บ๊วย สรรพคุณและประโยชน์ของบ๊วย 27 ข้อ !

บ๊วย สรรพคุณและประโยชน์ของบ๊วย 27 ข้อ !

บ๊วย
ผู้สนับสนุน 

บ๊วย

บ๊วย ภาษาอังกฤษChinese plum, Japanese apricot, Ume
บ๊วย ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus mume Siebold & Zucc. จัดอยู่ในวงศ์ ROSACEAE ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับพลัม ลูกท้อ เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง
บ๊วย เป็นผลไม้เมืองหนาวที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายไปหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไทย ลาว พม่า เวียดนาม ไต้หวัน ฯลฯ สำหรับในประเทศไทยมีการเพาะปลูกกันมานานแล้ว โดยได้แพร่เข้ามาทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย โดยสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกกัน[1],[2],[4] ได้แก่
  • บ๊วยพันธุ์เชียงราย หรือ บ๊วยพันธุ์แม่สาย บ๊วยชนิดนี้จัดเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย ต้องปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป และยังมีข้อเสียก็คือ ผลมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป[1],[2]
  • บ๊วยพันธุ์ปิงติง สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่นำมาเข้ามาจากไต้หวัน เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป[1],[2]
  • บ๊วยพันธุ์เจียนโถ พันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่นำมาเข้ามาจากไต้หวันเช่นเดียวกัน และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป[1],[2]
  • บ๊วยพันธุ์บารมี1 หรือ บ๊วยพันธุ์ขุนวาง1 สายพันธุ์เป็นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จุดเด่นก็คือ ลักษณะของผลจะมีขนาดใหญ่ และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป[1],[2]
  • บ๊วยพันธุ์บารมี2 หรือ บ๊วยพันธุ์ขุนวาง2 สายพันธุ์เป็นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่เช่นกัน นอกจากจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่แล้ว ยังให้ผลผลิตที่สูงอีกด้วย และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป[1],[2]
ต้นบ๊วย

ลักษณะของบ๊วย

  • ต้นบ๊วย จัดเป็นไม้ผลยืนต้น ที่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีโรคและแมลงรบกวนน้อย และให้ผลผลิตสูงตามอายุและขนาดลำต้น โดยต้องการอุณหภูมิในการปลูกต่ำประมาณ 7.2 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบกิ่ง หรือด้วยวิธีการปักชำ[1],[2]
รูปต้นบ๊วย
  • ใบบ๊วย ใบมีขนาดเล็ก มีสีเขียวอมเทา ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย[4]
ลูกบ๊วย
  • ดอกบ๊วย ดอกมีกลิ่นหอม ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู[4]
ลักษณะบ๊วย
ดอกบ๊วยรูปดอกบ๊วย
  • ผลบ๊วย หรือ ลูกบ๊วย ผลมีลักษณะกลมมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลบ๊วยโดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร เนื้อมีรสขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ผลสุกเนื้อนิ่ม ในผลมีเมล็ดแข็ง ในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันผลจะแก่และเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ส่วนในประเทศไทยจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนเมษายน[1],[4]
ลูกบ๊วยสด
ผลบ๊วย
รูปบ๊วย
โอวบ๊วย หรือ บ๊วยดำ ภาษาจีนกลางเรียกว่า “อูเหมย” ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Smoked Plum โดยนำส่วนของผลบ๊วยที่ใกล้จะสุกมาทำเป็นยา หรือในชื่อของเครื่องยา Fructus Mume[8] (ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่แปลรูปมาจากบ๊วย แต่จะมีสรรพคุณแตกต่างกันออกไป ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากสถาบันการแพทย์แผนไทยและจีน)

สรรพคุณบ๊วยดำ

  1. โอวบ๊วยมีรสเปรี้ยว ฝาด และสุขุม มีฤทธิ์ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ช่วยระงับอาการไอ แก้ไอแห้ง อาการไอเรื้อรัง[8]
  2. โอวบ๊วยมีฤทธิ์ช่วยเสริมธาตุน้ำ ช่วยแก้ร้อนแบบพร่อง แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ[8]
  3. ช่วยลดอาการไข้[9]
  4. ช่วยสมานลำไส้ ช่วยระงับอาการท้องร่วง แก้อาการท้องร่วงเรื้อรังและมีเลือดปน บิดเรื้อรัง[8]
  5. ช่วยป้องกันโรคติดต่อในลำไส้ได้[9]
  6. มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ แก้พยาธิ[8]
  7. ช่วยห้ามเลือดได้ดี[8]
  8. บ๊วยดำประกอบด้วยกรดมาลิค กรดซิตริค กรดซัคซินิค ไซโตสเตอรอล และในเมล็ดจะมีน้ำมัน โดยบ๊วยดำสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด เชื้อวัณโรค เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อไทฟอยด์หรือไข้รากสาดใหญ่[9]
ขนาดและวิธีใช้ : ใช้ประมาณ 6-12 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม[8]
ข้อห้ามใช้ : ควรระมัดระวังในการใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้ และร้อนแกว่ง[8]
บ๊วยดำ

สรรพคุณของบ๊วย

  1. ช่วยเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย เพราะการที่คนเรารู้สึกมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ก็เนื่องมาจากกรดในเลือดสูง ร่างกายจึงไม่สามารถปรับสมดุลความเป็นด่างได้ทัน แต่เพราะบ๊วยที่ความเป็นด่างที่ค่า pH 7.35 ซึ่งใกล้เคียงกับเลือดของเรา ดังนั้นการรับประทานบ๊วยจึงช่วงถ่วงดุลความด่างได้[1],[3],[5]
  2. ช่วยลดการกระหายน้ำ ช่วยลดการสูญเสียเหงื่อในร่างกาย[1],[4]
  3. ช่วยป้องกันเป็นลมแดด สำหรับผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง เนื่องจากบ๊วยโดยเฉพาะบ๊วยเค็มจะมีโซเดียมอยู่มาก จึงช่วยเติมเกลือแร่ให้กับร่างกาย โดยควรกินพร้อมกับการดื่มน้ำแบบค่อย ๆ จิบก็จะช่วยได้มาก[5]
  4. ช่วยลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษต่อร่างกาย และช่วยลดกรดในกระเพาะ[1],[4]
  5. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ โรคฟัน แก้ปัญหาเรื่องการเกิดกลิ่นปาก[4]
  6. บ๊วย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน[1]
  7. ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหารให้มีความแข็งแรง[4]
  8. ช่วยเสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย หรือหากมีอาการท้องร่วง จุกเสียดแน่นท้อง การรับประทานบ๊วยจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้[4]
  9. ประโยชน์ของน้ำบ๊วย ช่วยรักษาอาการท้องร่วงเรื้อรังได้[6]
  10. ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร[1]
  11. ช่วยขับพยาธิบางชนิดในลำไส้ได้[1],[6]
  12. บ๊วยเป็นหนึ่งในอาหารที่เป็นตัวช่วยในระบบขับถ่ายน้ำในร่างกาย เพราะการรับประทานอาหารที่มีรสขัด เค็มจัด หรือเผ็ดจัด จะทำให้การขับถ่ายน้ำไม่ค่อยดี อาจทำให้เกิดโรคในระบบการขับถ่ายน้ำตามมา เช่น โรคถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคบวมน้ำ โรคไต เป็นต้น ซึ่งการรับประทานบ๊วยจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้[5]
  13. ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (น้ำบ๊วย)[6]
  14. ช่วยแก้อาการแพ้ท้องของสตรีมีครรภ์ [4]
  15. ผลบ๊วยแช่น้ำเกลือ นำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้ดื่มรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรีได้[7]
ผู้สนับสนุน

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม