ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
พระราชดำริ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พระราชดำรัส
“ ข้าพเจ้าอยากเห็นชาวนา ชาวไร่ มีงานศิลปาชีพพิเศษเป็นงานเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเพื่ออนุรักษ์ศิลปะโบราณอันงามวิจิตรของไทยไว้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย งานศิลปาชีพจะดีเด่นเพียงไรอยู่ที่ความขยัน ความประณีต ศิลปะในการออกแบบและฝีมือในการประดิษฐ์ของช่างโดยเฉพาะ”
ความเป็นมา
ปลายปี พ.ศ. 2579 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ราบภาคกลางของประเทศ น้ำท่วม บ้านเรือน สวน ไร่ นา เป็นบริเวณกว้าง ราษฎรและสัตว์เลี้ยงได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้เร่งช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยครั้งนี้เป็นการด่วน โดยให้จัดพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงทำโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริให้กับราษฎรที่ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
ต่อมาในปี พ.ศ.2550 มีพระราชดำริให้ช่วยเหลือบุตรหลานของครอบครัวราษฎร ที่เดือดร้อนบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งยังไม่มีอาชีพและยังไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อให้เข้ารับการฝึกอาชีพที่โครงการฯ จึงให้ก็ตั้งเป็นศูนย์ศิลปาชีพมีราษฎรที่ได้ผ่านการคัดเลือกทั้งหญิงและชายเข้ารับการฝึกอบรมรวม 60 คน ได้ครูศูนย์ศิลปาชีพในภาคต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมวิทยาศาสตร์บริการมาเป็นวิทยากร สอนการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิตเซรามิกส์อย่างต่อเนื่อง
ต่อมาในปี พ.ศ.2550 มีพระราชดำริให้ช่วยเหลือบุตรหลานของครอบครัวราษฎร ที่เดือดร้อนบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งยังไม่มีอาชีพและยังไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อให้เข้ารับการฝึกอาชีพที่โครงการฯ จึงให้ก็ตั้งเป็นศูนย์ศิลปาชีพมีราษฎรที่ได้ผ่านการคัดเลือกทั้งหญิงและชายเข้ารับการฝึกอบรมรวม 60 คน ได้ครูศูนย์ศิลปาชีพในภาคต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมวิทยาศาสตร์บริการมาเป็นวิทยากร สอนการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิตเซรามิกส์อย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันได้ขยายโอกาสให้ราษฎรเข้ามารับการฝึกอบรมเพิ่มจำนวนคนมากในแผนกต่าง ๆ
รวมเป็น 4 แผนก ได้แก่
รวมเป็น 4 แผนก ได้แก่
- แผนกเซรามิก เริ่มดำเนินการ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550
- แผนกทอผ้า ทอจก เริ่มดำเนินการ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551
- แผนกปักผ้า เริ่มดำเนินการ วันที่ 1 มิถุนายน 2552
- แผนกแกะสลักไม้ เริ่มดำเนินการ วันที่ 1 มิถุนายน 2552
ปัจจุบัน มีราษฎรเข้ารัยการฝึกอาชีพรวมทั้งสิ้น 160 คน (ข้อมูลเดือน มกราคม พ.ศ. 2556)
1.แผนกฝึกอาชีพ เครื่องปั้นดินเผา (Ceramics) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.1 ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร :
ที่เป็นทรงกลมจะขึ้นรูปด้วยเครื่องจักร (Roller Head) อาทิ ชุดกาแฟ , แก้วมัก , ถ้วย , จานและชาม ผลิตจากดินขาว (porcelain) หรือดินขาว อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ดินเถ้ากระดูกสัตว์หรือดินโบน (Bone China) จะได้ผลิตภัณฑ์สีขาว , บาง , น้ำหนักเบา , แข็งและโปร่งแสง ภาชนะดินจะถูกนำไปเผาในเตาแก๊ส อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เรียกว่าการเผาดิบ ภาชนะที่ผ่านการเผาดิบเรียกว่า Biscuit
นำ Biscuit มาร่างแบบที่ต้องการแล้วพ้นสี – เขียนสีด้วยมืออย่างประณีต เป็นสีชนิดใต้เคลือบ (Underglaze)เสร็จแล้วจุ่มเคลือบ เผาเคลือบด้วยเตาไฟฟ้า อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส ลวดลายเขียนสีที่ได้รับความนิยมคือ บัวหลวง และลั่นทมหลากสี
ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบ (ใส) สีขาว (Whitewear)นำมาตกแต่ง (ภายหลังการเผาเคลือบแล้ว) ด้วยการปิดรูปลอก (Decal) และนำเข้าเตาเผา (เป็นครั้งที่ 3 ) อุณหภูมิ 750-800 องศาเซลเซียส เพื่อให้รูปลอกติดกับภาชนะได้คงทน ลวดลายที่นำมาทำรูปลอกเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะไทยได้แก่ ลายผ้าท่อโบราณ (ลายดอกพิกุล) และลายโขนเรื่อง รามเกียรติ์
1.2 ประเภทปั้นดอกไม้ – ใบไม้ ประดังตกแต่งภาชนะ :
เน้น ออกแบบให้เกิดประโยชน์ ใช้สอยเสมอด้วยความประณีตสวยงาม การเตรียมงานปั้นเช่น อัดพิมพ์ลายใบ , ลายกลีบดอก , การเข้าดอก , และการทำสีให้ใกล้เคียงธรรมชาติ ต้องทำด้วยมือด้วยทุกขั้นตอน ส่วนการเผาดิบ ,การเคลือบ และการเผาเคลือบ เป็นกระบวนการเดียวกับการผลิต เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ยกเว้นดอกไม้ที่ใช้ดินโบนต้องเผาดิบ อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส เรียกว่าเผาแกร่งก่อนการทำสี
1.3 ประเภทรูปสัตว์ :
สิ่งที่นำมาซึ่งความน่าสนใจของการผลิตตัวสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก็คือ การเก็บรายละเอียดของอากัปกิริยาที่น่าเอ็นดู ,เชื่อง หรือน่าเกรงขาม อย่างเป็นธรรมชาติ มาไว้ที่การเตรียมต้นแบบให้มากที่สุดเสร็จแล้วจึงนำมาถอดพิมพ์ปูนพลาสเตอร์ เพื่อใช้เป็นพิมพ์ในการหล่อน้ำดิน การผลิตซ้ำตัวสัตว์สามารถทำได้คราวละจำนวนมากขึ้นอยู่กับจำนวนพิมพ์สัตว์ที่สีผิวเข้มจะใช้ดิน Stonewear สีผิวอ่อนใช้ดิน Bone China
1.4 ประเภทหัตถกรรมดินเผาพื้นบ้าน :
เป็นศิลปะงานปั้นเชิงอนุรักษ์วัตถุโบราณที่มีรูปทรงสมดุลใช้วัตถุดิบคือดินเหนียว (stonewear) ในท้องถิ่นขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เผาด้วยเตาฟืน หรือเตาแก๊ส เคลือบขี้เถ้า มีต้นทุนต่ำ เหมาะสำหรับเป็นอาชีพเสริม
2.แผนกฝึกอาชีพทอผ้า
มีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน เริ่มต้นจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม , สาวเส้นไหม , ย้อมสีไหม และการเตรียมเส้นพุ่งเส้นยืน ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง ผ้าท่อศิลปาชีพจะแตกต่างจากผ้าทอทั่วไป คือ การย้อมสี จะย้อมโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น สีเหลืองได้จากไม้แก่นขนุน สีชมพูได้จากไม้ฝาง เป็นต้น
3.แผนกฝึกอาชีพงานแกะสลักไม้
เป็นศิลปะที่บ่งบอกเชื้อชาติของศิลปินได้ชัดเจนยิ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะลวดลาย , การเล่าเรื่องในภาพ และฝีมือการแกะสลักของคนแต่ละเชื้อชาตินั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตน วัตถุดิบที่ใช้แกะสลักคือไม้ ถือเป็นสิ่งส้ำค่าที่มีใช่สำหรับการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยหรือใช้เป็นยารักษาโรคเท่านั้น ส่วนที่เหลือยังสามารถนำมาแปรรูปให้เป็นงานศิลปะ มีรายได้เสริม ขอเพียงแต่ต้องปลูกต้นไม้ใหม่ขึ้นมาทดแทนในท้องถิ่นของตน
4. แผนกฝึกอาชีพปักผ้า
ภาพวิจิตรบรรจงดูไม่ต่างจากงานจิตรกรรมเหล่านี้ แท้จริงคืองานศิลปะที่เกิดจากการปักเส้นด้ายหลากสีด้วยฝีมืออันละเอียด ประณีต บรรจง กอปรด้วยความเพียรและใจรักในงานฝีมือประเภทนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น