ลูกพลับ สรรพคุณและประโยชน์ของลูกพลับ 34 ข้อ !
ลูกพลับ สรรพคุณและประโยชน์ของลูกพลับ 34 ข้อ !
สารบัญ [ซ่อน]
ผู้สนับสนุน
พลับ
พลับ ชื่อสามัญ Persimmon
พลับ ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros kaki L.f. (ญี่ปุ่น), Diospyros virginiana L. (ยุโรป) จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (EBENACEAE)
ต้นพลับ มีอยู่หลายสปีชีส์ด้วยกัน โดยสปีชีส์ที่นิยมปลูกในบ้านเรามากที่สุดก็คือสปีชีส์ Diospyros kaki L.f. (ญี่ปุ่นจะเรียกว่า “คาขิ“) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือของจีน มีการรับประทานลูกพลับมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และต่อมาได้แพร่กระจายพันธุ์เข้าไปในญี่ปุ่น และในปัจจุบันก็ได้กลายเป็นผลไม้ยอดนิยมของชาวญี่ปุ่นไปแล้ว และก็มีลูกพลับอีกสปีชีส์หนึ่งที่นิยมปลูกในยุโรปซึ่งก็คือสปีชีส์ Diospyros virginiana L.
ลักษณะของต้นพลับ
- ต้นลูกพลับ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบสีเขียวคล้ายรูปหัวใจ มีดอกสีเหลืองทรงคล้ายระฆัง ลักษณะของผลลูกพลับจะมีอยู่หลายรูปทรง ทั้งแบบกลม แบบกรวย กลมแบน ส่วนผลอ่อนของลูกพลับจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเหลือง เนื้อแข็ง เป็นสีส้มภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลประมาณ 8 เมล็ด
- ลูกพลับ สามารถจำแนกตามรสชาติได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ลูกพลับหวาน เช่น พันธุ์ฟูยุ (รสหวาน ผลสุกสีส้มอมเหลือง สามารถรับประทานสด ๆได้) และ ลูกพลับฝาด เช่น พันธุ์ซิชู พันธุ์ฮาชิยา (รสฝาด เนื้อนิ่ม ผลสุกเนื้อสีส้มอมแดง ต้องนำมาผ่านกระบวนการลดความฝาดก่อนถึงจะรับประทานได้)
ประโยชน์ของลูกพลับ
- ลูกพลับเป็นผลไม้ที่มีแคลอรี่และไขมันต่ำ และยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
- ลูกพลับมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ
- หากนำลูกพลับมาหมักให้เปรี้ยว 1 ปีขึ้นไปจะมีสรรพคุณทางยาสูงขึ้น ช่วยบำรุงร่างกายแก้อาการเหนื่อยล้า
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันต้อกระจก ตาฟาง
- ช่วยบำรุงลำไส้ บำรุงปอดและม้าม
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
- ช่วยแก้หืดหอบ (ผลแห้ง)
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจและปอดได้
- ช่วยแก้โรคปอดและกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากการสร้างพลังงานของปอดที่ลดลง ทำให้มีอาการไอ หายใจติดขัด เส้นผมหลุดร่วงหยาบกระด้าง หากเป็นติดต่อกันนาน ๆ ชีพจร กล้ามเนื้อและกระดูก จะสร้างสารผิดปกติในผนังกระเพาะอาหารได้
- ใช้เป็นยาบรรเทาอาการร้อนใน (ผลแห้ง)
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ (ผลแห้ง)
- ส่วนกลีบเลี้ยงหรือก้านของผลลูกพลับสามารถนำมาทำเป็นยาเพื่อใช้แก้อาการสะอึกได้
- ช่วยบรรเทาอาการไข้เพ้อ หรือไข้ที่เกิดจากอาการโกรธสุดขีด
- ช่วยแก้ไอ (ผลสด,ผลแห้ง)
- ช่วยขับเสมหะ (ผลแห้ง)
- ช่วยแก้พิษสุรา (ผลสด)
- ช่วยแก้อาการท้องเดิน (ผลสด)
- ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารและลำไส้ (ผลแห้ง)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องซึ่งมีสาเหตุมาจากความเย็น เช่น ประจำเดือน ปวดบิด เป็นต้น
- ช่วยแก้อาการบิดในเด็กที่ถ่ายเป็นมูกเลือด
- ช่วยแก้อาการถ่ายเป็นเลือด
- ช่วยในการขับถ่าย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร (ผลแห้ง)
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด (ผลแห้ง)
- ช่วยแก้ต่อมไทรอยด์บวม (ผลดิบ)
- ผลสดมีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด (ผลสด)
- ช่วยลดผื่นจากไข้ หรือผื่นที่เกิดจากความร้อน
- ช่วยแก้พิษจากเหล้า ช่วยทำให้หายจากการอาเจียนเป็นเลือด
- ประโยชน์ของลูกพลับ มีส่วนช่วยลดฝ้ากระบนใบหน้า
- ประโยชน์ลูกพลับ นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม้สดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็น ลูกพลับแห้ง พลับเชื่อม น้ำลูกพลับ แยมลูกพลับ ฯลฯ
- ใบของลูกพลับสามารถนำมาทำเป็นชาไว้ชงดื่มได้ ด้วยการใช้ใบตากแห้งต้มกับน้ำเดือด ก็จะช่วยลดอาการแข็งตัวของหลอดเลือด แก้เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน ลดความดัน ช่วยระบาย แก้อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น
- เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
- สำหรับชาวจีนแล้วผลไม้อย่างลูกพลับเป็นที่นิมยมในการรับประทานอย่างมาก และถือว่าลูกพลับเป็นผลไม้มงคลที่แสดงถึงความมั่งมีศรีสุข เนื่องจากเปลือกของลูกพลับเมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลืองทองราวกับทองคำ จึงเปรียบได้ดั่งผลไม้จากสรวงสวรรค์นั่นเอง และลูกพลับยังเป็นที่นิยมนำมาเป็นของขวัญตามเทศกาลต่าง ๆอีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานลูกพลับวันละ 1 ผลจะมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก
ผู้สนับสนุน
คุณค่าทางโภชนาการของลูกพลับ (สายพันธุ์ D.virginiana) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 127 กิโลแคลอรี่ (531 กิโลจูล)
- คาร์โบไฮเดรต 33.5 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- โปรตีน 0.8 กรัม
- วิตามินซี 66 มิลลิกรัม 80%
- ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุเหล็ก 2.5 มิลลิกรัม 19%
- ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุโพแทสเซียม 310 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คุณค่าทางโภชนาการของลูกพลับ (สายพันธุ์ D.kaki) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่ (293 กิโลจูล)
- คาร์โบไฮเดรต 18.59 กรัม
- น้ำตาล 12.53 กรัม
- เส้นใย 3.6 กรัม
- ไขมัน 0.19 กรัม
- โปรตีน 0.58 กรัม
- วิตามินเอ 81 ไมโครกรัม, 1627 IU
- เบต้าแคโรทีน 253 ไมโครกรัม
- ลูทีน และ ซีแซนทีน 834 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม
- วิตามินบี3 0.1 มิลลิกรัม
- วิตามินบี6 0.1 มิลลิกรัม
- วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม
- โคลีน 7.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 7.5 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 7.5 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม
- ธาตุแคลเซียม 8 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.15 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม
- ธาตุแมงกานีส 0.355 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 161 มิลลิกรัม
- ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 0.11 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คำแนะนำ : สำหรับผู้ที่มีอาการไข้ หรือเป็นหวัด ถ่ายบ่อย หรือม้ามและกระเพาะไม่ค่อยแข็งแรงไม่ควรรับประทานลูกพลับ และสำหรับลูกพลับหวานควรระวังสารโซเดียมไซคลาเมต (Sodium Cyclamate) และสารซัคคาริน (Saccharin)
แหล่งอ้างอิง : หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, นิดดา หงษ์วิวัฒน์), หนังสือสมุนไพร 91 ชนิดพิชิตโรค ชุดตำรายาล้ำค่าของหมอโฮจุน, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)
เรียบเรียงข้อมูลโดย MedThai (ไม่อนุญาตให้คัดลอกเนื้อหาไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด)
ผู้สนับสนุน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น