
  6. ช่วยฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง กลาก เกลื้อน เรื้อน หิด คุดทะราด (เมล็ด)
  7. ใบคั้นแต่น้ำใช้เป็นยาฆ่าเหาได้ (ใบ)
  8. ผลไม้น้อยโหน่ง ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้สด (ผลสุก)
  9. เมล็ดสามารถนำไปทำเป็นยาฆ่าแมลง หรือยาพิษอย่างแรงได้ (เมล็ด)
  10. ใบสดน้อยโหน่ง ใช้ต้มเอาน้ำนำมาทำเป็นสีย้อมได้ โดนจะให้สีดำและสีน้ำเงินสวยงาม และยังติดทนนานอีกด้วย
ผู้สนับสนุน

คุณค่าทางโภชนาการของน้อยโหน่ง ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่ผลน้อยโหน่ง
  • คาร์โบไฮเดรต 25.2 กรัม
  • เส้นใย 2.4 กรัม
  • ไขมัน 0.6 กรัม
  • โปรตีน 1.7 กรัม
  • วิตามินบี1 0.08 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี5 0.135 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี6 0.221 มิลลิกรัม 17%
  • วิตามินซี 19.2 มิลลิกรัม 23%
  • ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 0.71 มิลลิกรัม 5%ดอกน้อยโหน่ง
  • ธาตุแมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโพแทสเซียม 382 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม 0%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร, เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร, www.thaigoodview.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย MedThai (ไม่อนุญาตให้คัดลอกเนื้อหาไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด)
ผู้สนับสนุน 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม