มะเดื่อ สรรพคุณและประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่ง 26 ข้อ ! (Fig)
มะเดื่อ สรรพคุณและประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่ง 26 ข้อ ! (Fig)
สารบัญ [ซ่อน]
ผู้สนับสนุน
มะเดื่อ
มะเดื่อ ชื่อสามัญ Fig, Common Fig
มะเดื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus carica L. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรมะเดื่อ ชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่นว่า มะเดื่อฝรั่ง, มะเดื่อญี่ปุ่น (ลูกฟิก)
หมายเหตุ : มะเดื่อที่พูดถึงในบทความนี้จะเป็นคนละชนิดกับ มะเดื่อไทย (มะเดื่ออุทุมพร, มะเดื่อชุมพร) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus racemosa L.
ลักษณะของมะเดื่อ
- ต้นมะเดื่อ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง พบมากในประเทศตุรกีและกรีก จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นจะเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ลำต้นมียางสีขาว ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยวหนาค่อนข้างแข็ง ด้านหนึ่งมีขนอ่อน ส่วนผิวด้านบนจะหยาบ ขอบใบหยักลึก 3-5 หยัก ส่วนผลมะเดื่อจะออกเป็นกระจุก ผลกลมแป้นหรือรูปไข่ มีเปลือกบาง โดยผลอ่อนจะสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ด้านในมีเนื้อสีแดงเข้ม เมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม นอกจากนี้มะเดื่อยังจัดเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของประเทศอียิปต์ อิตาลี และกรีซอีกด้วย
- ผลมะเดื่อ
สำหรับประเทศไทยได้มีการนำเข้ามะเดื่อแห้งจากต่างประเทศ และได้มีการทดลองปลูกครั้งแรกที่ดอยอ่างขางเมื่อ พ.ศ.2524 โดยมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น นอกจากนี้มะเดื่อยังเป็นผลไม้ต่างถิ่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกอีกด้วย
ประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่ง
- ช่วยบำรุงร่างกาย และต่อต้านอนุมูลอิสระ
- มะเดื่อเป็นผลไม้ที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะมีเส้นใยสูง
- มะเดื่อเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง มีคอเลสเตอรอลและไขมันน้อยมาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคตับ จึงรับประทานได้
- ช่วยคงความอ่อนเยาว์ และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
- มะเดื่อมีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างซ่อมแซมและเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ
- ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- มะเดื่อเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยลดปริมาณการใช้อินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน
- ช่วยทำให้หัวใจทำงานได้อย่างเป็นปกติ และช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยปันกันโรคโลหิตจาง เนื่องจากมีธาตุเหล็กและโฟเลตสูง
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูพรุน
- มะเดื่อ สรรพคุณช่วยปรับสมดุลของกรดด่างในร่างกาย
- มะเดื่อฝรั่ง สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
- สรรพคุณของมะเดื่อ ช่วยสมานแผลในช่องปาก
- มะเดื่อเป็นผลไม้ที่มีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยในขับถ่ายและกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี และยังช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย
- สรรพคุณมะเดื่อ ใช้เป็นยาระบาย ป้องกันอาการท้องผูก
- ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ช่วยป้องกันนิ่วในไต และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ช่วยฟอกตับ และม้าม
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคกามโรค
- เชื่อว่ามีลูกมะเดื่อสามารถช่วยเสริมสร้างพลังทางเพศ
- ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในหญิงวัยทอง
- ในประเทศอินเดียนิยมใช้ใบมะเดื่อมารับประทานเป็นอาหาร
- ประโยชน์มะเดื่อ เปลือกของมะเดื่อสามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้
- ประโยชน์ของมะเดื่อ นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม้สดแล้ว ยังสามาถนำมาใช้ทำขนมได้อีกด้วย เช่น พาย แยม อบแห้ง ผลไม้กวน พุดดิ้ง เค้ก ไอศกรีม ใช้ผสมในชาไข่มุก ใส่ขนมแทนลูกเกด ผลแห้งนำไปคั่วแล้วนำมาป่นใช้แทนกาแฟ เป็นต้น
ผู้สนับสนุน
คุณค่าทางโภชนาการของมะเดื่อฝรั่งแห้ง ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 249 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 63.87 กรัม
- น้ำตาล 47.92 กรัม
- เส้นใย 9.8 กรัม
- ไขมัน 0.93 กรัม
- โปรตีน 3.3 กรัม
- วิตามินบี1 0.085 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี2 0.082 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี3 0.619 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี5 0.434 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี6 0.106 มิลลิกรัม 8%
- วิตามินบี9 9 ไมโครกรัม 2%
- โคลีน 15.8 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินซี 1.2 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 15.6 ไมโครกรัม 15%
- ธาตุแคลเซียม 162 มิลลิกรัม 16%
- ธาตุเหล็ก 2.03 มิลลิกรัม 16%
- ธาตุแมกนีเซียม 68 มิลลิกรัม 19%
- ธาตุแมงกานีส 0.51 มิลลิกรัม 24%
- ธาตุฟอสฟอรัส 67 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุโพแทสเซียม 680 มิลลิกรัม 14%
- ธาตุโซเดียม 10 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุสังกะสี 0.55 มิลลิกรัม 6%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คำแนะนำ : การรับประทานมะเดื่อฝรั่งแห้งอาจทำให้ฟันผุได้ เนื่องจากมีปริมาณของน้ำตาลสูง และการรับประทานมะเดื่อในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจจะทำให้ท้องร่วงได้เช่นกัน
แหล่งอ้างอิง : หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, นิดดา หงษ์วิวัฒน์), เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, www.organicfacts.net
เรียบเรียงข้อมูลโดย MedThai (ไม่อนุญาตให้คัดลอกเนื้อหาไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด)
ผู้สนับสนุน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น