28 สรรพคุณและประโยชน์ของอินทผาลัม ! (อินทผลัม)

28 สรรพคุณและประโยชน์ของอินทผาลัม ! (อินทผลัม)

อินทผาลัม
ผู้สนับสนุน 

อินทผลัม

อินทผลัม ชื่อสามัญ Date Palm, Dates
อินทผลัม ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix dactylifera L. จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE) ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อวงศ์ว่า PALMAE หรือ PALMACEAE
หมายเหตุ : ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 จะสะกดคำนี้ว่า อินทผลัม (อิน-ทะ-ผะ-ลำ) ซึ่งเป็นคำที่ถูกต้อง แต่ให้ความหมายในภาษาปากว่า อินทผาลัม
อินทผลัม จัดเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง และมีหลากหลายสายพันธุ์ เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างทะเลทราย โดยอินทผาลัมมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง โดยประเทศที่ผลิตอินทผาลัมรายใหญ่ได้แก่ อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อาหรับ แอลจีเรีย เรียงตามลำดับ

ลักษณะของอินทผาลัม

  • ต้นอินทผลัม มีลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบย่อยจะพุ่งออกแบบหลากหลายทิศทาง และดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณโคนกาบใบ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหน่อจากต้นใหญ่ตัวเมีย (เลือกต้นที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป) (รูปอินทผาลัม ด้านล่าง)
ต้นอินทผาลัม
  • ลูกอินทผลัม มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลอินทผาลัมสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่จัดผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) และพัฒนาการของผลอินทผาลัมจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ > ระยะสมบูรณ์ > ระยะสุกแก่ > ระยะผลแห้ง โดยผลอินทผลัมสุกเราสามารถนำไปตากแห้งเก็บไว้รับประทานได้หลายปี และจะมีรสชาติหวานจัด เหมือนกับการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล
ผลอินทผลัม

สายพันธุ์อินทผลัม

  • Aabel – พบได้ทั่วไปในประเทศลิเบีย
  • Ajwah – สายพันธุ์จากเมืองเมดินา ประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • Al-Barakah – สายพันธุ์จากประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • Amir Hajj หรือ Amer Hajj – สายพันธุ์จากประเทศอิรัก ผลมีผิวบางเนื้อบาง
  • Abid Rahim – สายพันธุ์จากประเทศซูดาน แต่ในจีเรียจะเรียกว่า Dabino
  • Barhee หรือ Barhi – สายพันธุ์จากอาหรับ ลักษณะของผลเกือบกลม ผลสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีน้ำตาลเข้ม
  • Bireir – สายพันธุ์จากประเทศซูดาน
  • Datca Date – สายพันธุ์จากประเทศตุรกี
  • Deglet Noor – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในประเทศแอลจีเรียและประเทศตูนิเซีย
  • Derrie หรือ Dayri – เป็นสายพันธุ์จากทางตอนใต้ของอิรัก ลักษณะของผลยาวเรียว ผลสีเกือบดำ
  • Empress – สายพันธุ์ที่พัฒนาโดยครอบครัว DaVall ในอินดิโอแคลิเฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา โดยเป็นพันธุ์ที่พัฒนามาจากสายพันธุ์ Thoory แต่จะมีผลขนาดผลที่ใหญ่กว่า มีความหวานกว่า สีของผลครึ่งบนเป็นสีแทนออกน้ำตาล ๆสว่าง ๆ ส่วนครึ่งล่างเป็นสีน้ำตาล
  • Fardh หรือ Fard – สายพันธุ์นี้พบได้ทั่วที่ประเทศโอมาน ผลมีรสีน้ำตาลดำ รสชาติหวาน เมล็ดมีขนาดเล็ก
  • Ftimi หรือ Alligue – เป็นสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตในประเทศตูนิเซีย
  • Holwah หรือ Halawi – สายพันธุ์อาหรับ มีขนาดผลเล็กถึงปานกลาง รสหวานมาก
  • Haleema – สายพันธุ์จากเมือง Hoon ในประเทศลิเบีย
  • Hayany – สายพันธุ์จากอียิปต์ ลักษณะของผลมีสีแดงเข้มเกือบดำ
  • Honey – ยังไม่พบข้อมูลของสายพันธุ์นี้
  • Iteema – สายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศแอลจีเรีย
  • Kenta – สายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศตูนิเซีย
  • Khadrawi หรือ Khadrawy – สายพันธุ์อาหรับ และเป็นที่นิยมของชาวอาหรับอย่างมาก ลักษณะของผลเป็นสีดำ
  • Khalasah – เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากในซาอุดีอาระเบีย เพราะมีความหวานที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป
  • Khastawi หรือ Khusatawi หรือ Kustawy – สายพันธุ์จากอิรก มีขนาดเล็ก ใช้ทำเป็นน้ำเชื่อม มีราคาแพง
  • Maktoom – สายพันธุ์จากอาหรับ ผลมีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง เปลือกหนา รสหวานปานกลาง
  • Manakbir – ลักษณะของผลมีขนาดใหญ่
  • Medjool หรือ Mejhool – สายพันธุ์จากโมร็อกโก เนื้อหวานฉ่ำ
  • Migraf หรือ Mejraf – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในภาคใต้ของเยเมน ผลมีขนาดใหญ่ สีเหลืองทอง
  • Mgmaget Ayuob – สายพันธุ์จากเมือง Hoon ในประเทศลิเบีย
  • Mishriq – สายพันธุ์จากประเทศซูดานและซาอุดีอาระเบีย
  • Mozafati – สายพันธุ์จากอิหร่าน ผลมีขนาดกลาง รสหวาน
  • Nabtat-seyf – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
  • Rotab – สายพันธุ์จากอิหร่าน ผลมีสีเข้ม
  • Sag‘ai – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
  • Saidy หรือ Saidi – เป็นสายพันธุ์ที่นิมาในประเทศลิเบีย เพราะรสหวานจัด
  • Sayer หรือ Sayir – จากอาหรับ ผลมีขนาดปานกลาง สีส้มถึงน้ำตาลเข้ม
  • Sukkary – สายพันธุ์จากซาอุดีอาระเบีย เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม รสหวาน และมีราคาแพงที่สุด
  • Sellaj – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
  • Tagyat – เป็นสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศลิเบีย
  • Tamej – สายพันธุ์จากลิเบีย
  • Thoory หรือ Thuri – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในแอลจีเรีย ผลสีน้ำตาลถึงแดง เปลือกเหี่ยวย่น มีรสหวาน
  • Umeljwary – สายพันธุ์จากลิเบีย
  • Umelkhashab – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย เปลือกสีแดงสดใส
  • Zahidi – ผลมีขนาดกลาง เปลือกสีทองถึงน้ำตาลสว่าง
  • Zaghloul – เปลือกสีแดงเข้ม ผลยาว กรอบ
อินทผลัม

ประโยชน์ของอินทผาลัม

  1. การรับประทานอินทผาลัมเป็นประจำ จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
  2. ประโยชน์ อินทผลัมช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลัง ขจัดความความเมื่อยล้า ช่วยดับความหมายเย็น
  3. เมื่อร่างกายมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง หกรับประทานอินทผาลัมภายในครึ่งชั่วโมงก็จะทำให้ร่างกายกลับมามีกำลังเหมือนเดิม
  4. ช่วยรักษาโรคผอมผิดปกติ ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว
  5. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันโรคตาบอดแสง หรือภาวะมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน
  7. อินทผลัม สรรพคุณช่วยบำรุงตับอ่อน รักษาโรคเบาหวาน (อ.สุทธิวัสส์)
  8. ช่วยดูแลและควบคุมระบบประสาท
  9. อินผลัม มีโพแทสเซียมสูงจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้มากถึง 40%
  10. สรรพคุณ อินทผาลัมช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตสูง
  11. อินทผาลัมช่วยป้องกันมะเร็งช่องท้อง เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้องได้
  12. ช่วยป้องกันโรคต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจได้เป้นอย่างดี
  13. อินทผาลัม ประโยชน์ช่วยแก้กระหาย แก้อาการเจ็บคอ
  14. สรรพคุณ อินทผลัมช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (สาเหตุขมาจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและความดันโลหิตต่ำ)
  15. อินทผาลัม สรรพคุณช่วยลดเสมหะในลำคอ
  16. ประโยชน์ของอินทผลัม กับการช่วยลดความหิวได้เป็นอย่างดี
  17. อินทผาลัมอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้
  18. อินทผลัมช่วยในการย่อยอาหาร เพราะมีสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอ และมีปัจจัยในการกระตุ้นการย่อยและดูดซึมสารอาหาร จึงช่วยในย่อยได้เป็นอย่างดี
  19. จากรายงานการวิจัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย พบว่าอินทผลัมสามารถช่วยทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ช่วยป้องกันเยื่อบุในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยหลั่งฮีสตามีน (Histamine) และฮอร์โมนแกสตริน (Gastrin) จากการเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล และยังช่วยลดระดับมิซซิน (Mucin) ในกระเพาะอาหารอีกด้วย
  20. ประโยชน์อินทผาลัม กับการช่วยรักษาและบำบัดพิษต่าง ๆ ด้วยการรับประทานวันละ 7 เม็ด (คัมภีร์อัลกุรอา)
  21. ประโยชน์ของอินทผาลัม กับการช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากในอินทผลัมมีสารฟีลกูลีน จึงช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้
  22. การรับประทานอินทผาลัมในขณะท้องว่างยามเช้า จะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ พยาธิและสารพิษที่ตกค้างอยู่ในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารได้
  23. อินทผลัม ประโยชน์สำหรับเด็กที่มีอาการทรมานทางประสาทโดยธรรมชาติ (อาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย มีความเครียด กลัว และกังวล) หรือมีอาการไฮเปอร์ไม่อยู่นิ่ง ให้รับประทานอินทผลัมจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
  24. การใส่อินผลัมลงไปในนมจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการอย่างมากสำหรับเด็กและผู้ใหญ่
  25. สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานอินทผลัมในช่วงเดือนท้าย ๆก่อนคลอดบุตร จะช่วยขยายมดลูกในช่วงการคลอด และยังช่วยลดอาการตกเลือดหลังจากการคลอดได้อีกด้วย
  26. สำหรับหญิงให้นมบุตรการรับประทานอินทผลัมจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า และยังช่วยเพิ่มสารอาหารสำคัญในน้ำนม ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง ช่วยต้านทานโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆอีกด้วย
  27. สำหรับชาวมุสลิม อินทผลัมสด ๆ เป็นผลไม้ที่ชาวมุสลิมจะเก็บไว้รับประทานในช่วงเดือนรอมฏอน (เดือนถือศีลอด)
  28. ชาวมุสลิมเชื่อว่าการรับประทานอินทผลัมจะช่วยป้องกันไสยศาสตร์ได้
ผู้สนับสนุน

คุณค่าทางโภชนาการของผลอินทผลัม (สายพันธุ์ Deglet Noor) ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 282 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 75.03 กรัม
  • น้ำตาล 63.35 กรัมต้นอินทผลัม
  • เส้นใย 8 กรัม
  • ไขมัน 0.39 กรัม
  • โปรตีน 2.45 กรัม
  • น้ำ 20.53 กรัม
  • วิตามินเอ 10 ไมโครกรัม
  • เบต้าแคโรทีน 6 ไมโครกรัม 0%
  • ลูทีน และ ซีแซนทีน 75 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี1 0.052 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี2 0.066 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี3 1.274 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี5 0.589 มิลลิกรัม 12%
  • วิตามินบี6 0.165 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม 5%
  • วิตามินซี 0.4 มิลลิกรัม 0%
  • วิตามินอี 0.05 มิลลิกรัม 0%
  • วิตามินเค 2.7 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุเหล็ก 1.02 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุแมกนีเซียม 43 มิลลิกรัม 12%
  • ธาตุแมงกานีส 0.262 มิลลิกรัม 12%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม 9%
  • ธาตุโพแทสเซียม 656 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.29 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : www.1000gooddeeds.com, หนังสืออิสลามกับการแพทย์ที่ไม่ต้องพึ่งยา (อะฮ์มัด อามีน ชีราซี), คัมภีร์อัลกุรอาน, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)
เรียบเรียงข้อมูลโดย MedThai (ไม่อนุญาตให้คัดลอกเนื้อหาไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด)
ผู้สนับสนุน 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม